ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กระต่าย, กระต่าย หมายถึง, กระต่าย คือ, กระต่าย ความหมาย, กระต่าย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กระต่าย

          กระต่าย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว พบในหลายแห่งของโลก มีสัตว์ 7 สกุลจัดอยู่ในวงศ์ของกระต่าย ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว ขุดดินเป็นโพรงอาศัย ส่วนที่นำมาเลี้ยงตามบ้าน มีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus

          กระต่ายมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถแบ่งแยกประเภทของกระต่ายได้ตามขนาด ได้แก่ กระต่าย
          

อุปกรณ์ในการเลี้ยงกระต่าย

1. กรง
          - กรงควรจะใหญ่กว่าตัวกระต่ายประมาณ 4 เท่า 
          - กรงที่เหมาะสมสำหรับกระต่ายเล็กคือขนาดประมาณ 25 X 35 นิ้ว และกระต่ายโต ขนาดประมาณ 30 X 35 นิ้ว กรงไม่ควรเตี้ยเกินไป เพื่อให้กระต่ายสามารถจะยืน 2 ขาได้
          - กรงควรจะสะอาด ระบายอากาศดี และมีความกว้างขวางเพียงพอ ควรจะเลือกกรงที่เป็นพื้นทึบจะดีกว่าเป็นซี่กรง เพราะกระต่ายต้องกินอึบางชนิดกลับเข้าไป (เพราะเป็นสัตว์กินพืช เมื่อกระต่ายกินอาหาร เข้าไปซึ่งจะย่อยยาก แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ตอนต้นของกระต่าย จะทำการผลิตวิตามิน ที่มีประโยชน์ให้กับกระต่าย ซึ่งสารอาหารที่มีประโยชน์จากแบคทีเรียกนี้ บางส่วนจะโดนขับออกมา กับอึของกระต่าย ซึ่งได้แก่ โปรตีน และวิตามิน B ซึ่งบางครั้งกระต่ายจะต้องกินกลับเข้าไป เพื่อรักษาสมดุลย์ธรรมชาติของร่างกาย)

2. กระบอกน้ำ จะช่วยให้กระต่ายมีน้ำที่สะอาดกิน ไม่ควรจะใส่น้ำลงในภาชนะ เพราะว่าเศษอาหาร อุจจาระ และผักหญ้า อาจจะตกหล่นลงไปในน้ำ จะทำให้เน่าเสีย และทำให้กระต่ายท้องเสียอีกด้วย

3. ภาชนะใส่อาหาร ควรเลือกแบบที่เป็นเซรามิกซ์ หรือดินเผาจะดีกว่า เพราะว่าคว่ำยาก

4. อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
          อาหารหยาบ ( Roughage ) หมายถึง อาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยื่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไปแล้วเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วซีราโต ถั่วไกลซีน ถั่เทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้นพืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้ อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ควรหั่นเป็นท่อนๆได้ยาวพอควร 
          อาหารข้น ( Concentrate ) แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัยอาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลผลิตเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น ( Concentrates ) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารข้นนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คือ อาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล ( คาร์โบไฮเดรต ) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเส้น และไขมันจากพืชหรือสัตว
อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น สำหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายไม่ได้เสริมด้วยอาหารข้นควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่าๆกัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามใจชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกในการกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย
          อาหารสำเร็จรูป ( Complete feed ) เกิดจากการนำอาหารข้นและหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการเลี้ยงทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหารสำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จะเป็นอย่างเพียงพอ

5. หญ้า จำเป็นมากสำหรับกระต่ายเพราะมีใยอาหาร และช่วยรักษาสมดุลย์ของระบบย่อนอาหารของกระต่าย เราอาจใช้หญ้าขน หรือ หญ้าแห้งสำเร็จรูป ในการเลี้ยงก็ได้
          - รางใส่หญ้า ควรจะมีรางใส่หญ้าแขวนไว้ข้างกรงด้วยเสมอ เพราะกระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะและอาหารหลักของเค้าไม่ใช่อาหารเม็ด อาหารเม็ดถ้ากินมากไปจะทำให้กระต่ายอ้วน และยังทำให้สมดุลย์ของแบคทีเรียเสีย

7. แปรง สำหรับกระต่ายขนยาว ควรจะมีแปรงเพื่อใช้ในการหวีสางขนไม่ให้พันกัน แปรงสำหรับกระต่ายประเภทขนยาวปุย ควรเลือกแปรงลักษณะปลายลวด เพราะจะหวีสางขนได้พองสวยกว่า

ข้อมูลจาก thaipetlover.com



วิธีจับกระต่าย

          กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหูเพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตุทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้

          1. ลูกกระต่าย ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคง แล้วยกขึ้นตรงๆ 
          2. กระต่ายขนาดกลาง ใช้มือขวา ( หรือมือที่ถนัด ) จับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้นให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ 
          3. กระต่ายใหญ่ ใช้มือขวาจับแบบวิธีที่ 2 แล้วยกอ้อมขั้นมาทางซ้ายมือใช้แขนซ้ายหนีบให้แนบชิดลำตัว โดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับและขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ

ข้อมูลจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



การดูแลรักษากระต่ายป่วย

โรคภัยที่กระต่ายมักจะประสบกันมากต่าง ๆ และวิธีแก้ไขเบื้องต้น

          1. โรคท้องเสีย  สาเหตุของกระต่ายท้องเสียมีหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากที่พบก็คือ  จากการกิน  ในบางครั้งเจ้าของกระต่าย  หาอาหารหรือนำผักผลไม้ที่อวบน้ำให้กระต่ายกินเป็นจำนวนมาก ๆ  เช่น แอปเปิ้ล  แตงกวา  บางครั้งให้กินเป็นจำนวนหลาย ๆ ลูก  ซึ่งทำให้กระต่ายมีน้ำในท้องเยอะ  ส่งผลให้กระต่ายท้องขึ้นและท้องเสีย   และการดื่มน้ำดื่มไม่สะอาดพอ   ตลอดจนสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย จากอากาศหนาวเย็นไปสู่อากาศร้อนฉับพลัน  จะส่งผลให้กระต่ายถ่ายเหลว   
          - ลักษณะของอาการท้องเสีย  กระต่ายจะนอนหมอบแบบหมดแรง  และถ่ายเป็นน้ำ  หรือในระยะแรกอึกระต่ายจะไม่ค่อยปั้นก้อนแข็งตัว  เมื่อจับดูหรือกดก็จะพบว่า อึกระต่ายนิ่มมาก ๆ  ถ้าเป็นอาการเริ่มต้นดังกล่าว ให้รีบนำผงเกลือแร่ชนิดซองที่ผสมให้คนดื่ม   ผสมน้ำให้กระต่ายดื่ม เพราะกระต่ายจะเริ่มเสียน้ำมาก ๆ ทำให้กระต่ายอ่อนเพลีย  และหยุดให้อาหารเม็ดทั้งสิ้น วางไว้เฉพาะหญ้าสดเท่านั้น และรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน 
          - วิธีการรักษาแพทย์จะฉีดยาฆ่าเชื้อ  และให้วิตามิน พร้อมกับยาฆ่าเชื้อมาให้ เจ้าของกระต่ายป้อนในปริมาณที่แพทย์กำหนด เช้า-เย็น (หรืออื่น ๆ ตามวินิจฉัยของแพทย์)  

          2. โรคท้องอืด  สาเหตุ เกิดจากการที่อาหารของกระต่ายกินเข้าไปแล้วกระต่ายไม่ถ่ายออกมา  จนทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้  และหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน จากอากาศร้อนจัด ๆ ไปอากาศหนาว  จะทำให้ลักษณะของลำไส้และกระเพาะของกระต่าย หดรัดตัวไม่ย่อยอาหาร  ทำให้เกิดอาการท้องอืด  
          - ลักษณะอาการ  กระต่ายที่มีอาการท้องอืด  จะนอนนิ่ง ๆ ไม่ถ่าย นิ่งซึม  ลักษณะคล้าย ๆ อาการของโรค Hair ball และไม่ยอมกินอะไร  เมื่อจับบริเวณลำตัวจะพบว่า ท้องแข็ง และตัวพองกลม  และตามลำตัวจะมีลักษณะสีเขียว  ถ้าพบอาการลักษณะนี้  ให้พยายามเอาผงเกลือแร่ ผสมน้ำป้อนกระต่าย  และรีบนำส่งแพทย์ด่วน  
          - วิธีการรักษาแพทย์จะทำการ  ส่งเอ็กซ์เรย์  และฉีดยาฆ่าเชื้อ  สวนทวารของกระต่าย  ให้น้ำเกลือ  และสังเกตการณ์หากเป็นมากก็อาจจะต้องรับตัวไว้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล 

