ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

นายแพทย์ประเวศ วะสี, นายแพทย์ประเวศ วะสี หมายถึง, นายแพทย์ประเวศ วะสี คือ, นายแพทย์ประเวศ วะสี ความหมาย, นายแพทย์ประเวศ วะสี คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
นายแพทย์ประเวศ วะสี

ประวัติ นายแพทย์ประเวศ วะสี

วัน เดือน ปี เกิด      5 สิงหาคม  พ.ศ. 2474 

ที่บ้านเลขที่  ค. 103 ริมฝั่งแควน้อย  ตำบลบ้านเหนือ  อำเภอเมือง  จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายคลายและนางกิม วะสี

ประวัติการศึกษา

- ศึกษาขั้นต้นชั้นมูลที่โรงเรียนวัดเทวสังฆาราม  (วัดเหนือ)
- 2485  จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนประชาบาลตำบลเกาะสำโรง
- ชั้นมัธยมที่โรงเรียนวิสุทธรังสีจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2490 ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมอุดม
- พ.ศ. 2492 สามารถสอบเข้าเรียนต่อชั้นเตรียมแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     
- 2498  สำเร็จการศึกษาคณะแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมเหรียญทอง  มหาวิทยาลัยมหิดล
- 2503  Ph.D.  มหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา มนุษยพันธุศาสตร์ (Human Genetics)
- 2504 มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ประวัติการทำงาน 

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์โท (พ.ศ. 2504)

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์เอก (พ.ศ. 2506)

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ชั้นพิเศษ (พ.ศ. 2515)

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2519)

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ 11 (พ.ศ. 2527)

•           ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณ (2535 – ปัจจุบัน)

•           ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและวางแผน มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2522-2526)

•           ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล (พ.ศ. 2528-2530)

•           ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2527-2530)

•           ประธานและรองประธานหรือกรรมการขององค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมากมาย รวมทั้งมูลนิธิและสถาบันทางวิชาการอื่นรวมกว่า 60 ชุด

•           ประธานสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย (พ.ศ. 2536)

•           ประธานมูลนิธิไทย 

•           ประธานคณะกรรมการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ แผนกแพทยศาสตร์ มูลนิธิ “อานันทมหิดล” และกรรมการมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์

•           ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ



ผลงาน

          ด้านการโลหิตวิทยา ได้รับทุนวิจัยจากกระทรวงสาธรณสุข และของ China Medical Board วิจัยธรรมชาติของเลือดเกี่ยวกับความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงเนื่องจากกรรมพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจาง และพบวิธีการป้องกันรักษา ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับทั่วภายในและต่างประเทศ และได้รับเชิญไปบรรยาย ณ มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่งเกือบทุกทวีปทั่วโลก บทความทางวิชาการได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศมากกว่า 200 เรื่อง นอกจากนั้นยังได้แต่งตำราวิชาโลหิตและคู่มือโลหิตวิทยา และยังได้รับทุนวิจัยของ National Institute of Health ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ด้านพัฒนาวิชาชีพ โดยการใช้ความรู้ความสามารถพัฒนาวิชาชีพของแพทย์ด้วยหารศึกษาค้นคว้าวิทยาการใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง  และอุทิศเวลาให้กับการสอนนักศึกษาแพทย์ด้วยความเอาใจใส่

          ด้านพัฒนาสังคม  การกระจายความรู้ด้านการแพทย์และอนามัยให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยการเขียนหนังสือและบทความต่างๆ  โดยเน้นเรื่องการป้องกันการพึ่งพาตนเองในการรักษา และก่อตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกบการพัฒนามังคม  เช่น  มูลนิธิหมอชาวบ้าน   มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และเผยแพร่ความคิดเกี่ยวหับการศึกษาตลอดชีวิต

          ด้านคุณภาพชีวิตของเด็กไทย    การก่อตั้งมูลนิธิเด็กให้เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน   ซึ่งทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัย  4    ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่างเริ่มหันมาสนใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น

 รางวัลเกียรติยศ     

 •          ได้รับรางวัลเหรียญทองในฐานะที่ได้คะแนนเป็นที่ 1 ตลอดหลักสูตร พ.ศ. 2498

•           ได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์และต่อมาทุนมูลนิธิ “อานันทมหิดล” ไปศึกษาต่างประเทศ พ.ศ. 2500

•           ได้รับรางวัลพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีในฐานะครูแพทย์ที่ดี เป็นคนแรกของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล พ.ศ. 2512

•           ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐ พ.ศ. 2524

•           ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2526 พ.ศ. 2526

•           ได้รับเลือกเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการแพทย์ ได้รับเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พ.ศ. 2528

•           ได้รับเลือกเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2531

•           ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ “Tobacco and Health” ของ “WHO” พ.ศ. 2533

•           ได้รับรางวัลบุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางการศึกษา (Comminins UNESCO) จากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ              

•           มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

•           มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

•           ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ



คุณธรรม

1.     เป็นผู้ที่มีความพยายามในการศึกษาหาความรู้  

                จากประวัติการศึกษาจะเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่จบการศึกษาจากหลายคณะ หลายสถาบันเช่น คณะแพทยศาสตรมหาลัยจุฬาลงกรณ์และมหาลัยมหิดลยังได้รับรางวัลเหรียญทองในการศึกษา   นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาต่อต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยโคโลราโด  มนุษยพันศาสตร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา  และมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเพียรพยายามในการศึกษาเล่าเรียน

2.    มีความพยายาม

                   จากประวัติการทำงานและประวัติการศึกษานั้นจะเห็นได้ว่าท่านเป็นผู้ที่มีความเพียรพยายามในการทำงาน ท่านได้ทำงานในที่ต่างๆมากมายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก

3.     มีน้ำใจ เอื้อเฝื้อต่อเพื่อนมนุษย์

           จากด้านผลงานของท่านทำให้ทราบว่าท่านเป็นผู้มีความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่  เนื่องจากท่านเอาใจใสประชาชน ท่านให้ความรู้ด้านการแพทย์และการอนามัยแก่ประชาชนโดยทั่วไป ก่อตั้งมลนิธิที่เกี่ยวกับการพัฒนาชีวิต

4.       มีความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตน

            ท่านเป็นผู้ที่อุทิศเวลาในการสอนหนั้งสือให้กับนักศึกษาแพทย์ด้วยความเอาใจใส่  และยังก่อตั้งมูลนิธิเด็กให้เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน   ซึ่งทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านปัจจัย  4    ทำให้ปัจจุบันหน่วยงานต่างเริ่มหันมาสนใจในการแก้ปัญหาและพัฒนาเกี่ยวกับเด็กมากขึ้น

ที่มา www.pcccr.ac.th


นายแพทย์ประเวศ วะสี, นายแพทย์ประเวศ วะสี หมายถึง, นายแพทย์ประเวศ วะสี คือ, นายแพทย์ประเวศ วะสี ความหมาย, นายแพทย์ประเวศ วะสี คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu