ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ซีเกมส์ 2007, ซีเกมส์ 2007 หมายถึง, ซีเกมส์ 2007 คือ, ซีเกมส์ 2007 ความหมาย, ซีเกมส์ 2007 คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ซีเกมส์ 2007

          กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6 – 15 ธันวาคม 2550  การจัดการแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในการเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 ถือเป็นการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันครั้งที่ 6 ของประเทศไทย ซึ่งจะมี นักกีฬาในภูมิภาคอาเซียนร่วมชิงชัยใน 43 ชนิดกีฬา 475 เหรียญทอง โดยได้รับความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ทุกช่องเป็นอย่างดี โดยในครั้งนี้ทั้ง 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และทีไอทีวี จะทำหน้าที่ หมุนเวียนสลับกันไปทุกวัน

 

 



ตัวนำโชค ซีเกมส์ 2007

ตัวนำโชค ( MASCOT) 

         เป็นรูปแมวสีสวาดเป่าแคน มีผ้าขาวม้าสีสันสดใสคาดพุงแบบชาวอีสาน มี Emblem ซีเกมส์ครั้งที่ 24 อยู่ที่แขนเสื้อ แมวสีสวาด มีถิ่นกำเนิดที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา อันเป็นจังหวัดหลักของการแข่งขัน ชาวไทยเชื่อกันว่าแมวสีสวาดนี้ เป็นสัตว์ที่แสดงถึงความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ นำโชคลาภ และความเป็นสิริมงคล มาสู่ผู้เลี้ยงดูและผู้พบเห็น แมวสีสวาดยังแสดงถึงเอกลักษณ์ไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก (ผู้ออกแบบภาพตัวนำโชค คือ นายสะอาด จอมงาม จ.เชียงใหม่)

ชื่อตัวนำโชค ( MASCOT NAME)

         ชื่อของแมวเพศผู้ตัวนี้ ชื่อว่า “แคน” ( CAN ) แปลว่า สามารถ สื่อความหมายถึงการส่งแรงใจให้นักกีฬาทุกชาติที่ร่วมแข่งขันให้สามารถคว้าเหรียญทองได้ ชื่อ “แคน” เป็นชื่อสั้น ออกเสียงง่าย ทั้งพ้องเสียงกับชื่อเครื่องดนตรีประจำภาคอีสาน ด้วย (ผู้ตั้งชื่อนี้ คือ เด็กหญิงปิยะธิดา ศรีวิมล อายุ 8 ปี จ.นนทบุรี)

ที่มา www.2007seagames.com



ประวัติซีเกมส์

          “ซีเกมส์” กำเนิดมาจาก กีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) และกีฬาแหลมทองได้เกิดขึ้นที่ไทยโดยคนไทย และสิ้นสุดที่ไทยก่อนจะกลายเป็น "ซีเกมส์ (SEA GAMES)”

          กีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี 2500 ด้วยการริเริ่มของ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ โดยในระยะนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้มีการติดต่อทางการกีฬากันเป็นประจำ โดยเฉพาะพม่าได้มีสาส์นเชิญประเทศไทยให้ส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขัน ฟุตบอล รักบี้ แบดมินตัน เทนนิส มวยสากล บาสเกตบอล กรีฑา เป็นประจำเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเพณีก็ว่าได้

          ด้วยเหตุนี้ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ จึงได้เกิดความคิดขึ้นมาว่า "น่าจะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง" ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับ "เอเชี่ยนเกมส์" หรือ "โอลิมปิกเกมส์" เพราะประชาชาติที่อยู่ในภาคพื้นนี้มีความเป็นอยู่ อากาศและรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการกีฬาของชาติในกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้นเพื่อเตรียมเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ เช่น เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และเพื่อให้นักกีฬาของแต่ละประเทศในแถบนี้ได้มีความสามารถฝึกฝนสมรรถภาพของตนให้มีมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ และข้อสำคัญ คือ เป็นการสร้างสรรค์ความสัมพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างชาติเพื่อนบ้านในภาคพื้นแหลมทองด้วยกัน

          ปี 2501 คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ได้นำความคิดเห็นของท่านฝากไปกับ ม.ร.เดฟ คิชเตอร์ ผู้ฝึกสอนกิตติมศักดิ์ของสมาคมกรีฑาไทยที่จะเดินทางไปประเทศเขมร เวียดนาม เป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2501 เพื่อได้ปรึกษาและซาวเสียงต่างประเทศเหล่านั้น ปรากฏว่าทั้งเขมร เวียดนาม ในสมัยนั้นได้สนับสนุนความคิดริเริ่มของคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อย่างเต็มที่ ต่อมาคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ จึงได้นำความคิดเห็นของท่านที่จะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง รวมทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติเพื่อนบ้านเสนอเป็นการปรึกษาต่อที่ประชุมคณะกรรมการโอลิมปิคฯครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วรับหลักการเห็นควรให้จัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2501 พร้อมกับได้มอบให้คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการวางโครงการและรายละเอียดต่อไป และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อมา

          ในระหว่างการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 3 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2501 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ , นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้แทนไทยเดินทางนำข้อเสนอแนะ การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มแหลมทองไปปรึกษาหารือกับประเทศในภาคพื้นแหลมทองที่โตเกียว ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมคือ ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เขมร และเวียดนาม ที่ประชุมได้เห็นชอบและมีมติให้ใช้ชื่อในการแข่งขันว่า "กีฬาแหลมทอง" (SEAP GAMES - SOUTH EAST ASIA PENINSULAR GAMES) และเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยจึงกำหนดจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2502

          ต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้ พล.ท.ประภาส จารุเสถียร (ยศในสมัยนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันครั้งที่ 1



ชาติสมาชิก

  BRU    บรูไน
 CAM    กัมพูชา
 INA    อินโดนีเซีย
 LAO    ลาว
 MAS    มาเลเซีย
MYA    พม่า
 PHI    ฟิลิปปินส์
 SIN    สิงคโปร์
 THA    ไทย
 TLS    ติมอร์ตะวันออก
 VIE    เวียดนาม

คำขวัญซีเกมส์ 2007

          คณะกรรมการจัดการแข่งขันเห็นชอบให้ใช้ คำภาษาอังกฤษ 3 คำ เป็น THEME การแข่งขันครั้งนี้ คือ

          SPIRIT, FRIENDSHIP, AND CELEBRATIONS

          โดยใช้ภาษาไทย ว่า “สปิริต มิตรภาพ และ การเฉลิมฉลอง” มีความหมายถึงการแข่งขันกีฬาที่แสดงออกถึงจิตวิญญาณ และมิตรภาพของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง เป็นการเฉลิมฉลอที่ประเทศได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ในห้วงเวลาที่มีการ เฉลิมฉลอง โอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550

 



ตราสัญลักษณ์การแข่งขันซีเกมส์ 2007

ความหมายของตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ( EMBLEM )

         เป็นรูปทรงปราสาทหินพิมาย ของ จ.นครราชสีมา พร้อมรูปเรือใบ 3 ลำ สื่อความหมายในเรื่องของความก้าวหน้า การผสานวัฒนธรรม และ เทคโนโลยีของประเทศไทย ส่วนของใบเรือใบแรก ได้จัดวางสัญลักษณ์ห่วงวงกลมของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ สื่อถึงความสัมพันธ์ทางด้านการกีฬาของประชาชาติในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ 

         รูปทรงปรางค์ของปราสาทหินพิมาย แสดงถึงความล้ำค่าของ จ.นครราชสีมาและความภาคภูมิใจ ของคนในจังหวัด ตราสัญลักษณ์นี้ ผู้ออกแบบยังได้แรงบันดาลใจ จากการเฉลิมฉลองโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2550 และการที่ปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 40 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชนะเลิศการแข่งขัน กีฬาเรือใบ ประเภท OK ในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ชื่อเดิมของกีฬาซีเกมส์) 

         ในการแข่งขัน ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2510 สีเหลืองที่ใช้ เป็นสีของวันพระราชสมภพ (วันจันทร์) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การใช้สี เหลือง แดง และ น้ำเงิน ประกอบกันเพราะต่างก็เป็นแม่สีตามทฤษฎีสี สื่อความหมายถึงกีฬาของชาวเอเชียอาคเนย์ที่ก่อเกิด เอกภาพ สัมพันธภาพ และมิตรภาพที่ดีต่อกัน


ซีเกมส์ 2007, ซีเกมส์ 2007 หมายถึง, ซีเกมส์ 2007 คือ, ซีเกมส์ 2007 ความหมาย, ซีเกมส์ 2007 คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu