ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น), ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) หมายถึง, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) คือ, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) ความหมาย, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น)

ผลการแปลเอกสารภาษามาลายู และอาหรับโดยผู้รู้เกี่ยวกับภาษาระบุว่าแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอนถูกกำหนดมาตั้งแต่ ปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) โดยมุ่งใช้เยาวชนเป็นกลุ่มปฏิบัติการทั้งทางทหาร ประชาสัมพันธ์ และโฆษณาชวนเชื่อ โดยแผนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 ขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5 เป็นห้วงของการจัดตั้งและดำเนินงาน เพื่อสร้างความพร้อมของคน องค์กร และอุดมการณ์

ส่วนที่ 2 ขั้นที่ 6 ถึงขั้นที่ 7 เป็นขั้นการปฏิวัติ เพื่อความสำเร็จของการกู้ชาติปัตตานี

ขั้นที่ 1 การสร้างจิตสำนึกมวลชน

เป็นการปลุกระดมมวลชนให้สำนึกถึงความเป็นชาวมลายู ความยึดมั่นในศาสนาอิสลาม และเน้นความเป็นชาติ/รัฐปัตตานีในอดีตที่จะต้องต่อสู้เอาดินแดนคืนโดยมักจะยกเป็นประ เด็นการกวาดต้อนชาวมลายูไปยังกรุงเทพ และบังคับให้ใช้มือเปล่าขุดคลองแสนแสบ รวมทั้งอ้างคำสอนในคัมภัร์อัลกุรอ่านมาประกอบ

ขั้นที่ 2 การจัดตั้งมวลชน

เป็นการจัดตั้งแนวร่วม ซึ่งมักดำเนินการระหว่างสอนศาสนาต่อเยาวชน เยาวชนในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีอายุในระหว่าง 18-35 ปี และประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงการอ่าน “คุปตะเบาะห์” ในวันศุกร์ หรือ “ละหมาดใหญ่” ตามมัสยิด ส่วนในโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนเด็กเล็กก่อนวัยเรียน/อนุบาล ปอเนาะและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะมอบให้ครูสอนศาสนาที่ผ่านการบ่มเพาะมาในระดับหนึ่งแล้วเป็นผู้ดำเนินการ จากนั้นจะพัฒนาให้นักเรียน/นักศึกษาเหล่านี้ผู้ปฏิบัติ โดยอาจให้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศ (ที่ปรากฎหลักฐานคือการไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยในเมือง บันดุง เมดาน ยอร์คจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย) ซึ่งนักศึกษาเหล่านี้นอกจากจบการศึกษาทางวิชาการแล้วยังได้ผ่านการฝึกหลักสูตรด้านการทหารมาอีกด้วย จากนั้นจะส่งมวลชนจัดตั้งเข้าเป็นคณะกรรมการต่างๆเช่น คณะกรมมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการมัสยิด คณะกรรมการหมู่บ้าน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล รวมทั้งเข้าครอบงำสหกรณ์ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนได้รวมกลุ่มดำเนินกิจการเพื่อพึ่ง ตนเอง เช่น สหกรณ์หมู่บ้าน ซึ่งจะมีการเก็บเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้าขบวนการอันเป็นการสร้างเศรษฐกิจระดับรากหญ้า ควบคู่กันไป ส่วนสมาคมหรือชมรม (รวมถึงด้านกีฬา) ก็เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ต้องการเข้าครอบงำด้วย

ขั้นที่ 3 การจัดตั้งองค์กร

เป็นการจัดตั้งองค์กรอำพรางในการปฏิบัติ ทั้งเพื่อการควบคุมมวลชนและแหล่งเงินทุน เช่น การจัดตั้งชมรมตาดีกา โดยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสใช้ชื่อว่า “PUSAKA” (Pusat Kebajkan Tadika) พื้นที่จังหวัดปัตตานีใช้ชื่อว่า “PUSTAKA” พื้นที่จังหวัดยะลาใช้ชื่อว่า “PERTIWI” พื้นที่จังหวัดสงขลาใช้ชื่อว่า “PUTRA” และพื้นที่จังหวัดสตูล ใช้ชื่อว่า “PANTAS” เพื่อควบคุมโรงเรียนตาดีการที่ยินยอมเข้ามาอยู่ในองค์กรซึ่งการควบคุมองค์กรเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ทางการเมืองต่อระดับแกนนำในพื้นที่เหล่านั้นด้วย นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งองค์กรบังหน้าอื่นๆอีกหลายรูปแบบ เช่น จัดตั้งสหกรณ์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุน เป็นต้น

ขั้นที่ 4 การจัดตั้งกองกำลัง

ในขั้นนี้มี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเยาวชน เป็นกองกำลังที่อยู่ประจำหมู่บ้านตามภูมิลำเนาโดยเฉพาะในหมู่บ้านสีแดง (ประมาณ 257 หมู่บ้าน) โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งกองกำลังดังกล่าวให้ได้ 30,000 คน ระดับเยาวชนคอมมานโดเป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกจากลุ่มเยาวชนทหารนำไปฝึกยุทธวิธีหน่วย ทหารขนาดเล็ก (Runda Kumpulan Kecil/RKK) และยุทธวิธีด้านอื่นๆเพิ่มเติม สมาชิกระดับคอมมานโดจะได้รับมอบภารกิจด้านการก่อเหตุร้าย ซึ่งทั้งการลอบยิง ลอบวางระเบิด และลอบโจมตี โดยมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งให้ได้ 3,000 คน กระจายอยู่ในเขตปกครองใหม่ 3 เขต (เขตการปกครองขององค์กรกู้ชาติปัตตานี) เขตงานละ 1,000 คน และ ระดับกองกำลังระดับผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ควบคุมและครูฝึกกองกำลังคอมมานโด กลุ่มเหล่านี้บางคนผ่านการฝึกมาจากต่างประเทศ มีขีดความสามารถค่อนข้างสูง เคยผ่านการปฏิบัติจริงมาแล้วและมีจิตใจต่อสู่เพื่อองค์กรที่แน่วแน่ โดยมีเป้าหมายกำหนดไว้ 300 คน คัดเลือกจากเยาวชนคอมมานโดและผู้ที่ผ่านการฝึกจากต่างประเทศแล้ว

ขั้นที่ 5 การสร้างอุดมการณ์ชาตินิยม

การปฏิบัติขั้นนี้ มุ่งเน้นการสร้างอุดมการณ์ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกัน (ความเป็นมาลายู)ที่จะต้องร่วมกันต่อสู้เพื่อให้ได้รัฐปัตตานีคืนมาโดยการผนึกกำลังของชนชาติพันธุ์มาลายูที่เป็นชาวไทยมุสลิมทุกสถานะ/อาชีพ ซึ่งรวมถึงข้าราชการพลเรือน ตำรวจทหารที่เป็นมุสลิม และชาวมาเลเซีย ที่สำคัญผู้ที่ได้รับการปลุกฝังอุดมการณ์ชาตินิยมแล้วจะต้องเคยผ่านการปฏิบัติจริง (การก่อเหตุร้ายไม่ว่าในลักษณะใดตามเงื่อนไขและระดับความรับผิดชอบ)

ขั้นที่ 6 การเตรียมพร้อมปฏิวัติ

เป็นขั้นตอนการก่อเหตุร้ายทุกรูปแบบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เหมือนการแตกกระจายของดอกไม้ไฟ หรือเรียกว่า “การจุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ” เพื่อการเคลื่อนไหวใหญ่

ขั้นที่ 7 การจัดตั้งการปฏิวัติ หรือ การก่อการปฏิวัติ

เป็นการต่อสู้ขั้นสุดท้ายและใช้การโจมตีประกอบด้วยกองกำลังต่อกลไลรัฐเต็มพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะโจมตีจะติดตั้งธงรัฐปัตตานีควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สื่อมวลชนแพร่กระจายไปทั่วโลก และหวังผลให้ประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะองค์การสหประชาติหรือองค์กรมุสลิม ในระดับโลกเข้ามาแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าว จนนำไปสู่การลงประชามติของประชาชนเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชและจัดตั้งรัฐปัตตานีขึ้นในที่สุด ซึ่งตามแผนการเดิมขั้นตอนนี้กำหนดจะกระทำในปี พ.ศ.2548 แต่ด้วยความไม่พร้อมของจำนวนกองกำลังแนวร่วมและอาวุธยุทโธปกรณ์ จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน และต้องขยายแผนนี้ออกไปอีกระยะหนึ่ง


 ที่มา  www.bloggang.com 
 


ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น), ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) หมายถึง, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) คือ, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) ความหมาย, ความหมายของแผนปฏิวัติ 7 ขั้นตอน (แผนบันได 7 ขั้น) คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu