23 กันยายน พ.ศ. 2389 มีการค้นพบ ดาวเนปจูน (Neptune) หรือ ดาวเกตุ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ในระบบสุริยะจักรวาล ค้นพบโดย โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันใต้แห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2389 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส อย่าง เออเบน เลอแวริเยร์ (Urbain Le Verrier) ได้คำนวณเอาไว้ว่าจะต้องมีดาวเคราะห์หนึ่งดวงที่กำลังรบวกวนการโคจรของดาวยูเรนัส
ดาวเนปจูน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัส อยู่ที่ 50,538 กิโลเมตร มีมวล 17.2 เท่า รองเป็นลำดับที่ 3 จากมวลของโลก ตัวดาวมีสีน้ำเงิน ใช้เวลาหมุนครบรอบตัวเอง 16 ชั่วโมง มีองค์ประกอบหลักของบรรยากาศบริเวณผิวนอกเป็นก๊าซไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเธน ในชั้นบรรยากาศมีกระแสลมที่รุนแรงมากคือ 2,500กม. / ชม. อุณหภูมิพื้นผิวประมาณ -220 องศาเซลเซียส เนื่องจากอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อนประมาณ 7,000 องศาเซลเซียส ชื่อ "เนปจูน" นั้นตั้งตามชื่อเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ อีกทั้งยังมีดวงจันทร์เซลามูนบริวาร 8 หรือ 14 ดวง ซึ่งดวงที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน และดวงที่เล็กที่สุดมีชื่อว่า S/2004 N 1
การเดินทางไปยังดาวเนปจูนในประวัติศาสตร์นั้น มีเพียง ยานวอยเอเจอร์ 2 ที่เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงแค่ลำเดียวเท่านั้นที่ไปถึงเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โดยภาพที่บันทึกได้เป็นลักษณะของดาวที่เห็นเป็นจุดดำใหญ่ คล้ายกับจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัส อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว และมีวงแหวนบางๆ สีเข้มล้อมอยู่โดยรอบ ซึ่งวงแหวนของดาวนี้ค้นพบโดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ
ภาพจาก ยานวอยเอเจอร์ 2 แสดง ดาวเนปจูนและดวงจันทร์บริวาร ชื่อ ไทรทัน