เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 (ร.ศ. 112) เกิด "การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา" (The Naval Action at Paknam) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112" หรือ "กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส ร.ศ. 112" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อกองทัพฝรั่งเศสส่งเรือรบ 2 ลำ คือ เรือแองกองสตองต์ (Inconstant) และ เรือโกแมต์ (Comete) โดยมีเรือสินค้า "เจ. เบ. เซย์" (Jean Baptist Say) เป็นเรือนำร่อง รุกล้ำฝ่าสันดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา หมู่ปืนใหญ่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าและหมู่เรือรบซึ่งเป็นแนวป้องกันของไทยได้ยิงสกัดถูกเรือสินค้าเสียหาย เรือรบของฝรั่งเศสจึงยิงตอบโต้ โดนเรือมกุฎราชกุมารของไทยเสียหาย และทหารไทยเสียชีวิต 8 นายและบาดเจ็บ 40 นาย ส่วนทหารฝรั่งเศสเสียชีวิต 3 นายและบาดเจ็บอีก 3 นาย จากนั้นเรือรบฝรั่งเศสทั้งสองก็แล่นฝ่าเข้ามาที่สถานกงสุลฝรั่งเศส ถนนเจริญกรุง ผลจากการปะทะกันครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้บังคับให้สยามลงนามใน "สนธิสัญญาสันติภาพ" ในวันที่ 3 ตุลาคมปีเดียวกัน สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวกำหนดให้สยามชดใช้ค่าเสียหายให้ฝรั่งเศสเป็นเงินจำนวน 3 ล้านฟรังก์ ตีเป็นเงินไทยประมาณ 1,560,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนในสมัยนั้น) รวมทั้งบังคับให้รัฐบาลสยามยอมสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดถึงเกาะแก่งในแม่น้ำโขงทั้งหมด เป็นพื้นที่ 143,000 ตารางกิโลเมตร และฝรั่งเศสได้ยึดเมืองจันทบุรีไว้ในอารักขานานกว่า 10 ปี (ระหว่างปี 2436-2447) จนกว่าสยามจะชดใช้ค่าเสียหายจนครบ ผลจากกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสครั้งนี้ทำให้สยามตอ้งเสียดินแดนเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งนับเป็นการเสียเนื้อที่ครั้งใหญ่ที่สุด นักวิชาการในรุ่นหลังเห็นพ้องต้องกันว่า ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เป็นเหตุให้สยามจำต้องสูญเสียดินแดนในครั้งนี้ คือการขาดแผนที่ ซึ่งระบุเขตแดนของประเทศไว้อย่างชัดเจน ฝ่ายสยามขาดความช่ำชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป อีกทั้งกองทัพเรือของสยามเพิ่งเริ่มต้นขึ้นจึงต้องจ้างทหารต่างชาติมาช่วย ส่วนทหารของสยามสมัยในสมัยนั้นยังขาดวินัยของทหาร และขาดความช่ำชองในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยจากตะวันตก แม้จะมีกำลังอาวุธที่พอจะต่อต้านกองกำลังฝรั่งเศสได้ ทั้งปืนใหญ่ และเรือรบอย่าง "เรือพระที่นั่งมหาจักรี" ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดปืนอาร์มสตรอง พร้อมระวางขับน้ำ 2,400 ตัน หัวเรือที่ใช้ชนได้ ระวางขับน้ำของเรือลำนี้สูงกว่าเรือทั้งสามของฝรั่งเศสรวมกัน แต่เรือที่มีสมรรถนะสูงลำนี้กลับไม่ได้ร่วมสมรภูมิรบ เพราะมีคำสั่งอย่างเข้มงวดไม่ให้เคลื่อนย้าย เว้นแต่จำเป็นต้องใช้เป็นพระราชพาหนะเท่านั้น
เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา, เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา หมายถึง, เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา คือ, เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ความหมาย, เกิดเหตุการณ์ การรบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!