รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้กรมศุขาภิบาลนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ โดยให้จัดทำที่น้ำขังที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี แล้วให้ขุดคลองแยกจากที่ยังน้ำนั้นเป็นทางน้ำลงมาถึงคลองสามเสนฝั่งเหนือ ตามแนวทางรถไฟ และตั้งโรงสูบนำแล้วกรองให้น้ำสะอาด เพื่อจำหน่ายน้ำไปในที่ต่าง ๆ ตามควรแก่ท้องที่ของเขตพระนคร รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกตามภาษาสันสกฤต เพื่อจะให้เป็นคำสั้นว่า "การประปา" ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จมาทรงเปิดกิจการโดยมีชื่อเรียกในครั้งนั้นว่า "การประปากรุงเทพฯ” มีกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน กิจการประปาได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ จากที่เคยจำหน่วยเฉพาะในเขตพระนคร ได้ขยายการจำหน่ายไปยังฝั่งธนบุรี ต่อมาได้มีการรวมและโอนกิจการประปาไฟฟ้าให้เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติการประปานครหลวง ให้โอนกิจการประปากรุงเทพฯ การประปานนทบุรี การประปาเทศบาลนครธนบุรี และประปาเทศบาลสมุทรปราการ รวมเป็นกิจการเดียวกันเรียกว่า "การประปานครหลวง” เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2510 ปัจจุบันการประปานครหลวงได้พยายามพัฒนาคุณภาพน้ำประปาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน จนได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต ISO 9002 ดังคำขวัญที่ว่า "น้ำประปาดื่มได้ มั่นใจเต็มร้อย"
รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา, รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา หมายถึง, รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา คือ, รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา ความหมาย, รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระบรมราชโองการเรื่องการประปา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!