พระยาเสนาะดุริยางค์
พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?ขุนเสนาะดุริยางค์? ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็น?หลวงเสนาะดุริยางค์?ในปีพ.ศ.2453ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น ?พระเสนาะดุริยางค์? รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?พระยาเสนาะดุริยางค์? ในปี พ.ศ. 2468
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้ ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก้อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)
พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ ?หนูดำ? ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่?ขุนประสานดุริยศัพท์"นับจากนั้นก็ได้ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ ?พระยาประสานดุริยศัพท์? เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปี ของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอ พระราชหฤทัย ของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาพระยาประสานดุริยศัพท์ ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร
ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้า ย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
หลวงประดิษฐไพเราะ
หลวงประดิษฐไพเราะ เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลงเนื่องจากบิดาคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอก ประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิญครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย จางวางศร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือและความสามารถของท่าน เป็นที่ต้อง พระหฤทัยนั่นเอง
ครั้นถึงปี พ.ศ.2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงกระทรวงวังท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณีพระบรมราชิน ีรวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น หลวงประดิษฐไพเราะ ได้แต่งเพลงไว้มากกว่า ร้อยเพลง ดังนี้
เพลงโหมโรง โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสยบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป้นต้น
เพลงเถา อาทิ กระต่ายชมเดือน เถา ขอมทอง เถา เขมร เถา เขมรปากท่อ เถา เขมรราชบุรี เถา แขกขาว เถา แขกสาหร่าย เถา แขกโอด เถา
จีนลั่นถัน เถา ชมแสงจันทร์ เถา ครวญหา เถา เต่าเห่ เถา นกเขาขแมร์ เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถา มุล่ง เถา แมลงภู่ทอง เถา ยวนเคล้า เถา ช้างกินใบไผ่ เถา ระหกระเหิน เถา ระส่ำระสาย เถา ไส้พระจันทร์ เถา ลาวเสี่งเทียน เถา แสนคำนึง เถา สาวเวียงเหนือ เถา สาริกาเขมร เถา โอ้ลาว เถา ครุ่นคิด เถา กำสรวลสุรางค์ เถา แขกไทร เถา สุรินทราหู เถา เขมรภูมิประสาท เถา แขไขดวง เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เถา กราวรำ เถา ฯลฯ
หลวงประดิษฐไพเราะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี
พระประดิษฐไพเราะ
พระประดิษฐไพเราะ นามเดิม มี ดุริยางกูร เกิดตอนปลายรัชกาลที่1แห่งพระราชวงศ์จักรีท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ.2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด้จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระ
พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น
ผลงานของพระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เท่าที่รวบรวมและปรากฎไว้ มีดังนี้
โหมโรงขวัญเมือง การะเวกเล้ก สามชั้น กำสรวลสุรางค์ สามชั้น แขกบรรทศ สามชั้น แขกมอญ สามชั้น แขกมอญบางช้าง สามชั้น ทะแย สามชั้น สารถี สามชั้น พญาโศก สามชั้น และสองชั้น พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น จีนขิมใหญ่ สองชั้น เชิดจีน ทยอยนอก ทยอยเดี่ยว ทยอยเขมร เทพรัญจวน หกบท สามชั้น อาเฮีย สามชั้น
ท่านถึงแก่กรรม ประมาณรัชกาลที่ 5
พระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์)
พระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2408 เป็นน้องชายแท้ๆของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เมื่อเยาว์วัย ท่านได้เรียนดนตรีกับครูช้อย สุนทรวาทิน เนื่องจากท่านเป็นนักดนตรีฝีมือดี พระยาประสานดุริยศัพท์ ได้พาเข้าถวายตัวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และย้ายมาสังกัดกรมมหรสพ เป็นมหาดเล็กวิเสส แล้วเลื่อนเป็น ขุนพิณบรรเลงราช ในปี พ.ศ. 2453 เป็นหลวงพิณบรรเลงราช ในปีพ.ศ. 2457 และเป็น พระพิณบรรเลงราช ในปี พ.ศ. 2462 พระะพิณบรรเลงราช มีฝีมือในทางดนตรี โดยเฉพาะฝีมือตีกลอง เป็นที่โปรดปรานของเจ้านายในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2480 รวมอายุได้ 73 ปี
พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน)
พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) เป็นนักดนตรีอยู่ในกรมมหรสพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2420 เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อพระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น ขุนพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2453 เป็นหุ้มแพรหลวงพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2455 ต่อมาท่านเข้ามาเป็นศิษย์ในกรมมหรสพ ของพระยาประสานดุริยศัพท์ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพาทย์บรรเลงรมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 นอกจากนั้นท่านยังมีฝีมือทางด้านตีเครื่องหนังดีมาก นอกเหนือจากเครื่องดนตรีอื่นๆ
หลวงไพเราะเสียงซอ
หลวงไพเราะเสียงซอ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอสารธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเสสต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ จนได้รับพระราชทานยศเป็น ?รองหุ้มแพร? มีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ?ขุนดนตรีบรรเลง? และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ท่านก็ได้รับเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงไพเราะเสียงซอ ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ มจ. ถาวรมงคล และมจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทย
ของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา
หลวงไพเราะเสียงซอ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 84 ปี
หลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์)
หลวงชาญเชิงระนาด เป็นนักระนาดคนสำคัญในสมัย ร.6 เป็นบุตรของนาย นาค และนางขาบ ผลารักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ.2438 ท่านเริ่มหัดดนตรีกับบิดาที่บ้านในย่านตำบลบางกอกน้อย ซึ่งเป็นย่านนักดนตรีที่ย้ายถิ่นฐานจากกรุงศรีอยุธยา ตามสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงถือได้ว่าท่านเป็นนักดนตรีเชื้อสายกรุงเก่า เมื่ออายุ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2448 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ทรงดำรงยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารในสมัยรัชการที่ 5 ได้เป็นศิษย์ของพระยาประสารดุริยศัพท์มาตั้งแต่ต้น เมื่ออายุ 15 ปี ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาดเล็กวิเสสแผนกพิณพาทย์หลวง แล้วเลื่อนเป็นนายรองสนิท กลับมาอยู่กรมมหรสพในปี พ.ศ. 2456 เป็นขุนสนิทบรรเลงการเป็นหลวงสนิทบรรเลงการ ในปี พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เป็นผู้มีฝีมือ และชั้นเชิงในการตีระนาดเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยยิ่งนัก จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชาญเชิงระนาด
หลวงชาญเชิงระนาด ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตีระนาดเพลงละครได้ไพเราะมาก ท่านป่ายเป็นวัณโรค และะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ก่อนน้ำท่วมใหญ่รวมอายุได้ 50 ปี
ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ (เทียม สาตรวิลัย)
ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ (เทียม สาตรวิลัย) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2425 รับราชการอยู่ในกรมโขน ตำแหน่งมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ในรัชกาลที่ 5 เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้ย้ายมาสังกัดอยู่ในกองพิณพาทย์ หลวงในหน้าที่พนักงานเครื่องเป่า และรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2460 ไม่ทราบปีที่ท่านถึงแก่กรรม
หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน)
หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2522 เริ่มเรียนดนตรีมาตั่งแต่อายุ 11 ปี กับวงปี่พาทย์วัดน้อยทองอยู่ ของท่านสมภารแแสง เจ้าอาวาสในขณะนั้น ซึ่งมีครูช้อย สุนทรวาทินเป็นผู้สอนและควบคุมวง ต่อมาวงปี่พาทย์วัดน้อยทองอยู่ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเรือนนอก ของสมเด็จพระพันปีหลวง (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะะดำรงพระยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีพระราชประสงค์ จะมีวงปี่พาทย์ไว้เป็นการส่วนพระองค์ จึงทรงขอวงปี่พาทย์วงนี้ จากสมเด็จพระพันปีหลวง พร้อมด้วยนักดนตรีอีก 5 ท่านคือ (1) นายนาค วัฒนวาทิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพวงสำเนียงร้อย (2) นายเพิ่ม วัฒนวาทิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น หลวงสร้อยสำเนียงสน (3) นายแหยม วีณิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น พระประดับดุริยกิจ (4) นายบุศย์ วีณิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น ขุนเพลิดเพลงประชัน ซึ่งทำให้หลวงบรรเลงเลิศเลอ ได้เข้ามารับราชการอยู่ในวงเป็นลูกศิษย์ของครูแปลก ประสานศัพย์ด้วย และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนบรรเลงเลิศเลอ รับกราชการอยู่ในกรมมหรสพ และเลื่อนเป็นหลวงบรรเลงเลิศเลอ ในปี พ.ศ. 2466 เครื่องดนตรีที่ท่านถนัดที่สุดคือ ปี่ใน
ท่านถึงก่กรรมในปี พ.ศ. 2521 เมื่ออายุได้ 99 ปี
ครูบุญยงค์ เกตุคง
ครูบุญยงค์ เกตุคง เป็นบุตรชายคนใหญ่ของ นายเที่ยง นางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีวอกตรงกับเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2463 ที่ตำบลวันสิงห์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บิดามารดาของครู มีอาชีพเป็นนักแสดง ซึ่งต้องย้าย สถานที่ประกอบอาชีพบ่อยๆ เมื่อยังเยาว์จึงอาศัยอยู่กับตาและยายที่ จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่วัดช่องลม และเริ่มหัดเรียนดนตรีไทยกับครูละม้าย(หรือทองหล่อ) ซึ่งเป็นครูสอนดนตรี อยู่บ้านข้างวัดหัวแหลม จังหวัดสมุทรสาคร
เมื่ออายุได้ 10 ปีก็สามารถบรรเลงฆ้องวงทำเพลงโหมโรงเช้า และโหมโรงเย็นได้ ซึ่งถือว่าได้ผลการศึกษาดนตรีขั้นต้น
ครั้นอายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครู หรั่ง พุ่มทองสุข ซึ่งเป็นครูดนตรีมีชื่ออยู่ที่ปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีน้องชาย ชื่อ บุญยัง เกตุคง ไปร่วมเรียนด้วย และได้เป็นเพื่อนร่วมเรียนดนตรีพร้อมกับ นายสมาน ทองสุโชติ ได้เรียนอยู่ที่บ้านครูหรั่งนี้ประมาณ 2 ปี จนสามารถบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็กได้ ก็ย้ายไป เรียนดนตรีกับพระอาจารย์เทิ้ม วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสถานที่เรียนดนตรี ที่มีชื่อเสียงมากอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น
เมื่อครูอายุได้ 16 ปี บิดาเห็นว่ามีความรู้เพลงการดีพอสมควรจะช่วยครอบครัวได้ จึงช่วยให้ไปทำหน้าที่นักดนตรีประจำคณะนาฎดนตรีของบิดา ซึ่งแสดงเป็นประจำอยู่ที่วิกบางลำภู กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากคนตีฆ้องวงใหญ่ แล้วจึงได้เป็นคนตีระนาดเอก ทั้งนี้ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษจากอาชื่อ นายประสิทธิ์ เกตุคง ให้มีความรู้เรื่องเพลงสองชั้นที่ลิเกให้ร้อง เป็นประจำจึงมีความรู้และไหวพริบดีมากขึ้น ในเรื่องเพลงประกอบการแสดง เป็นที่ทราบกันว่า ย่านบางลำภูนั้น เป็นที่ใกล้ชิดกับบ้านนักดนตรีไทยหลายบ้าน โดยเฉพาะบ้านของสกุล ดุริยประณีต ซึ่งมีนายชื้นและนายชั้น ดุริยประณีต บุตรชายของครูสุข ดุริยประณีต มาช่วยบิดาครูบุญยงค์ตีระนาดประกอบการแสดงลิเกเป็นครั้งคราว จึงได้สนิทสนมไปมาหาสู่กันจนเกิด ความคุ้นเคยเป็นอันมาก ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเพลงกันมากขึ้นเป็นลำดับ
ต่อจากนั้น ครูบุญยงค์ ได้เดินทางไปเรียนดนตรีจากครูเพชร จรรย์นาฎย์ ครูดนตรีไทยฝีมือดีและเป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร การแสดงดนตรีซบเซาลง ครูจึงให้เวลาว่างประกอบอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ณ บ้านดนตรีวัดกัลยาณมิตร ธนบุรี จึงได้เรียนรู้ทางเพลงทั้งทางฝั่งพระนคร และทางฝั่งธน เป็นอย่างดี เมื่อน้ำลดแล้ว ครูจึงได้เรียนดนตรีเพิ่มเติมอีกจาก ครูสอน วงฆ้อง ซึ่งช่วยสอนดนตรีอยู่ที่บ้านดุริยประณีตนั้น
สมัยที่ พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ ทำให้ได้ใกล้ชิดกับนักดนตรี อีกหลายคน
อาทิ ครูประสงค์ พิณพาทย์ และ ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยอยู่ในขณะนั้น
ในระหว่างที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการ ครูบุญยงค์ได้ร่วมมือกับอาจารย์บรูซ แกสตัน ก่อตั้งวงดนตรีไทยร่วมสมัย ชื่อ ?วงฟองน้ำ? ขึ้น
ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น ?ระนาดเทวดา? เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง ในยุคสมัยเดียวกัน
ผลงานของครูบุญยงค์ เกตุคง
1. ผลงานประพันธ์เพลง
1.1 ประเภทเพลงโหมโรง มีอยู่ด้วยกันหลายเพลงอาทิ เพลงโหมโรงสามสถาบัน โหมโรงสามจีน และโหมโรงจุฬามณี เป็นต้น
1.2 ประเภทเพลงเถา ได้แก่เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง เป็นต้น
1.3 เพลงประกอบการแสดง ตระนาฏราชและ เพลงระบำต่างๆที่ประกอบในละคร
1.4 เพลงเดี่ยวทางต่างๆ ได้แก่ ทางเดี่ยวระนาดเอก 3 ราง เพลงอาหนู และเพลงอาเฮีย ฯลฯ
1.5 เพลงประกอบภาพยนตร์และโทรทัศน์ เงาะป่า
1.6 เพลงร่วมสมัย เจ้าพระยา คอนแชร์โต้ เพลงผสมต่างๆ ของวงฟองน้ำ
2. ผลงานการแสดง
เป็นเจ้าของและหัวหน้าคณะนาฏดนตรีแสดงทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ชื่อคณะเกตุคงดำรงศิลป์
3. ผลงานบันทึกเสียง
3.1 แผ่นเสียงของวังสวนผักกาด อำนวยการโดย ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เพลงชุด Drum of Thailand ทำหน้าที่เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก
3.2 เพลงมุล่ง เดี่ยวระนาดเอก แผ่นเสียงตรามงกุฏ
3.3 บันทึกผลงานเพลงโหมโรงและเพลงเถา ในหัวข้อ1.1,1.2 ข้างต้น ในโครงการ "สังคีตภิรมย์"ของธนาคารกรุงเทพ และเก็บผลงานไว้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ และผลงานของวงดนตรีฟองน้ำ
4. งานเผยแพร่ต่างประเทศ
4.1 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
4.2 สหรัฐอเมริกา และแคนาดา 2529 Exposition เยอรมัน 2525 ฮ่องกง 2525 (ฟองน้ำ)
4.3 มโหรีราชสำนัก อังกฤษ 2529-2530
5. รางวัล
5.1 ถ้วยทองคำ นาฏดนตรี
5.2 โล่เกียรตินิยม พระราชทาน ร.9
ประวัติครูดนตรีไทย
ประวัติครูดนตรีไทย, ประวัติครูดนตรีไทย หมายถึง, ประวัติครูดนตรีไทย คือ, ประวัติครูดนตรีไทย ความหมาย, ประวัติครูดนตรีไทย คืออะไร
ประวัติครูดนตรีไทย, ประวัติครูดนตรีไทย หมายถึง, ประวัติครูดนตรีไทย คือ, ประวัติครูดนตรีไทย ความหมาย, ประวัติครูดนตรีไทย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!