21 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ (ปัจจุบันคือ HSBC) ซึ่งเป็นธนาคารต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย เริ่มนำ "บัตรธนาคาร" หรือเรียกทับศัพท์ว่า "แบงก์โน้ต" (Bank Note) ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตามพระบรมราชานุญาตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ต้องการให้พิมพ์บัตรธนาคารขึ้นใช้เป็นเงินตราเพื่อบรรเทาปัญหาที่โรงกษาปณ์ผลิตเหรียญเงินของไทยไม่ทันกับความต้องการ ในช่วงที่การค้าระหว่างประเทศกำลังขยายตัว ภายหลังธนาคารต่างประเทศอื่น ๆ ก็ได้พิมพ์แบงก์โน้ตออกมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในวงกว้างนัก แบงก์โน้ตเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารออกให้ เป็นตั๋วสัญญาจะจ่ายเงินตราโลหะแก่ผู้ที่นำบัตรนี้มาขึ้นเมื่อทวงถาม แต่ไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ประชาชนทั่วไปจึงไม่ยอมรับชำระหนี้ การใช้แบงก์โน้ตจึงจำกัดอยู่ในวงแคบ คงใช้เฉพาะในหมู่พ่อค้าชาวต่างชาติ และประชาชนชั้นสูงในพระนครเท่านั้น เมื่อใช้ไปได้ระยะหนึ่ง รัฐบาลก็ได้สั่งพิมพ์เงินกระดาษจากประเทศเยอรมนี และพิมพ์เองจนกลายเป็นธนบัตรอย่างในปัจจุบัน คำว่า "แบงก์โน้ต" ทำให้ประชาชนคุ้นเคยกับการใช้เงินกระดาษ จึงเรียกธนบัตรว่า "แบงก์" มาจนทุกวันนี้
ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก, ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก หมายถึง, ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ, ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ความหมาย, ธนาคารฮ่องกงและเซียงไฮ้ เริ่มนำบัตรธนาคาร ออกใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!