          3. โรคเชื้อรา  สาเหตุเกิดจากความอับชื้น จากบริเวณที่เลี้ยง หรือ เชื้อที่ลอยมาตามอากาศ  
          - ลักษณะอาการจะมีอาการขนร่วง มากผิดปกติแบบไร้สาเหตุ  หรือในบางตัวจะมีความเปียกชื้นบริเวณขนของกระต่ายที่มีขนยาว  และมีสีเขียวเข้ม ๆ   เป็นต้น กระต่ายจะเกา  และถ้าร่วงมาก ๆ จนไม่มีขนบริเวณนั้น อาจจะส่งผลให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบจากการติดเชื้ออื่นตามมาได้  ให้รีบนำส่งแพทย์
          -  การรักษา แพทย์จะทำการขูดบริเวณที่มีปัญหาขนร่วง หรือบริเวณที่มีสีเขียว บนขนกระต่าย ไปตรวจ หากเป็นเชื้อรา  แพทย์จะให้ยากลุ่ม คีโตคูนาโซล  ไม่ว่าจะเป็นแชมพู  หรือ  ครีม ให้ปฏิบัติตามแพทย์สั่ง  เพราะอาการของเชื้อรา  เป็นการรักษาที่ต้องใช้การดูแลต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ดังนั้นอาจจะต้องใช้ความอดทนเล็กน้อย 

          4. โรคกลาก  เรื้อน   สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ  และการอักเสบ  หรือติดเชื้อที่ลอยมาตามกระแสลมและมาเกาะบริเวณตัวกระต่าย  และหรือในบางทฤษฎี บอกว่าเกิดจากพยาธิในตัวกระต่าย ที่แย่งอาหารต่าง ๆ ไปจนทำให้กระต่ายขาดสารอาหารและเป็นแผลตกสะเก็ด (ไม่ขอยืนยัน)  
          - ลักษณะอาการบริเวณใบหู  จมูก  หรือ เท้า  จะมีลักษณะของการเป็นแผลตกสะเก็ด และกระต่ายจะเกาและคันมาก  หากปล่อยไว้นาน ๆ อาการตกสะเก็ดจะลุกลามไปเรื่อย  ๆ  อาจจะส่งผลให้กระต่ายเสียชีวิตในเวลาต่อมา  (อาการดังกล่าวคล้าย ๆ ขี้เรื้อนในสุนัข)
          - การรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยเชื้อ และให้ครีมมาทา เช้า – เย็น  และให้ยาฆ่าเชื้อมาป้อนประกอบกันเช้าและเย็น  ต้องหมั่นและขยันทาครีม ตลอดจนป้อนยาอย่างต่อเนื่อง  และแผลตกสะเก็ดจะแห้ง และเมื่อแผลแห้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บริเวณผิวหนังของกระต่ายบริเวณที่เป็นกลากหรือเรื้อน  จะค่อย ๆ มีขนเข้าปกคลุมแต่อาจต้องใช้เวลาสักระยะ 

          5. Hair Ball   สาเหตุเกิดจากการที่กระต่าย  เลียขน (แต่งตัว) เข้าไปเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้วไปสะสมในระบบทางเดินอาหาร  ทำให้เกิดการอุดตันในระบบทางเดินอาหารไม่ว่าจะเป็นบริเวณกระเพาะอาหารหรือบริเวณลำไส้ ทำให้กระต่ายไม่ถ่ายหรือถ่ายออกมาเป็นปริมาณที่น้อยมาก ๆ   Hair Ball เป็นโรคที่พบได้ในกระต่ายทุกสายพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นขนสั้นหรือขนยาว
          - ลักษณะอาการ ที่ควรหมั่นสังเกตุ  อาการเบื้องต้นของกระต่ายที่มีลักษณะของโรคแฮร์บอล ให้สังเกตุที่อึของกระต่าย  หากอึมีลักษณะของเส้นขนที่ร้อยอึออกมาด้วยลักษณะคล้าย ๆ สร้อยมุก  ให้สันนิษฐานว่ากระต่ายมีอาการของโรคแฮร์บอล 
          - วิธีการรักษาเบื้องต้น   ให้หาเจล Laxatone มาป้อนให้กระต่ายกิน สัดส่วนที่พอเหมาะ ประมาณ 1 CC ต่อ 1 กิโลกรัม  หรืออาจจะมากกว่านั้นเล็กน้อย ป้อนเช้าและเย็น และสังเกตอาการว่ากระต่ายถ่ายออกมาได้มากขึ้นหรือไม่  ให้ป้อนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 – 5 วัน  หรือ 1 สัปดาห์  แล้วหยุดป้อน  และสังเกตอาการต่อหาก  อึของกระต่ายที่มีเส้นขนร้อยออกมาหมดไป ก็ให้สบายใจได้  แต่ถ้ายังไม่หมด  ถ้าต้องการความสบายใจให้รีบไปปรึกษาแพทย์ดีที่สุด 

          6.โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ เช่น ลักษณะฟันยื่น โรคทางพันธุกรรมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  แต่สามารถช่วยเหลือหรือรักษาได้ตามอาการของกระต่ายที่เป็น เช่นกระต่ายฟันยื่น ก็สามารถพากระต่ายไปตัดฟันออกให้ฟันสบกันพอที่จะให้กระต่าย ไว้ใช้กัดแทะหรือบดเคี้ยวอาหารได้อย่างสะดวก  ส่วนปัญหาคอเอียง หรือขาแป ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด  ปัญหาทางพันธุกรรมหลัก ๆ เกิดจากการนำกระต่ายที่มีสายเลือดใกล้ชิดกัน เช่น ปู่  ย่า  พ่อ แม่  พี่น้อง มาผสมพันธุ์กันเอง หรือก็เป็นปัญหาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาลักษณะผิดปกติดังเช่นที่ผ่านมาได้เช่นกัน

          การป้องกันโรค ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุด ได้แก่ 
          - เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง 
          - ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก 
          - หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น 
          - ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้

ข้อมูลจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์



การเลือกซื้อกระต่าย

การเลือกซื้อกระต่าย ควรมีหลักการพิจารณา ดังนี้

          1. เลือกพันธุ์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง เช่น เมื่อต้องการเลี้ยงกระต่ายเนื้อก็ควรเลืกพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลิฟอร์เนีย ถ้าต้องการเลี้ยงเพื่อเอาขนควรเลือกพันธุ์แองโกร่า แต่ถ้าต้องการเลี้ยงไว้ดูเล่นควรเป็นกระต่ายที่สวยงาม เช่น พันธุ์เซเบิล ( Sable ) 
          2. รูปร่างลักษณะของกระต่าย ถ้าเป็นพันธุ์แท้ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์กระต่ายตัวเมีย ควรมีเต้านมอย่างน้อย 8 เต้า มีอวัยวะเพศภายนอกปกติ กระต่ายตัวผู้ควรมีอัณฑะเต็มทั้ง 2 ข้าง และไม่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ 
          3. สุขภาพ กระต่ายจะต้องมีสุขภาพดี ท่าทางตื่นตัว ไม่หงอยเหงา หรือเซื่องซึม ไม่มีโรคของระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และโรคของผิวหนังรวมทั้งไร ขี้เรื้อนต่างๆ 
          4. ประวัติ ควรซื้อจากแหล่งที่มีประวัติการเลี้ยงดี กระต่ายเติบโตเร็วและไม่มีโรค 
          5. อายุ ควรเป็นกระต่ายที่หย่านมแล้ว มีอายุเกิน 6 สัปดาห์ เพราะกระต่ายมีอายุน้อยกว่านี้จะอ่อนแอและมีความต้านทานโรคต่ำ 

          หลังจากเลือกซื้อกระต่ายได้แล้ว การขนย้ายกระต่ายเพื่อนำไปเลี้ยงจำเป็นจะต้องทำอย่างระมัดระวังและรวดเร็ว ในขณะที่อากาศยังไม่ร้อนในช่วงเช้าๆ หรือตอนเย็น หรือกลางคืน พยายามอย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง และมีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้กระต่ายเครียดเกินไป

          ช่วงที่นำกระต่ายมาเลี้ยงใหม่ๆ ควรดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ เพราะกระต่ายมักจะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ควรที่จะผสมวิตามินในน้ำให้กระต่ายกินประมาณ 3-5 วัน ถ้ามีการนำกระต่ายใหม่มาเลี้ยงก่อนที่จะนำมาเลี้ยงรวมกัน ควรทำการกักโรคประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่ากระต่ายที่ซื้อมาใหม่จะไม่นำโรคเข้ามา

ข้อมูลจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


กระต่าย, กระต่าย หมายถึง, กระต่าย คือ, กระต่าย ความหมาย, กระต่าย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu