ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 หมายถึง, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 คือ, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 ความหมาย, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483

เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483

โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์

            ครั้งนี้จะเล่าถึงการเดินขบวนครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ถามคนอายุ ๔๐ และ ๑๖-๑๗ หลายคนว่า รู้บ้างไหมว่ามีการเดินขบวนครั้งแรกเมื่อใด และเรื่องอะไร คนอายุ ๔๐ ตอบอย่างลังเลว่า พ.ศ.๒๕๐๐ สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ที่เขาว่ากันว่าการเลือกตั้งผู้แทนครั้งนั้น ‘สกปรก’ ทำให้นิสิตนักศึกษาประชาชนพากันออกมาประท้วง ใช่ไหม

             ส่วนคนอายุ ๑๖-๑๗ ตอบทันทีว่า ก็เมื่อ ๑๔ ตุลาคม ๑๖ ยังไงละ (ทั้งๆที่ตอนนั้นคนตอบยังไม่เกิด)ซึ่งผิดทั้งคู่ การเดินขบวนครั้งแรกอันเป็นประวัติศาสตร์ของกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๘๓ ตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม เรื่อยไปเกือบตลอดทั้งเดือน ซึ่งถ้าลองลำดับถึงการเดินขบวนต่อๆมา ก็มีข้อสังเกตแปลกอยู่ ที่การเดินขบวนประท้วงเรื่องอะไรก็ตาม มักเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม

             เมื่อเดินขบวน พ.ศ.๒๔๘๓ นั้น คนอายุ ๖๖ ในปัจจุบันนี้เพิ่งเกิด ผู้เล่าเกิดแล้วอายุ ๑๐-๑๑ พอจะรู้เรื่องกับเขา ได้เห็นเขาเดินขบวนกัน รู้เรื่องเพราะการเดินขบวนครั้งนั้น ใหญ่ยิ่ง เอิกเกริก ตื่นตัวตื่นเต้นกันไปทั้งบ้านทั้งเมือง

            เรื่องที่จะทำให้เกิดการเดินขบวนกันทั้งกรุงเทพฯและขยายออกไปแทบทุกจังหวัดนั้น คุกรุ่นขึ้นมาจากความรักชาติ จากการรื้อฟื้นเรื่องเสี่ยดินแดน ร.ศ.๑๑๒ ให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งเวลานั้นครอบครองอาณาจักร ญวน ลาว เขมรอยู่ ดินแดนที่ฝรั่งเศสครอบครองจึงเรียกกันในสมัยนั้นว่าอินโดจีนของฝรั่งเศส

              จะไม่เล่าเท้าความถึง ร.ศ.๑๑๒ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่โดยทั่วไปแล้ว จะเล่าแต่เฉพาะเรื่องการเดินขบวนและเหตุการณ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองมาได้ ๘ ปี ในสมัยที่ พลตรี ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี (ขณะนั้นได้มีการคืนบรรดาศักดิ์ พระยา พระ หลวง ขุน กันแล้ว แม้จะไม่ได้บังคับ แต่ส่วนมากพากันคืน และส่วนมากใช้ราชทินนามเป็นนามสกุลแทนนามสกุลเดิม) รัฐบาลสมัยนั้นมีนโยบายปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยม เรื่องถูกย่ำยีจนต้องเสียดินแดน ร.ศ.๑๑๒ จึงเป็นหัวข้อที่ปลุกความรู้สึกรักชาติขึ้นมาอย่างรุนแรง ประกอบทั้งความเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของกองทัพไทยเวลานั้น

              แรกทีเดียวก็มีข่าวแพร่ไปทั่วก่อนว่าบรรดานิสิต นิสิตา (ตอนนั้นเรียกนิสิตหญิงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า นิสิตา) รวมทั้งนักเรียนเตรียมจุฬาฯ กับนักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งนักเรียนเตรียมธรรมศาสตร์ฯ นัดหมายกันว่าจะร่วมเดินขบวน ‘เรียกร้องดินแดนคืน’ โดยทางจุฬาฯ จะพากันไปสมทบที่ธรรมศาสตร์ฯ แล้วจึงร่วมเดินขบวนไปตามถนนต่างๆ และกระทรวงกลาโหม ในวันที่ ๖ ตุลาคม

             แต่แล้วการนัดหมายที่จะรวมกันก็ล้มเลิกโดยทางธรรมศาสตร์ฯ นั้น ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ได้ประชุมห้ามนักศึกษาเอาไว้ โดยให้เหตุผลว่ารัฐบาลได้กระทำทุกอย่างเกี่ยวกับกรณีขอดินแดนคืนด้วยสันติวิธีแล้ว จึงเป็นการไม่เหมาะที่จะทำการแห่แหน

              ทว่า เมื่อถึงวันที่ ๘ ตุลาคม บรรดานิสิต นิสิตา นักเรียนเตรียมจุฬาฯ ก็รวมตัวกันที่บริเวณมหาวิทยาลัยแต่เช้า พากันเดินขบวน ชูป้ายที่ช่วยกันทำช่วยกันเขียนด้วยถ้อยคำต่างๆ คน ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ คน เดินกันไปตะโกนเสียงลั่นสนั่นไปตามท้องถนน เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ผู้คนจึงพากันตื่นเต้น และพลอยถูกปลุกให้เกิดความรู้สึกรักชาติขึ้นมาด้วย

             เดินกันไปร้องตะโกนกันไปตามถนนจนถึงกระทรวงกลาโหม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ไปกล่าวปราศรัยท่ามกลางเสียงโห่ร้อง แล้วจึงพากันเดินขบวนกลับ ตอนบ่ายประมาณ ๑๕.๐๐ น. วันนั้น นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ก็รวมตัวกันที่มหาวิทยาลัยบ้าง แล้วเดินขบวนไปที่กระทรวงกลาโหม ครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้มาปราศรัยเช่นกัน และได้นำนักศึกษา กล่าวคำปฏิญาณตนหน้ากระทรวงกลาโหม หันหน้าไปยังวัดพระแก้ว

               ตั้งแต่วันที่ ๘ เป็นต้นมา ก็มีการเดินขบวนกันคึกคักทั่วพระนครแล้วลุกลามออกไปตามต่างจังหวัด พากันเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนกันอย่างครึกโครม แต่การเดินขบวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือการเดินขบวนของประชาชนหลายหมื่นคน ซึ่งมีทั้งองค์การต่างๆ และประชาชน ซึ่งมาชุมนุมกัน ณ ท้องสนามหลวง แล้วออกเดินถือป้ายแห่แหนไปทั่วพระนคร

              เวลานั้นผู้เล่ายังเด็ก ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกไปข้างนอก แต่ผู้คนในบ้านนั้นหลายคนออกไปดูเขาบ้าง บางคนที่เป็นเด็กชายคะนองใกล้หนุ่มก็อาจพลอยไปสมทบเดินกับเขา โดยเฉพาะเด็กชายวัยรุ่นซึ่งมีหน้าที่รับใช้พ่อ ลุง อา กลับมาทำท่าเดินถือป้ายให้พวกทางหลังบ้านดู ปากก็ร้องว่า

“พูดดีๆไม่ชอบต้องปลอบด้วยปืน”
ประโยคนี้ดูจะ ‘ฮิต’ ที่สุดขณะนั้น
ร้องถามว่า “ไปไหน”
แล้วตอบเอง “ไปปากเซ”
ถามอีก “ไปทำไม”
ตอบเอง “ไปรบกับมัน”
ย่าเดินออกมาจากทางหน้าเรือนพอดี ร้องถามว่า
“ปากเซอยู่ไหน เอ็งรู้กะเขาเรอะ”
เขาทรุดลงนั่งคุกเข่า หัวเราะแหะๆ
“ไม่ทราบครับผม”
ย่าด่าคำหนึ่งด้วยความเคยปากอย่างคนแก่สมัยโบราณ แต่ก็อดหัวร่อไม่ได้

           ขบวนประชาชนหลายหมื่นคนนั้น มีอยู่คณะหนึ่งใช้ชื่อว่า ‘คณะเลือดไทย’ เขาแจกใบปลิวด้วยมีข้อความปลุกใจ และขอให้รัฐบาลดำเนินการเรียกร้องเอาดินแดนคืนมา อ่านให้ย่าฟังแล้วแต่จำไม่ได้เลย จำได้แต่เนื้อเพลงปลุกใจที่หลวงวิจิตรวาทการเป็นผู้แต่ง ที่ว่า
“เลือดไทยไหลริน ทาแผ่นดินไว้ชื่อ
ให้โลกได้รู้ร่ำลือ ว่าเลือดไทยกล้าหาญ”
เมื่อเด็กๆเคยร้องได้จบ ส่วนมากร้องได้จบเกือบทุกเพลง เช่นเพลง ‘ข้ามโขง’

          ต่อมายังไม่ทันได้ดินแดนคืน ก็เกิดรบกันขึ้นตามชายเขตแดนก่อน แล้วเลยเป็นสงครามใหญ่เหมือนกัน ที่เราเรียกว่าสงครามอินโดจีน รัฐบาลส่งกองทัพไปรบ จำได้แม่นยำ ๒ กองทัพ ที่จำได้เพราะมีเพลงปลุกใจออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ซึ่งเราเด็กๆพากันร้องตาม มาถึงตอนนี้เหลือจำได้เพียงกระท่อนกระแท่น

“ทัพพรหมโยธี ไชโย (ชูกำปั้น) ยกเข้าโจมตี พวกไพรี แตกหนีพ่ายไป ไชโย...ไชโย” ตอนหนึ่ง
ส่วนอีกตอนหนึ่งจำได้ยาวหน่อย
“กองทัพเกรียงศักดิ์ ยกเข้าหาญหัก ไชโย (ชูกำปั้น) ได้จำปาศักดิ์ มาสมัครสมาน
พี่น้องเลือดไทย ล้วนใจชื่นบาน เทอดเกียรติทหารหาญ ของไทยยิ่งเอย”

ขอขอบคุณขอมูลจาก หนังสือสกุลไทย
 
ภาพและที่มา  www.bloggang.com


เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 หมายถึง, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 คือ, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 ความหมาย, เดินขบวนครั้งแรก พุทธศักราช 2483 คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu