การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty)
18 เมษายน พ.ศ. 2398 มีการลงนามใน สนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาทางการค้าระหว่างประเทศสยามกับอังกฤษ ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 โดย เซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir. John Bowring) ได้เชิญพระราชสาสน์ของ สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรี คณะของเบาว์ริงเดินทางมาถึงปากน้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2398 ในสมัยนั้นชาวตะวันตกได้เข้ามาทำการค้าและล่าอาณานิคมกับประเทศแถบตะวันออกมากขึ้น รัชกาลที่ 4 ได้ตระหนักถึงภัยจากลิทธิจักวรรดินิยม จึงยอมตกลงทำสัญญาทางการค้าเพื่อรักษาเอกราช แต่ก็ต้องแลกกับการสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล และมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เกิดขึ้น สนธิสัญญาเบาว์ริงทำให้เกิด การค้าเสรี ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของกษัตริย์และเจ้านายสยาม ต่อมา สนธิสัญญาเบาว์ริงได้กลายเป็นต้นแบบของการทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาเจรจากับสยาม สนธิสัญญาเบาว์ริงใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี จนกระทั่งมีการแก้ไขและค่อย ๆ ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง แต่กว่าไทยจะมีเอกราชสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อในปี 2482 ในสมัยรัฐบาล พลตรี ป. พิบูลสงคราม ที่มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับโลกตะวันตกและญี่ปุ่นทั้งหมด
การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty), การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) หมายถึง, การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) คือ, การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) ความหมาย, การลงนามสนธิสัญญาเบาว์ริง (Bowring treaty) คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!