ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ปลาปอมปาดัว, ปลาปอมปาดัว หมายถึง, ปลาปอมปาดัว คือ, ปลาปอมปาดัว ความหมาย, ปลาปอมปาดัว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ปลาปอมปาดัว

 

ปลาปอมปาดัว

 

ข้อมูลทั่วไปของปลาปอมปาดัว

 

                           ปลาปอมปาดัวเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ได้ถูกนำมาเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ จนในปัจจุบันมีปลาปอมปาดัวนับสิบๆสายพันธุ์ มีความสวยงามและสีสันแตกต่างกันออกไปและสวยกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก สำหรับปลาปอมปาดัวพันธุ์ดั้งเดิมตามหลักสากลได้แบ่งออกเป็น

 

1. ปอมปาดัว Symphysodon aequifasciata เป็นปลาปอมปาดัวที่มีลักษณะเด่นคือ จะมีเส้นแถบสีดำจางๆพาดขวางบริเวณส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง เป็นแนวตั้งรวมทั้งหมด 9 แถบด้วยกัน ซึ่งในปลาชนิดนี้แบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ได้แก่

 

                          1.1. ปอมปาดัว Green discus หรือ Symphysodon aequifasciata aequifasciata (Pellegrin) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณตอนกลางของลุ่มน้ำอเมซอน สำหรับลักษณะของปลาพันธุ์นี้แล้วจะมีพื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเชียว ลวดลายบนลำตัวมีสีเขียวเหลือบฟ้า แต่โดยปรกติของปลาพันธุ์นี้ที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วจะไม่ค่อยมีลวดลายบนลำตัวมากนัก และลายก็มักไม่ค่อยคมชัด จะมีลวดลายเฉพาะที่บนหัว ครีบหลัง และครีบทวารเป็นส่วนใหญ่

 

                          1.2. ปอมปาดัว Brown discus หรือ Symphysodon aequifasciata axdrodi (Schultz) หรือที่นักเลี้ยงปลาในเมืองไทยนิยมเรียกว่า ปลาปอมปาดัว 5 สี นั่นเอง เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณตอนใต้ของลุ่มน้ำอเมซอน ซึ่งปลาพันธุ์นี้จัดได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดในบรรดาปลาปอมปาดัวทั้งหมด คือเมื่อโตเต็มที่บางตัวจะมีขนาดใหญ่ถึง 8 นิ้ว โดยลักษณะทั่วไปของปลาพันธุ์นี้แล้วจะมีลวดลายสีเขียวเฉพาะบริเวณช่วงหัว ครีบหลังและครีบทวาร และมีลายเพียงเล็กน้อย ขอบครีบหลังและครีบทวารสีแดงจัดกว่าชนิดอื่นๆ ส่วนบริเวณลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลและไม่มีลวดลาย เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับปลาปอมปาดัวชนิดอื่นๆ

 

              

                           1.3. ปอมปาดัว Blue discus หรือ Symphysodon aequifasciata haraldi (Schultz) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณตอนเหนือของลุ่มน้ำอเมซอน เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาปอมปาดัวชนิดแรก ปลาพันธุ์นี้จะมีลวดลายสีฟ้าอมเขียว ทั้งเป็นปลาที่มีลวดลายประตามลำตัวมากกว่าปลาปอมปาดัว 2 พันธุ์แรก

 

2. ปอมปาดัว Symphysodon discus ปลาชนิดนี้จะมีเส้นแถบสีดำพาดขวางบริเวณลำตัวอยู่ 9 แถบเช่นเดียวกัน แต่จะมีลักษณะที่พิเศษกว่าชนิดแรก คือจะมีแถบสีดำอยู่ 3 แถบเป็นแถบขนาดใหญ่และสีดำเข้มอยู่ที่บริเวณหัว กลางลำตัวและโคนหาง ซึ่งปลาชนิดนี้จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ได้แก่

                           2.1. ปอมปาดัว Hecket or Red discus หรือ Symphysodon discus discus (Hecket) ในเมืองไทยนิยมเรียกว่า "ปอมแดง" ปลาพันธุ์นี้เป็นปลาที่สำรวจพบหลังปลาปอมปาดัวประเภทแรกและเป็นปลาที่พบน้อย เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ลุ่มน้ำอเมซอน Rionegro และ Rio Trombetas อยู่ทางด้านเหนือของลุ่มน้ำอเมซอน ปลาพันธุ์นี้มีลวดลายตามตัวเหมีอนปลาปอมปาดัว 7 สี จัดเป็นปลาที่เพาะพันธุ์ยากที่สุดและราคาแพงกว่าปลาปอมปาดัวชนิดอื่นๆ

 

                            2.2. ปอมปาดัว Pineapple discus หรือ Symphysodon discus willischwartzi (Burgess) เป็นปลาพันธุ์ที่เพิ่งค้นพบล่าสุดและพบน้อยมาก พบเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มแม่น้ำ Rio abacaxis ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำอเมซอน ลักษณะเด่นขอองปลาชนิดนี้ก็คือ มีแถบสีดำ 3 แถบใหญ่พาดบริเวณหัว ลำตัว และโคนหางเช่นเดียวกับ Hecket แต่สีสันเข้มข้นกว่าโดยเฉพาะลวดลายบริเวณส่วนหัวจะเป็นสีน้ำเงินเข้ม ส่วนลวดลายบริเวณลำตัวจะเป็นสีน้ำเงินอมม่วง จัดว่าเป็นปลาที่มีราคาแพงเช่นเดียวกัน งานเสริมทำออนไลด์ผ่าน net 100% รายได้ 5 หมื่น บ/ด ขั้นต่ำ ขอย้ำว่าขั้นต่ำ สมัครที่ www.abc.321.cn 

 

                           นอกจากชนิดพันธุ์ปลาตามหลักสากลดังที่ได้กล่าวมานี้แล้ว ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ต่างก็พยายามศึกษา และมีการนำสายพันธุ์ปลาปอมปาดัวชนิดต่างๆ มาทำการผสมข้ามพันธุ์กัน เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลวดลายแปลกๆใหม่ๆ ชนิดแยกทางไม่ค่อยออกว่าบรรพบุรุษจากปลาปอมชนิดใดแน่ โดยลูกปลาพันธุ์ใหม่ส่วนใหญ่จะมีลวดลายสีสันสวยงามมาก และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ดังเช่น ปอมปาดัว 7 สี ต้นบรรพบุรุษของปลาพันธุ์นี้คือ Green discus และ Blue discus โดยแต่เดิมที่เพาะกันจะเป็นปลาลายใหญ่ที่มีลวดลายคมชัดทั้งตัวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในระยะหลังจึงหันมานิยมปลาลายกลางและลายเล็กแทน ทั้งนี้ก็มีสาเหตุเพราะว่าปลาลายกลางและลายเล็กเวลาที่นำไปเลี้ยงย้อมสี เปอร์เซ็นต์การเกิดลวดลายบนตัวปลาจะดีกว่า โดยเฉพาะปลาลายใหญ่ที่ลวดลายไม่คมชัดหรือลวดลายไม่เต็ม อีกทั้งมักจะประสบปัญหาลายแตกออกจนเลอะ     ภาษานักเลี้ยงปลาเรียกว่า "เบรอ"นั่นเอง

 

                           นอกจากปลายลายกลางและลายเล็กที่เป็นที่นิยมแล้ว ก็ยังมีการคัดสายพันธุ์ปลาที่มีลวดลายสวยงามอื่นๆซึ่งมีชื่อเรียกกันในหมู่นักเพาะเลี้ยงปลาในบ้านเรา เช่น ปอมลายหยัก หรือ ลายหยิก โดยจะมีลวดลายจากหัวจรดโคนหางหักเหไปมา ปอมลายข้าวตอก หรือ ลายจุด โดยจะมีลักษณะลวดลายเป็นเม็ดๆ หรือเป็นจุดๆ สวยงามและแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง นอกจากนี้ก็ยังมีอีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งจัดเป็นปลาผ่าเหล่าออกมาและไม่ค่อยพบบ่อยนัก โดยจะมีลักษณะลวดลายบนลำตัวเป็นเส้นเล็กมากและจำนวนหลายเส้นมีมากกว่าปลาปอมทั่วไปแต่ลวดลายไม่ค่อยคมชัดเท่าใดนัก

 

                           สำหรับในประเทศไทยเราในปัจจุบัน ปลาปอมปาดัว 7 สี จัดว่าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด และส่วนใหญ่ต่างก็เน้นเพาะเลี้ยงปลาปอม 7 สีเป็นหลัก ซึ่งปลาปอมปาดัวร์ 7 สีไทยเรานี้ จัดได้ว่ามีความสวยงามไม่แพ้ต่างประเทศเลย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของสีสันและเนื่องจากในบ้านเรานิยมเลี้ยงด้วยไข่กุ้งซึ่งมี มากมายและราคาไม่แพงจนเกินไป อีกประการหนึ่งก็คือ ลูกปลาชนิดนี้เมื่อเทียบกับลูกปลาปอมปาดัว 5 สี ในขนาดเท่าๆกัน จะมีราคามากกว่ากันเกือบเท่าตัวทีเดียว ทั้งอัตราความต้องการของตลาดก็ยังมีมากว่า ปอม 5 สีอีกด้วย 

 

                           ปอมปาดัวTurquoise ซึ่งบางคนก็เรียกทับศัพท์ว่า เทอร์ค้อยท์ แต่ส่วนใหญ่แล้วนิยมเรียกชื่อของปลาปอมสายพันธุ์นี้ว่า "ปอมบูล หรือ ปอมเยอรมัน" ซึ่งปลาปอมสายพันธุ์นี้เข้าใจว่าชาวเยอรมันเป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นสำเร็จเป็นชาติแรก จัดเป็นปลาสายพันธุ์ใหม่ที่มีสีสันเข้มสดและเป็นเงาแวววาวกว่าเดิม และมีสีสันสวยงามเด่นสะดุดตาไม่แพ้ปลาทะเลเลยทีเดียว มีทั้งชนิดที่มีลายและไม่มีลาย แต่จุดเด่นทั่วๆไปที่สังเกตเห็นได้ชัดซึ่งแตกต่างจากปลาปอมปาดัว 7 สี ก็คือความเงาแวววาวของสีสัน ซึ่งจะดูจะเด่นสะดุดตากว่ากันมาก

                           ปัจจุบันปลาปอมปาดัวสายพันธุ์เยอรมันนี้ ก็ได้รับการผสมคัดพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ จนได้ปลาปอมที่มีลวดลายสีสันแตกต่างกันออกไปมากมาย ซึ่งปลาที่ได้รับการผสมคัดพันธุ์ขึ้นมาใหม่ก็ได้รับการตั้งชื่อแตกต่างกันออกไป และแน่นอนปลาปอมสายพันธุ์ใหม่ๆเหล่านี้ย่อมมีราคาสูงกว่าปลาปอมปาดัวทั่วไป ซึ่งในขณะนี้ปลาปอมสายพันธุ์เหล่านี้ ก็ได้มีเข้ามาเพาะเลี้ยงกันแพร่หลายในเมืองไทยเราแล้ว

 

                           อนึ่ง ปัจจุบันนักเพาะพันธุ์ปลาต่างพยายามสรรหาพันธุ์ปลาใหม่ๆ ที่มีลวดลายสวยงามเพื่อนำมาเพาะพันธุ์โดยหวังว่าจะได้ปลาปอมปาดัวสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีลวดลายแปลกๆ ใหม่ๆ ออกให้ได้มาตามที่ต้องการ ถึงแม้ว่าจะคาดคะเนได้ยาก และจะต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษก็ตามที แต่ก็เชื่อว่าคงไม่เกินความสามารถของพวกเขาไปได้ เราคงจะได้เห็นปลาปอมปาดัวสายพันธุ์ใหม่ๆที่มีลวดลายแปลกๆ และมีสีสันสวยงามประทับใจเป็นแน่

 

ที่มา : https://www.rachaplathong.com



ปลาปอมปลาดัวร์พันธุ์ที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย

 

ปลาปอมปลาดัวร์พันธุ์ที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทย

                           ในประเทศไทยปลาปอมปลาดัวร์ พันธุ์ที่พัฒนาสายพันธุ์โดยคนไทยมีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่มีผู้นิยมเลี้ยงมากที่สุดคือ ปลาปอมฝุ่น (Pigeon Red Discus) ปลาปอมมุกทับทิม (Ruby Pearled Discus) ปอมฝุ่นลายงู(Pigeon Snake) ปอมทับทิมลายงู, ปอมเจ็ดสีลายงู

 

                           ปลาปอมฝุ่นเกิดจากการผ่าเหล่าของปลาปอม 7 สี โดยพ่อแม่เป็นปลาปอมเจ็ดสีพันธุ์แท้ ซึ่งให้ลูกปลามาแล้วหลายรุ่น และบังเอิญมีรุ่นหนึ่งมีลูกปลาที่มีสีแตกต่าง จากตัวอื่นตั้งแต่แรกเกิด และเมื่อปลาโตขึ้นสีและลายยิ่งแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้น เมื่อลูกปลาชุดนี้โตขึ้นได้วัยผสมพันธุ์ จึงได้ลองจับคู่ผสมกับพันธุ์ปอม 7 สี ลูกครอกแรกที่เกิดมาจะมีลักษณะเหมือนปลาปอมฝุ่น ประมาณ 80 % แล้วจึงคัดเลือกเก็บเฉพาะปลาที่มีลักษณะดีตามต้องการไว้เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์

 

                           ปลาปอมมุกทับทิม" (RUBY PEARL DISCUS) ปอมมุกทับทิมเกิดจากการนำปอมฝุ่นรุ่นหลาน (F-2) มาผสมกับปอมสีฟ้า (TO-RQOISE DISCUS) สายพันธุ์ดีของเยอรมันเพื่อให้เกิดปลาในสีใหม่ ลูกปลาที่เกิดจาการผสมของ 2 สายพันธุ์นี้ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนปอมฝุ่น เนื่องจากปอมฝุ่นเป็นลักษณะเด่น (DOMINANT) ได้ข่มสีฟ้าซึ่งเป็นลักษณะด้อย (RECESSIVE) แต่ก็มีลูกปลาเพียงบางตัวได้เกิดสีที่พิเศษขึ้นมาใหม่ โดยสีของลำตัวจะมีความขาวเหมือนไข่มุกเกิดขึ้น และบนพื้นสีขาวนี้ก็ยังคงมีลายเส้นสีแดงที่แดงสดใส และฝุ่นดำบนตัวก็จางลงมาก ซึ่งปอมตัวที่พัฒนาขึ้นมาให้ได้สายพันธุ์ใหม่นี้จะยังคงต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ในการปรับปรุงสายพันธุ์ให้ได้พันธุ์แม้เหมือนกับปอมฝุ่นที่สุด และลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่จะให้เป็นลักษณะหลักของปอมมุกทับทิมก็คือ

 

 

              1.  มีขนาดตัวที่ใหญ่

              2.  มีลำตัวสั้นและสูง (HI-BODY) และลำตัวมาตรฐาน

              3.  ขอบตาเป็นสีแดงถาวร

              4.  สีขาวมุกบนลำตัวสะอาดและเป็นสีหลักของปลา

              5.  ลายแดงบนตัวปลาแดงเข้มชัดเจนและไม่เปรอะ

              6.  ฝุ่นสีดำให้มีน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

 

                           กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ โดยทั่วไปก็คือ ปลาปอมมุกทับทิมก็คือปอมสีขาวลายแดงนั่นเอง เมื่อนำปลาปอมฝุ่นรวมกับปลาปอมสายพันธุ์อื่น ความโดดเด่นของปลาปอมฝุ่นจะสะดุดตาผู้พบเห็นทุกคน แต่เมื่อนำปลาปอมมุกทับทิมไว้รวมด้วยอีกตัวหนึ่ง ความสวยเด่นสะดุดตาของปลาปอมมุกทับทิมจะทำให้จุดเด่นเปลี่ยนไป เมื่อปลาปอมได้รับการยกย่องให้เป็น KING OF AQUARIUM FISH ปลาปอมมุกทับทิมจึงควรจะเป็น EMPEROR OF AQUARIUM FISH


ปลาปอมปาดัว, ปลาปอมปาดัว หมายถึง, ปลาปอมปาดัว คือ, ปลาปอมปาดัว ความหมาย, ปลาปอมปาดัว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu