ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมายถึง, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความหมาย, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรือ เขื่อนคลองท่าด่าน 
          ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สร้างขึ้นตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดกับประชาชนชาวนครนายก และจังหวัดใกล้เคียง

ตัวเขื่อน 
          ประกอบด้วยเขื่อนหลักและเขื่อนรองสร้างด้วยคอนกรีตบดอัด ปัจจุบันเป็นเขื่อนคอนกรีตบดอัดที่มีความยาวที่สุดในโลก มีความยาวรวม 2,720 เมตร ความสูง (สูงสุด) 93 เมตร รับน้ำที่ไหลจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผ่านน้ำตกเหวนรกลงสู่อ่างเก็บน้ำ มีความจุ 224 ล้านลูกบาศก์เมตร

การเดินทาง
          รถยนต์ จากกรุงเทพ ฯ ( ทางหลวงหมายเลข 305 หรือ 33) – นครนายก – (น้ำตกนางรองใช้ถนนหมายเลข 3049) – ผ่านอุทยานวังตะไคร้ – เลี้ยวขวาเข้าถนนสู่ตัวเขื่อน 
          รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพ ฯ – นครนายก มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (ถนนกำแพงเพชร 2) ทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร .0-2936-3660, 0-2936-3666

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้าง 5 โทรศัพท์ 0-3738-420 ต่อ 133 หรือ www.thadandam.com



ที่มาของชื่อ

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทาน ชื่อเขื่อนคลองท่าด่าน “เขื่อนขุนด่านปราการชล” กับมีพระกระแสให้ติดป้ายโลหะจารึกประวัติของขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน ณ บริเวณเขื่อนเพื่อเชิดชูเกียรติคุณให้ปรากฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแก่กรมชลประทานและชาวจังหวัดนครนายก ขอพระองค์ทรงมีพระชนม์พรรษายิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของปวงประชาตลอดกาล

         เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นชื่อพระราชทานที่ได้นำตำนานเจ้าพ่อขุนด่านในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพม่าบุกไทยชาวเขมรลักเสบียงรังแกคนไทย หัวหน้าที่ชาวบ้านเรียกว่า ขุนด่านจะใช้ม้าเร็วรับส่งข่าวรายงาน ไปยังกรุงศรีอยุธยา

         ภายหลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพจากพม่า พระยาละแวกตีตลบหลังไทยกวาดต้อนขนทรัพย์สินมีค่าไปเมืองเขมร ขุนหาญพิทักษ์ไพรวัน หรือ ขุนด่าน ทราบข่าวกองทัพเขมรจะตีนครนายก ได้รวบรวมคนไทยซุ่มรอคอยโจมตี ทัพพระยาละแวกอย่างห้าวหาญ จนทัพเขมรแตกพ่ายไป ต่อมาเมื่อขุนด่านถึงแก่อนิจกรรม ชาวบ้านได้ร่วมใจสร้างศาลาประดิษฐานอัฐิไว้ ณ บริเวณเขาชะโงก ตำบลพรหมณี อ.เมือง จ.นครนายก ปัจจุบันเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ

         เกียรติคุณขุนด่านที่เล่าขานกันตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจะจารึกไว้ในความทรงจำชั่วลูกหลานให้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านตราบนานเท่านานไว้ที่ เขื่อนขุนด่านปราการชล เสมือนเป็นกำแพงคอนกรีตปรากฏการมหึมา ความยาว 2549 เมตร สูง 93 เมตร ขวางกั้นลำคลองท่าด่านที่มีน้ำไหลเข้ามา เก็บกักได้ถึง 224 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อการชลประทานให้กับการเกษตรกรรมในพื้นที่ 185 ,000 ไร่ และการท่องเที่ยว ซึ่งในอนาคต เศรษฐกิจของจังหวัดนครนายกจะรุ่งเรืองเจริญก้าวหน้า สร้างรายได้แก่ชุมชน มีชื่อเสียงแพร่กระจาย เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วประเทศ

ภาพจาก : Travel For Today



ความเป็นมาของโครงการ

          ลุ่มแม่น้ำนครนายกเห็นลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 2,430 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตั้งอำเภอเมือง อำเภอบ้านนา อำเภอปากพลี ไปจนถึงอำเภอองครักษ์ ลุ่มน้ำนครนายกตอนบนมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จากบริเวณต้นน้ำจนถึงอ่างเก็บน้ำคลองท่าด่าน มีลักษณะเป็นหุบเขาแคบ ๆ และพื้นที่สูงชัน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ตอนกลางได้แก่ พื้นที่ส่วนขยายของโครงการชลประทานท่าด่าน เป็นที่ราบมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นในบริเวณนี้ ระดับน้ำใต้ดินมีการลดระดับหรือพื้นที่ลาดเทค่อนข้างมาก ทำให้น้ำไหลบ่ารุนแรงในช่วงฤดูฝนและตอนล่าง ได้แก่ บริเวณพื้นที่ชลประทานนครนายก เป็นพื้นที่ราบกว้างขวางมีระดับน้ำใต้ดินต่ำจึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งส่วนในฤดูฝนกลับเกิดปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบที่มีความลาดเอียงน้อยทำให้น้ำระบายอกยากน้ำจึงท่วมขังเป็นเวลานาน

          ลุ่มน้ำนครนายกได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ทำให้เกิดฝนชุกโดยเฉลี่ประมาร 1 , 500 ถึง 2 ,000 มม. ต่อปีหรือร้อยละ 87 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึง เดือนตุลาคม ยังเป็นช่วงที่มีน้ำท่าสูงสุดถึงร้อยละ 93 ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปี น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร ไร่นา และพื้นที่ทำการเกษตรโดยรอบ บางแห่งน้ำท่วมแช่อยู่นานจนไร่นาและพื้นที่ทำการเกษตรเสียหาย อ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำ ส่วนกินนี้ไว้ในฤดูแล้งได้ ดังนั้นช่วงปลายปีเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม อันเป็นช่วงฤดูแล้ง จึงมักเกิดการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง แม้ว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำจะมีระบบชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลางโดยมีฝาย เช่น ฝายท่าด่าน หรือเขื่อนทดน้ำตามลำน้ำเป็นระยะๆ เพื่อใช้ตัวลำน้ำเองเป็นพื้นที่เก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน และยังใช้อ่างเก็บน้ำตามลำน้าสาขาทางต้นน้ำนครนายก ช่วยเก็บกักด้วยก็ยังพอที่จะช่วยป้องกันน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และไม่เพียงพอที่จะเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยเฉพาะบางทีฝนทิ้งช่วง ลำน้ำนครนายกเองก็ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้เพื่อชลประทานได้ ตรงกันข้ามเมื่อถึงช่วงฤดูฝน น้ำกลับไหลบ่าลงมาท่วมบ้านเรือน ไร่นา และพื้นที่การเกษตรของราษฎรทำให้เกิดการสูญเสียอย่างมราก พื้นที่บางส่วนจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน แต่พอถึงฤดูแล้ง น้ำกลับแห้งผากจากสภาวะน้ำท่วมแช่อยู่เป็นเวลานานสลับกับความแล้งซ้ำซากทำให้ดินกลายสภาพเป็นกรดที่เรียกว่าว่า ดินเปรี้ยว ในแต่ละปีดินเปรี้ยวสร้างความสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับผลผลิตทางการเกษตรในจังหวัดนครนายกด้วยเหตุผลดังกล่าว โครงการเขื่อนคลองท่าด่านฯ จึงเกิดขึ้นโดยมีความมุ่งมั่นที่จะขจัดปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง และดินเปรี้ยว ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่สามารถเก็บกักน้ำและจัดสรรน้ำอย่างเป็นระบบ ให้พอเพียงกับความต้องการของกิจกรรมทุกประเภทภายในลุ่มน้ำนครนายกและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทานพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างเขื่อนคลองที่ด่านฯ และได้ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 โดยจะใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2544 พระบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่านฯ ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเป็นสิริมงคลสูงสุดแก่พสกนิกรชาวจังหวัดนครนายก


เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมายถึง, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คือ, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความหมาย, เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu