ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วัน ปรีดี พนมยงค์, วัน ปรีดี พนมยงค์ หมายถึง, วัน ปรีดี พนมยงค์ คือ, วัน ปรีดี พนมยงค์ ความหมาย, วัน ปรีดี พนมยงค์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วัน ปรีดี พนมยงค์

          วันที่ 11 พฤษภาคม เป็น วัน ปรีดี พนมยงค์ เพื่อรำลึกถึง วันที่ 11 พฤษภาคม 2443 วันเกิดของ นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูญธรรม) รัฐบุรุษอาวุโสคนแรก

          ปรีดี พนมยงค์ ถือเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่ง ที่เป็นผู้ก่อร่างระบอบสังคมและการเมืองแบบใหม่ในประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้นำสายพลเรือนของ คณะราษฎร และเป็นผู้เตรียมการทั้งหมดในด้านการบริหารระบอบใหม่ ใน การปฏิวัติ 2475

          นอกจากนี้ ยังเป็นบุคคลสำคัญ ในการวางรากฐานระบอบการคลังสมัยใหม่ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเจรจากับต่างประเทศให้ประเทศสยามได้เอกราชสมบูรณ์ และต่อมาเมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นเข้ายึดประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ ก็ยังเป็นผู้นำ ขบวนการเสรีไทย ในการต่อต้านญี่ปุ่นและมีส่วนทำให้ประเทศไทยพ้นจากการยึดครองโดยตรงของฝ่ายพันธมิตร



ชีวประวัตินายปรีดี พนมยงค์

           นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2443 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเสียง กับ นางลูกจันทร์ พนมยงค์     ในปี พ.ศ.2460 ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม จนกระทั่งศึกษาจบวิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิตเมื่ออายุ 19 ปี หลังจากนั้นในปีเดียวกันได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงยุติธรรมไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส จนจบปริญญารัฐ (Doctorat d"etat) เป็นดุษฎีบัณฑิตกฎหมายฝ่ายนิติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ปริญญาแห่งรัฐ "ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย" (Docteur en droit)

           นายปรีดีได้เข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรมเมื่อ พ.ศ.2470 ในตำแหน่งผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายด้วย    นายปรีดีได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐ์มนูธรรม    จากนั้นนายปรีดีได้สมรสกับ นางสาวพูนศุข   ณ ป้อมเพชร์ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2471 มีบุตรธิดารวม 6 คน 

           เมื่อ คณะราษฎร ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นายปรีดีเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือน โดยเป็นผู้ร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญๆ หลายตำแหน่ง อาทิ เลขาธิการคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

           นายปรีดีมีผลงานอันเป็นคุณูปการใหญ่หลวงต่อชาติบ้านเมือง อาทิ ได้เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกของชาติ ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ได้เสนอพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 ได้เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่มหาประเทศทำไว้กับประเทศไทยจนสำเร็จ ทำให้ประเทศไทยมีเอกราชอธิปไตยสมบูรณ์ ทั้งในด้านการเมือง และเศรษฐกิจ ได้ดำเนินการปฏิรูประบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม ได้จัดทำประมวลรัษฎากรขึ้นเป็นฉบับแรกของประเทศ ได้ก่อตั้งธนาคารกลางแห่งชาติขึ้น ต่อมาก็คือธนาคารแห่งประเทศไทย ฯลฯ

           ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 สภาผู้แทนราษฎรลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดีได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น และกอบกู้เอกราชของชาติให้กลับคืนมา เมื่อพ้นจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายปรีดีเป็น "รัฐบุรุษอาวุโส" คนแรก

           นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 3 มิถุนายน พ.ศ.2489 ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน - 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 และครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน - 20 สิงหาคม พ.ศ.2489 ต่อมามีคณะรัฐประหารได้ทำการยึดอำนาจรัฐ ใช้รถถังบุกทำเนียบท่าช้างอันเป็นที่พำนักของนายปรีดี นายปรีดีจึงต้องลี้ภัยไปสิงคโปร์ ต่อมาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2492 นายปรีดีได้นำกำลังทหารเรือส่วนหนึ่งกับชาวไทยที่สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย ต่อต้านการยึดอำนาจของคณะรัฐประหาร    แต่ไม่ประสบความสำเร็จ นายปรีดีจึงต้องลี้ภัยการเมืองไปต่างประเทศ

           ระหว่าง พ.ศ.2492 - 2513 นายปรีดีได้พำนักในสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นย้ายไปพำนักในประเทศฝรั่งเศส ตราบจน สิ้นอายุขัย เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2526 สิริรวมอายุได้ 82 ปี 11 เดือน 22 วัน ด้วยผลงานและเกียรติคุณความดีของนายปรีดี พนมยงค์ จึงมีการจัดงานฉลองครบรอบ 100 ปี ชาตกาลให้แก่นายปรีดี พนมยงค์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป ทั้งนี้องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ บรรจุใน ปฏิทินบุคคลสำคัญของโลกในปี ค.ศ.2000-2001

    



งานเขียนของนายปรีดี พนมยงค์

บรรณานุกรมงานเขียนของนายปรีดี พนมยงค์  เรียงตามหมวด

๑.การเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ๒๔๗๕
 
ปรีดี พนมยงค์      เค้าโครงการเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์  และพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  คัดจาก หนังสือ  โลกพระศรีอาริย์ของนายปรีดี พนมยงค์  โดย ฟี.ฟิสติเอ
(แปลจาก  Sous-Development et Utopia au Siam)  แปลโดย ไมตรี  เด่นอุดม 
(กรุงเทพ. กราฟฟิคอาร์ต, ๒๕๑๖) ๑๓๗ น.

ปรีดี พนมยงค์       “บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร  และระบบประชาธิปไตย”  จากหนังสือ  บันทึกปฏิวัติไทย  รวบรวมโดย  วิชัย  บำรุงฤทธิ์ (กรุงเทพ. เจริญวิทย์การพิมพ์, ๒๕๑๗) ๕๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์  เรื่อง “คณะราษฎรกับการอภิวัฒน์ประชาธิปไตย ๒๔ มิถุนายน”  เอกสารงานสัมมนา  “กึ่งศตวรรษประชาธิปไตย”  ๒๔  มิถุนายน  ๒๕๒๕,  ๑๘ น.

ปรีดี พนมยงค์    สัมภาษณ์พิเศษในโอกาสครบรอบ  ๘๔ ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน ๒๕๒๓
ที่เมืองอองโตนี ชานกรุงปารีส โดย ผู้แทนสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(กรุงเทพ. เกษมการพิมพ์, ๒๕๒๓) ๓๐ น.

๒.สงครามโลกครั้งที่สองและขบวนการเสรีไทย

 
ปรีดี พนมยงค์   ความเป็นไปบางประการในคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในหนังสือ  บางเรื่องเกี่ยวกับพระบรมวงศานุวงศ์
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่  ๒ 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๕)  ๗๑ น.

ปรีดี พนมยงค์    ระลึกถึงคุณเฉียบ  อัมพุนันท์ 
(กรุงเทพ.  พิมพ์ในงานศพคุณเฉียบ อัมพุนันท์  ๒  มิถุนายน  ๒๕๑๗)  ๒๙  น.

ปรีดี พนมยงค์   คำสัมภาษณ์พิเศษของนายปรีดี พนมยงค์  ให้แก่สำนักข่าวเอ.เอฟ.พี. ที่กรุงปารีส เมื่อ  ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๑๔ ในหนังสือ  คำปราศัยสุนทรพจน์บางเรื่องเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทย 
(กรุงเทพ. พิมพ์เป็นงานอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ท. อู๊ด  นิตยสุทธิ,  ๒๕๑๗)

ปรีดี พนมยงค์    หลักฐานสำคัญบางประการเกี่ยวกับสถานะของประเทศไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภาค ๑
(กรุงเทพ. อรุณการพิมพ์ ๒๕๒๑) ๒๙ น.

ปรีดี พนมยงค์    จดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ถึงพระพิศาลสุขุมวิทเรื่องหนังสือจดหมายเหตุของเสรีไทยเกี่ยวกับปฏิบัติการในแคนดี นิวเดลฮีและสหรัฐอเมริกากับภาคผนวกเรื่องเสรีไทยอีกประการ 
(กรุงเทพ. อมรินทร์การพิมพ์, ๒๕๒๕) ๑๔๔ น.

ปรีดี พนมยงค์    “สุนทรพจน์ของนายปรีดี พนมยงค์ แสดงในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อกรกฎาคม ๒๔๘๙”  ในคำปราศัยสุนทรพจน์  บางเรื่องเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทย 
(กรุงเทพ.  พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ท.อู๊ด  นิตยสุทธิ,  ๒๕๑๗)  ๓ น.

ปรีดี พนมยงค์    จดหมายจากปารีสโต้นักบิดเบือนประวัติศาสตร์  ลงวันที่ ๖  กรกฎาคม  ๒๕๒๔  นิตยสารวิเคราะห์  ปีที่  ๑ 
ฉบับที่  ๕ (๑๙-๒๕ กรกฎาคม  ๒๕๒๔) ๖ น.

ปรีดี พนมยงค์    จดหมายจากปารีสถึงผู้จัดทำมหิดลสาร  ใน  คำปราศัยสุนทรพจน์บางเรื่องเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทย 
(กรุงเทพ. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร.ท.อู๊ด  นิตยสุทธิ,  ๒๕๑๗)  ๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   “คำปราศัยของนายปรีดี พนมยงค์ต่อธรรมศาสตร์บัณฑิต  เนติบัณฑิต  นักสันติภาพที่ได้มาเยี่ยม  ณ บ้านพักชานกรุงปารีส  ๒๘  กรกฎาคม  ๒๕๑๔”  ในหนังสือ  คำปราศัย  สุนทรพจน์  บางเรื่องเกี่ยวกับขบวนการเสรีไทย 
(กรุงเทพ.  พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  ร.ท.อู๊ด  นิตยสุทธิ,  ๒๕๑๗)  ๓ น.

๓.ข้อคิดและข้อเสนอเกี่ยวกับปัญหาสังคมไทย

๓.๑เรื่องรัฐธรรมนูญ
           
ปรีดี พนมยงค์   คำแถลงการณ์ของนายปรีดี พนมยงค์และคำเตือนผู้รักชาติ  (กรุงเทพ. ประจักษ์การพิมพ์,  ๒๕๑๖)  ๓๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญเบื้องต้นกับการร่างรัฐธรรมนูญ  (กรุงเทพ.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๗)  ๔๙ น.

ปรีดี พนมยงค์   วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ  ๒๕๑๗  (กรุงเทพ.  คณะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์,  ๒๕๑๗)  ๑๓๙ น.

๓.๒เรื่องระบบประชาธิปไตย
 
ปรีดี พนมยงค์   “จะมีทางได้ประชาธิปไตยโดยสันติวิธีหรือไม่” 
(ปาฐกถาในงานประชุมประจำปีของนักเรียนไทยในสหพันธรัฐเยอรมนี  ๓๐ สิงหาคม  ๒๕๑๖)
 วารสาร อมธ. ฉบับวันที่  ๑๐ ธันวาคม, รวมปาฐกถาบทความและข้อสังเกตของนายปรีดีพนมยงค์ 
(กรุงเทพ.  เจริญวิทย์การพิมพ์,  ๒๕๑๖)

ปรีดี พนมยงค์   “จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ของวีรชน ๑๔ ตุลาคม 
(กล่าวในงานสังสรรค์ชาวธรรมศาสตร์ในอังกฤษประจำปี ๒๕๑๖)
วารสาร อมธ. ฉบับวันที่  ๑๐ ธันวาคม. รวมปาฐกถา บทความและข้อสังเกตของนายปรีดี พนมยงค์ 
(กรุงเทพ.  เจริญวิทย์การพิมพ์,  ๒๕๑๖)

ปรีดี พนมยงค์   ระบบสังคมนิยมและระบบคอมมิวนิสต์จะเหมาะสมแก่เมืองไทยหรือไม่ 
(คำปราศัยในที่ประชุมสามัคคีสมาคมนักเรียนไทยในอังกฤษ  สกอตแลนด์,  ๒๔,  ๒๖,  กรกฎาคม  ๒๕๑๘) 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์ฆเนศ,  ๒๕๑๘)  ๕๕ น.

ปรีดี พนมยงค์    ท่านปรีดีชี้แนวทางประชาธิปไตย 
(กรุงเทพ.  ประจักษ์การพิมพ์,  ๒๕๑๗)  ๓๐ น.

ปรีดี พนมยงค์   บันทึกข้อสังเกตและตอบคำถามนิสิตนักศึกษาที่ประสงค์เรียบเรียงวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับรัฐบาลบางสมัยของประเทศไทย 
ลงวันที่  ๑๘  มิถุนายน  ๒๕๑๙ 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ๒๕๑๙)  ๔๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   เราจะต่อต้านเผด็จการได้อย่างไร  (อุทิศแด่ผู้รักชาติ  รักประชาธิปไตยทุกคน,  เอกสารคัดสำเนา  (ม.ป.ท.,  ม.ป.ป.)  ๓๒ น.

๓.๓เรื่องอื่น ๆ
 
ปรีดี พนมยงค์   ความเป็นมาของศัพท์ไทย ปฏิวัติ รัฐประหาร วิวัฒน์ อภิวัฒน์
(กรุงเทพ. สถาบันสยามเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ๒๕๑๗) ๓๖ น.

ปรีดี พนมยงค์   อนาคตของประเทศไทยควรดำเนินไปในรูปแบบใด  ปาฐกถาแสดงในการชุมนุมสนทนาที่สามัคคีสมาคม-สมาคมนักเรียนไทยในอังกฤษ  เสาร์ที่  ๒๘ กรกฎาคม  ๒๕๑๖ 
(กรุงเทพ. โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๖)  ๒๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   อนาคตของเมืองไทยกับสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน  ปาฐกถาในงานชุมนุมนักเรียนไทย 
ที่เมืองบัวติเอร์  ฝรั่งเศส  เมื่อวันที่  ๒๔ มิถุนายน  ๒๕๑๘ 
(กรุงเทพ.  สถาบันสยามเพื่อการศึกษา  วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม,  ๒๕๑๘)  ๔๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเอกภาพของชาติและประชาธิปไตย”  สังคมศาสตร์ปริทัศน์  ปีที่  ๑๑  ฉบับที่  ๘ (สิงหาคม  ๒๕๑๖)  ๖ น.

ปรีดี พนมยงค์   ความเป็นมาของชื่อ “ประเทศสยาม” กับ “ประเทศไทย” 
(เรียบเรียงจากเค้าความบางตอนในต้นฉบับหนังสือเรื่อง  Mavia Movement และปัญหาสงครามในยุคปรมาณู)
(กรุงเทพ. ประจักษ์การพิมพ์, ๒๕๑๗) ๓๖ น.

ปรีดี พนมยงค์   ความเป็นเอกภาพกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ 
(กรุงเทพ.  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย,  ๒๕๑๗)

ปรีดี พนมยงค์   “คำนำ”  หนังสือ เศรษฐศาสตร์  ของ  ทองเปลว  ชลภูมิ 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง  ๒๔๘๗)  ๔ น.

ปรีดี พนมยงค์   “คำอุทิศของนายปรีดี พนมยงค์ แด่ พลตำรวจตรีพัฒน์  นิลวัฒนานนท์”  ในหนังสือ  คำอธิบายกฎหมายปกครอง  (พระนคร.  พิมพ์ในโอกาสพิธีพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจตรีพัฒน์  นิลวัฒนานนท์,  ๒๕๑๓) ๓ น.

ปรีดี พนมยงค์   “ชาติคงมีอยู่”  (บทความที่เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร “เพื่อนไทย” 
ของสมาคมนักเขียนไทยในสหพันธรัฐเยอรมนี  ฉบับกันยายน  ๒๕๑๘) 
(กรุงเทพ.  มงคลการพิมพ์,  ๒๕๑๖)  ๒๐ น.

ปรีดี พนมยงค์ 
 นโยบายของรัฐบาลปรีดี พนมยงค์  (แถลงต่อสภาฯ  เมื่อวันที่  ๒๕ มีนาคม  ๒๔๘๙  และ  ๑๓ มิถุนายน  ๒๔๘๙)  ๖  น.

ปรีดี พนมยงค์   ปัญหาสงครามในยุคปรมาณู  (นิวเคลียร์) 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๗)

ปรีดี พนมยงค์   “ผู้เกินกว่าราชา”  (Ultra  Royalist)  ในหนังสือ  ลานโพธิ์ 
(ลอนดอน. หนังสือชุมนุมชาวธรรมศาสตร์ในสหราชอาณาจักร,  ๒๕๑๗)  ๑๗ น.

ปรีดี พนมยงค์    รัฐบุรุษอาวุโสชี้ทางรอดของไทย 
(กรุงเทพ.  สายส่งศึกษิต,  ๒๕๑๔)  ๑๓๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   สำเนาจดหมายของนายปรีดี พนมยงค์ตอบบรรณาธิการสามัคคีสาร  (วารสารของนักเรียนไทยในอังกฤษ)
เรื่องขอทราบความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์  ๑๔-๑๕  ตุลาคม  ๒๕๑๖
และ  “สังคมสัญญา”  วันศักดิ์สิทธิ์แห่งรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๖)  ๑๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   อนาคตของเมืองไทยในสายตาของประเทศเพื่อนบ้าน 
(กรุงเทพ.  สถาบันสยามเพื่อการศึกษา  วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม,  ๒๕๑๘)

ปรีดี พนมยงค์   “คำนำ”  (อุทิศแก่ท่านขำ  ณ ป้อมเพชร) ของหนังสือ คำอธิบายอาชญาวิทยา  (ตอนที่ว่าด้วยทัณฑวิทยาทั่วไป)
(พระนคร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง,  ๒๔๘๗) ๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   คำขวัญของนายปรีดี พนมยงค์ให้แก่บัณฑิต ๒๓ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
(กรุงเทพ. ม.ป.ป., ๒๕๒๔)  ๑๗ น.

ปรีดี พนมยงค์   มหาราชและรัตนโกสินทร์  (เอกสารโรเนียว)  (ม.ป.ท.,  ม.ป.ป. ๒๕๒๕)  ๙ น.

ปรีดี พนมยงค์   ที่เขาเรียกว่า “ลัทธิแก้”  นั้นคืออย่างไร  และความเป็นมาของลัทธิ  “ริวิชันนิสม์” 
(กรุงเทพ. สมาคมเศรษฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  ๒๕๑๗)  ๗๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   ท่านปรีดี  ให้สัมภาษณ์คลอเดีย  รอสส์ และจดหมายนักเรียนไทยในอังกฤษ 
แปลตามต้นฉบับภาษาอังกฤษบางกอกโพสต์วันที่  ๑๓  มกราคม  ๒๕๑๗ 
(กรุงเทพ.  ประจักษ์การพิมพ์,  ๒๕๑๗)  ๓๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   สัมภาษณ์ท่านปรีดีฯ โดย เทห์  จงคดีกิจ  (บรรณาธิการใหญ่ของบางกอกโพสต์)  และประทีป  นครชัย 
(ส.น.ท.ป.สาร) หรือคำสัมภาษณ์ท่านปรีดีเกี่ยวกับปัญหาของประเทศไทย,  สัมภาษณ์ระหว่างวันที่  ๙-๑๓  พฤษภาคม  ๒๕๑๗  (กรุงเทพ.  โรงพิมพ์สุวรรณภูมิ,  ๒๕๑๗)  ๒๔ น.

๔.ปรัชญา
 
ปรีดี พนมยงค์   ความเป็นอนิจจังของสังคมไทย 
(พระนคร. ปาล พนมยงค์  จัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเพ็ง  ชัยวิชิตวิศิษฎ์ธรรมธาดา, ตุลาคม  ๒๕๐๐)  ๑๑๐ น.

ปรีดี พนมยงค์   “ปรัชญาคืออะไร”  คัดจากหนังสือ  ปรัชญาแห่งสังคม 
(กรุงเทพ.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๓)  ๔๑ น.

๕.กฎหมาย
 
ปรีดี พนมยงค์   คำอธิบายกฎหมายปกครอง 
(พระนคร. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลตำรวจตรีพัฒน์  นิลวัฒนานนท์  ๒๔ มิถุนายน,  ๒๕๑๓)  ๑๙๙ น.

ปรีดี พนมยงค์   คำบรรยายกฎหมายปกครอง 
(บรรยายร่วมกับพระสารสาส์นประพันธ์ที่โรงเรียนกฎหมาย  กระทรวงยุติธรรม) 
(ม.ป.ท.,  ม.ป.ป., ๒๔๗๕)  ๔๔ น.

ปรีดี พนมยงค์   คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทและสมาคม 
(พระนคร.  โรงพิมพ์อักษรนิติ,  ๒๔๗๙)  ๒๐๔ น.

ปรีดี พนมยงค์   คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศและแผนกคดีบุคโคล 
(พระนคร. โรงพิมพ์อักษรนิติ,  ๒๔๗๙)  ๒๕๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายปกครอง  (ข้อความทั่วไปในวิชากฎหมายปกครอง)
(พระนคร.  พิมพ์แจกในงานพระกฐินพระราชทานแก่จังหวัดพระนคร ณ วัดสังเวชวิศยาราม,  ๒๔๗๙) ๒๕ น.

ปรีดี พนมยงค์   ปาฐกถาเรื่องพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม  พ.ศ.  ๒๔๗๖ 
(พระนคร.  พิมพ์แจกในงานพระกฐินพระราชทานแก่สภาจังหวัดพระนคร ณ วัดสังเวชวิศยาราม,  ๒๔๗๙)  ๔๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   “การเรียนกฎหมายในประเทศฝรั่งเศสโดยย่อ”  บทบัณฑิตย์ เล่ม ๔ ตอนที่  ๑๑ (มิถุนายน ๒๔๖๙)  ๑๘ น.

ปรีดี พนมยงค์   “คดีปกครองในประเทศฝรั่งเศส” บทบัณฑิตย์ เล่ม ๖ ตอนที่ ๓(กรกฎาคม ๒๔๗๓) ๖ น.

ปรีดี พนมยงค์   “เกร็ดประมวลกฎหมาย เรื่อง พระเจ้านโบเลออง (นโปเลียน) กับประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส”  บทบัณฑิตย์ เล่ม ๕ ตอนที่ ๙ (พฤศจิกายน,  ๒๔๗๑)  ๑๒ น.

ปรีดี พนมยงค์   คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  บรรพ ๒ 
(พระนคร.  โรงพิมพ์นิติศาสตร์,  ๒๔๗๗)  ๒๗๙ น.

๖.พระเจ้าช้างเผือก  (บทภาพยนตร์)
 
Pridi Banomyong    The King of the White Elephant. (Bangkok :- Thammasat  University, 2484) 154 p.


๗.สำเนาคำฟ้อง

 ปรีดี พนมยงค์   สำเนาคำฟ้องเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน และหมิ่นประมาทโดยใส่ความทำให้โจทก์เสียหาย 
ความแพ่งระหว่างนายปรีดี พนมยงค์  โดยนายวิชัย  กันตามาระ  ผู้รับมอบอำนาจโจทก์กับบริษัทสยามรัฐ จำกัด
จำเลยที่ ๑ และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และคนอื่น ๆ รวบรวมโดยนายเปรื่อง  ศิริภัทธ์ 
(พระนคร.  โรงพิมพ์นิติเวชช์,  ๒๕๑๔)  ๔๗ น.

ปรีดี พนมยงค์   สำเนาคำฟ้องนายรอง  ศยามานนท์

ปรีดี พนมยงค์   สำเนาคำฟ้องนายประยูร ภมรมนตรี

ปรีดี พนมยงค์   สำเนาคำฟ้องนายชาลี  เอี่ยมกระสินธ์

(ทั้งหมดรวบรวมโดย  โครงการปรีดี พนมยงค์กับสังคมไทย)

ข้อมูลจาก www.pridiinstitute.com
 



วัน ปรีดี พนมยงค์, วัน ปรีดี พนมยงค์ หมายถึง, วัน ปรีดี พนมยงค์ คือ, วัน ปรีดี พนมยงค์ ความหมาย, วัน ปรีดี พนมยงค์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu