วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันป่าไม้โลก (World forestry day) เพื่อให้คนทั่วโลก เล็งเห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ของทรัพยากรป่าไม้ ที่มีอยู่จำกัด โดยจะมีกิจกรรม รณรงค์ปลูกป่าในวันนี้ด้วย
ป่าไม้ หมายถึง บริเวณที่มีต้นไม้หลายชนิด ขนาดต่างๆ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น และกว้างใหญ่พอ ที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ของทั้งคนและสัตว์ รวมไปถึงความสัมพันธ์ กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ปัจจุบันนี้ป่าไม้ถูกทำลาย ไปเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ทั้งมนุษย์และสัตว์ เช่น ภัยธรรมชาติ และภาวะเรือนกระจก ดังนั้นจึงมีการกำหนดให้วันที่ 21 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันป่าไม้โลก” เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าไม้ และอนุรักษ์ป่าไม้ให้ดำรงอยู่สืบไป
บนพื้นโลกมีป่าไม้ต่างๆ มากมายกลายชนิด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถแบ่งป่าในโลกออกไปหลายชนิด คือ
1. ป่าศูนย์สูตร (Equatorial Rainforest) เป็นป่าที่มีต้นไม้สูงขึ้นเบียดกันหนาแน่น แสงแดดไม่สามารถส่อง ลงมาถึงพื้นดินได้ เป็นป่าไม้ที่มีใบกว้างไม่ผลัดใบ และจะพบไม้เลื้อย หรือไม้เถาพันหรือเกาะตามกิ่งก้านของต้นไม้เต็มไปหมด
2.ป่าร้อนชื้น (Tropical Rain Forest) มีลักษณะคล้ายป่าศูนย์สูตร จะปรากฎอยู่ด้านหน้าของภูเขา ที่ตั้งรับลมประจำที่พัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง จึงทำให้สภาพเป็นป่าดงดิบ ซึ่งมีต้นไม้น้อยกว่าป่าศูนย์สูตร
3.ป่ามรสุม (Monsoon Forest) เป็นป่าไม้ที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่างๆ บริเวณพื้นดินจะมีไม้เล็กๆ ขึ้น แสงแดดสามารถส่องผ่านทะลุไปถึงพื้นดินได้ ซึ่งมักจะเป็นไม้ที่ผลัดใบ
4.ป่าไม้อบอุ่นไม่ผลัดใบ (Temperate Rainforest) เป็นป่าไม้ในเขตอบอุ่นที่มีใบเขียวตลอดปี มีพันธุ์ไม้น้อยชนิด แต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มขนาดและความสูงของต้นไม้เท่ากับป่าศูนย์สูตร
5.ป่าไม้อบอุ่นผลัดใบ (Temperate Deciduous Forest) เป็นป่าไม้ที่มีใบเขียวชอุ่มในฤดูร้อน แต่จะผลัดใบในฤดูหนาว ต้นไม้มีลำต้นสูงและมีใบขนาดใหญ่
6.ป่าสน (Needle Leaf Forest) เป็นป่า ที่มีต้นไม้ลักษณะลำต้นตรง กิ่งสั้นใบเล็กกลมคล้ายเข็มเย็บผ้า มีต้นไม้ขึ้นเบียดเสียดกันอย่างหนาแน่น และมีใบเขียวชอุ่มตลอดปี บริเวณพื้นดินแทบจะไม่มีต้นไม้เตี้ยๆ ซึ่งต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลสนทั้งสิ้น
7.ป่าไม้เนื้อแข็งไม่ผลัดใบ (Evergreen Hardwood Forest) จะมีเป็นต้นไม้เตี้ยๆ ลำต้นขนาดเล็ก ใบแข็ง และต้นมีกิ่งตั้งแต่ใกล้พื้นดิน จนถึงยอด ลักษณะคล้ายกับป่าไม้ผสมกับป่าละเมาะ (Scrub Forest)
8.ป่าสะวันน่า (Savanna Woodland) จะเป็นป่าไม้ที่มีไม้ขึ้นอยู่ห่างๆ บริเวณช่องว่างระหว่างต้นไม้ใหญ่ๆ จะมีไม้พุ่มขึ้นอย่างหนาแน่น มีสภาพอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง จึงทำให้ต้นไม้ขึ้นไม่หนาแน่น
9.ป่าหนามและป่าพุ่มเขตร้อน (Thornbush and Tropical Scrubs) เป็นป่าที่มีต้นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและไม้พุ่ม ซึ่งพืชเหล่านี้สามารถทนต่อสภาพความแห้งแล้งที่ยาวนานและมีฤดูฝนสั้นๆ ได้ดี ส่วนป่าหนามนั้น จะเป็นไม้พุ่มที่มีหนาม และจะผลัดใบในช่วงที่ขาดแคลนน้ำ
10.ป่ากึ่งทะเลทราย (Semidesert Woodland) เป็นพืชพรรณที่ทนต่อความแห้งแล้ง ส่วนมากเป็นพวกไม้พุ่ม ตามพื้นดินของป่าชนิดนี้ จะมีวัชพืชหรือพืชต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่น้อยมาก
11. พืชพรรณในทะเลทราย (Desert Vegetation) มักจะพบพืชที่มีใบเล็กๆ พืชที่มีหนาม ซึ่งเป็นพืชที่มีลำต้น สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้เช่น ตะบองเพชร รวมทั้งมีพวกหญ้าแข็งๆ ขึ้นปะปนอยู่เป็นหย่อมๆ
12. ป่าในเขตอากาศหนาว (Cold Woodland) เป็นพืชพรรณที่พบได้ในอากาศแถบขั้วโลกหรือเขตอากาศแบบทุนดรา ต้นไม้ที่ขึ้นมีขนาดเล็กมาก ต้นเตี้ยขึ้นอยู่ห่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไม้พุ่มเตี้ยๆ พื้นดินเบื้องล่างปกคลุมด้วยมอส
เพราะฉะนั้นเมื่อป่าไม้ของแต่ละพื้นที่ทั่วโลก มีความแตกต่างกันสูง จึงทำให้มีการอนุรักษ์ที่แตกต่างกันไป ตามแต่สถานที่จะอำนวย ประเทศไทยเป็