ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ลีลาศ, ลีลาศ หมายถึง, ลีลาศ คือ, ลีลาศ ความหมาย, ลีลาศ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
ลีลาศ

ประวัติกีฬาลีลาศ
  
  ประวัติของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป


จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แตกแขนงมาจาก จังหวะฟอกซ์ทรอท ช่วงทศวรรษที่ 20 วงดนตรีส่วนมากจะเล่นจังหวะฟอกซ์ทรอท ถึง 50 บาร์ต่อนาที ซึ่งเป็นความเร็วที่เร็วเกินไป การก้าวเท้าที่เปิดกว้างของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทไม่สามารถจะทำการเต้นบนความเร็วขนาดนี้ได้ ชาวอังกฤษได้พัฒนามาจากการเต้น ชาร์ลสทั่น (CHARLESTON) ต้นแบบซึ่งเป็นจังหวะหนึ่งของการเต้นที่ต่อเนื่องโดยไม่มีการเตะเท้าและได้ทำการผสมผสานกับจังหวะฟอกซ์ทรอท (เร็ว) ที่ได้กล่าวมาแล้ว เรียกจังหวะนี้กันว่า จังหวะ ควิ๊กไทม์ ฟอกซ์ทรอท และ ชาร์ลสทั่น (QUICKSTEP FOXTROT AND CHARLESTON) คู่เต้นรำชาวอังกฤษ แฟรงค์ฟอร์ด และ มอลลี่ สเปญ (FRANKFORD AND MOLLY SPAIN)ได้เต้นรูปแบบใหม่ของจังหวะ QUICKTIME FOXTROT AND CHARLESTON ในงานเดอะสตาร์แชมป์เปี้ยนชิพ ของปี ค.ศ.1927 โดยปราศจากลักษณะท่าทางของการใช้เข่าแบบ CHARLESTON และทำการเต้นเป็นคู่แทนการเต้นแบบเดี่ยว รูปแบบท่าเต้น คือ QUARTER TURNS, CROSS CHASSES, ZIGZAGS, CORTES,OPEN REVERSE TURNS และ FLAT CHARLESTON ในปี ค.ศ. 1928 / 1929 จังหวะควิ๊กสเต็ปได้แจ้งเกิดอย่างแน่ชัด ในรูปแบบของ การก้าวแบบ ชาสซี่ส์ (CHASSES STEPS) 
 
 
ลักษณะเฉพาะของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป
เอกลักษณ์เฉพาะ กระฉับกระเฉง ตื่นตัวและชั่วพริบตา ความเพลิดเพลินการเคลื่อนไหว อย่างรวดเร็ว ลูกเล่นของเท้า ร่วมโบยบิน และเคลื่อนเลียดพื้นอย่างโล่งอิสระห้องดนตรี 4 / 4ความเร็วต่อนาที 50 บาร์ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 และ 3ระยะเวลาของการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลงเริ่มขึ้นหลังสิ้นสุด 1 “ขึ้น” ต่อเนื่องตอน 2 และ 3 ขึ้น / ลดลง หลังสิ้นสุด 4หลักพลศาสตร์ เลื่อนไหล โบยบิน และการเคลื่อนที่เลียดพื้น

การสื่อความหมายของจังหวะ ควิ๊กสเต็ป
ร่างสองร่างกำลังเคลื่อนที่ในความเร็วตามความต้องการของจังหวะควิ๊กสเต็ป เหนือสิ่งอื่นใด การทำให้เป็นจังหวะเดียวกัน รวมไปถึงการเข้าใจเกี่ยวกับการเกร็งยืดของขา และวิธีการใช้ข้อเท้าระหว่างปฏิบัติการของลูกเล่นของเท้า (TRICKSTEPS) ทั้งคู่ ต้องการการปรับระดับการควบคุม (TONING)ของเท้าและขา เปรียบเทียบได้กับจังหวะไจว์ฟ (JIVE) ในการเต้นแบบลาติน อเมริกัน การสื่อความหมายของดนตรีที่ถูกต้อง จังหวะเวลาของการช้า (SLOWS) ควรยืดออกเล็กน้อยเพื่อสร้างพลังของอาการคมชัดในข้อเท้า ใน “การเร็ว” (QUICKS) ประสบการณ์ของการใช้ฟลอร์ (FLOORCRAFT) ในจังหวะนี้มีความสำคัญมากกว่าการเต้นรำแบบอื่น ๆ

ประวัติของจังหวะ ไจว์ฟ

จังหวะ ไจว์ฟ
ไจว์ฟ เป็นจังหวะเต้นรำที่มีจังหวะ จะโคน และการสวิงค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจาก ROCK’N’ROLL, BOGIE และ AFRICAN /AMERICAN SWING ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก NEW YORK , HALEM ใน ค.ศ. 1940 ไจว์ฟ ได้ร่วมกันถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิกเตอร์บัคจ์ (JITTERBUG) และจากนั้น MR. JOS BRADLY และ MR. ALEX MOORE ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว จากนั้นมาไจว์ฟจึงได้เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

ลักษณะเฉพาะของ จังหวะ ไจว์ฟ
เอกลักษณ์เฉพาะ การมีจังหวะ จะโคน การออกท่าทาง เตะ และดีดสะบัด การเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนไปข้างหน้า มุ่งไปข้างหน้าและย้อนกลับมาจากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหวห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 44 บาร์ สอดคล้องกับกฎ ของ I D S F การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 2 และ 4 ระยะเวลาในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีหลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรงและการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา


การสื่อความหมายของจังหวะ ไจว์ฟ
สไตล์ สากลของจังหวะนี้ ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสะบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิมใช้ส่วนของร่างกาย (TORSO) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันคุณจะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์ ก็สุดแล้วแต่คุณว่าจะชอบสไตล์ไหน และให้คอยติดตามผลที่ได้รับจาก กรรมการตัดสิน เอาเอง


ประวัติ ของจังหวะ ช่า ช่า ช่า

จังหวะช่า ช่า ช่า
จังหวะช่า ช่า ช่า ได้รับการพัฒนามาจาก จังหวะ แมมโบ้ (MAMBO) และเป็นจังหวะลาตินที่คนส่วนมากชอบที่จะเลือกเรียนรู้เป็นอันดับแรก ชื่อของจังหวะนี้ ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของรองเท้า ขณะที่กำลังเต้นรำของสตรี ชาวคิวบา จังหวะ ช่า ช่า ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ประเทศอเมริกาและระบาดเข้าไปในยุโรป เกือบจะเป็นเวลาเดียวกันกับ จังหวะแมมโบ้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมมโบ้ได้เสื่อมความนิยมลงไป โดยหันมานิยมจังหวะ ช่า ช่า ช่า ซึ่งกลายเป็นความนิยมอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1956 หากสอดคล้องกับต้นแบบแล้ว ดนตรีของจังหวะ ช่า ช่า ช่า ควรเล่นด้วยอารมณ์ความรู้สึกโดยปราศจากความตึงเครียดใดๆ ร่วมด้วยลักษณะการกระแทกกระทั้นของจังหวะที่ทำให้นักเต้นรำสามารถที่จะสร้างบรรยากาศของความรู้สึกที่ขี้เล่น และซุกซน ให้กับผู้ชมได้ เมื่อไม่นานมานี้ เป็นที่ตกลงกันไว้ว่า ให้ตัดทอนชื่อให้สั้นลง เป็น ช่า ช่า แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องทำอย่างนั้น

ลักษณะเฉพาะของ จังหวะ ช่า ช่า ช่า
เอกลักษณ์เฉพาะ กระจุ๋มกระจิ๋ม เบิกบาน การแสดงความรักใคร่การเคลื่อนไหว อยู่คงที่ คู่เต้นรำเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม และ ร่วมทิศทางเดียวกันห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ I D S Fการเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีหลักพลศาสตร์ การเคลื่อนที่ตามเวลา ทันทีทันใด หนักหน่วงโดยตรง และ การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ


การสื่อความหมายของจังหวะ ช่า ช่า ช่า
ความสำคัญของจังหวะนี้อยู่ที่ ขา และ เท้า โครงสร้างของการจัดท่าเต้นไม่ควรให้มีการเคลื่อนที่มากนัก และต้องมีความสมดุลที่ผู้ชมสามารถจะเข้าใจในรูปแบบและติดตามทิศทางได้ สิ่งที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง ควรมุ่งเน้นไปที่ “จังหวะเวลา” ของการเคลื่อนไหวในแต่ละท่าทาง


ประวัติของจังหวะ แซมบ้า

จังหวะแซมบ้า
ต้นแบบของแซมบ้ามาจากอัฟริกา แต่ได้รับการพัฒนามากที่สุดที่ประเทศบราซิล ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในงานเทศกาลรื่นเริงและตามโรงเรียนสอนจังหวะแซมบ้าในประเทศบราซิล ปี ค.ศ. 1925 จังหวะแซมบ้าได้เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป ถึงแม้ว่า แซมบ้า จะได้รับการยอมรับเป็นจังหวะหนึ่งที่ใช้ในการแข่งขันก็ตามแต่การบุกเบิกครั้งสำคัญของจังหวะแซมบ้า ได้เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1939 ในงานมหกรรมการแสดงระดับโลกในนครนิวยอร์ค จังหวะแซมบ้าได้ถูกยอมรับอย่างแท้จริงในปี ค.ศ. 1948/1949 ผู้ที่ได้พัฒนาจังหวะแซมบ้า มากที่สุดคือ WALTER LAIRD และ LORRAINE ซึ่งทั้งสองท่านเป็นอดีตแชมป์เปี้ยนโลก ของการเต้นรำแบบ ลาตินอเมริกัน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แซมบ้า
เอกลักษณ์เฉพาะ เบิกบาน มีชีวิตชีวา และ ความพึงพอใจการเคลื่อนไหว แบบซิคแซค , เคลื่อนที่แบบเดินขบวน และ แบบวงกลม เต้นในที่โล่ง หรือ อยู่กับที่ห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 50 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้นจังหวะ บนบีท (Beat) ที่ 2 ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที การขึ้นและลง ท่า เบ้าส์ (Bounce) ของ แซมบ้าหลักพลศาสตร์ ความหนักหน่วง ยืดหยุ่น หน่วง แล้วก็ทันทีทันใด


การสื่อความหมายของจังหวะ แซมบ้า
แบบฉบับท่าทางการยืดหยุ่นขึ้นลงของ แซมบ้า (BOUNCE ACTION) ก่อให้เกิดการย่นย่อ และ การเหยียดตึงของเข่า และ ข้อเท้า ของขาข้างที่รองรับน้ำหนักอยู่ ในแต่ละครั้งของการยืดขึ้นและหน่วงลงใช้เวลา ครึ่งบีท (1/2 BEAT) ของดนตรี ระดับของการใช้ความยืดหยุ่นในท่าเต้นต่างๆไม่เหมือนกันทั้งหมด บ้างก็มีเพียงเล็กน้อย บ้างก็ไม่มีการขึ้นลงเลยลีลาท่าทางของแซมบ้า ควรสะท้อนให้เห็นถึงการเดินพาเหรดเคลื่อนเป็นวงกลมในที่โล่งแสดงอวดผู้ชมบ้างในบางครั้ง ด้วยการเต้นพักอยู่กับที่


ประวัติของจังหวะแทงโก้

จังหวะแทงโก้
จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้
เอกลักษณ์เฉพาะ มั่นคง และ น่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และ เลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION)การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การ ย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมวห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 33 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลงหลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ


การสื่อสารความหมายของจังหวะ แทงโก้
ลองพิจารณาซิว่าการเต้น แทงโก้ ของคุณต้องไม่ดูเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่าทางการเคลื่อนไหวต้องแผ่รังสีคล้ายสัตว์ ดั่งแมว หรือ เสือ นอกเหนือจากนั้น ความสำนึกในหลายๆ รูปแบบของการเต้นต้องใส่ความรู้สึกที่หยิ่งยะโส ตามแบบฉบับของชาวสเปน มันไม่มีการขึ้น และ ลง ไม่มีการสเวย์ของลำตัว ต้นขา และ เข่า เบี่ยงชิดซึ่งกันและกันเล็กน้อย ( ให้นึกถึงความรู้สึกที่เพรียว ชะลูด ) ด้านขอบในของเท้าให้เก็บเข้าหากันเล็กน้อย ตลอดเวลา ฝ่ายหญิงให้ยื่นเบี่ยงไปทางขวา ของชายมากกว่าที่เคย และสร้างกิริยา ท่าทาง ที่เหย่อหยิ่ง และเชื่อมั่น คู่เต้นรำต้องแผ่รังสี ในการดูดซับความรู้สึกของลำตัว ซึ่งกันและกันไว้ สำหรับการเพิ่มแรงโน้มถ่วงที่ลงพื้น มีไว้ในสถานการณ์ที่ต้องการสับเปลี่ยน ให้เป็นอย่างฉับพลันสงบนิ่งการใช้เท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเหมือนกับทุกๆ จังหวะ การเคลื่อนลำตัวให้ผ่านเท้า และลีลาท่าทางการก้าวย่างของโครงสร้างท่าเต้น จะเพิ่มศักยภาพให้กับ แทงโก้ของคุณในด้านการแสดงออก รากเหง้าของจังหวะ แทงโก้คือ การเต้นรำที่เหมือน “ศิลปะการการละคร และการให้อารมณ์” (DRAMA AND MOOD)การให้จังหวะที่ถูกต้องในรูปแบบท่าเต้นแสดงให้เห็นถึงความ เฉียบคม และ ความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการเคลื่อนไหว และ ความสงบนิ่ง การต่อต้าน หรือการต่อสู้ขัดขืนพัฒนาไปสู่ คุณภาพของความ เฉียบพลันในการเคลื่อนไหวของจังหวะ แทงโก้


ประวัติของจังหวะแทงโก้

จังหวะแทงโก้
จังหวะ มิรองก้า MILONGA คือแม่แบบของจังหวะแทงโก้ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะคือ การเคลื่อนไหวของ ศีรษะและไหล่ โดยการสับเปลี่ยนทันทีทันใด จากการเคลื่อนไหวสู่ความนิ่งสงบต้นศตวรรษที่ 20 ได้มีการเต้นรำจังหวะ มิรองก้า นี้ในโรงละครเล็ก ๆ โดยเหล่าชนสังคมชั้นสูงที่มาจากประเทศ บราซิล ในช่วงเวลานั้น ชื่อของมันได้ถูกเปลี่ยนจาก มิรองก้า เป็นแทงโก้ ชื่อของมิรองก้า ยังมีตำนานเล่าขานอีกมากมายที่จะหวนไปสู่ความทรงจำ ที่มีมาจากนครบัวโนส แอเรส (BUENOS AIRES)แห่งประเทศอาร์เจนติน่า จังหวะแทงโก้ ได้ถูกแนะนำสู่ทวีปยุโรป ความจริงแล้วเริ่มก่อนในกรุงปารีส ในชุมชนชาวอาร์เจนติน่า กระทั่งปี ค.ศ.1907 แทงโก้ไม่เป็นที่ยอมรับในกรุงลอนดอน การเต้นได้ส่อแนวไปทางเพศสัมพันธ์มากเกินไป และมีคนจำนวนมากคัดค้าน ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบ (STYLISTIC) ไปบ้าง จังหวะแทงโก้ถึงได้รับการยอมรับในกรุงปารีส และลอนดอน ในเวลานั้น (ค.ศ. 1912) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของแทงโก้ปาร์ตี้ แทงโก้ทีส์ และแทงโก้ซุปเพียร์ ร่วมกันกับการแสดงของเหล่านักเต้นแทงโก้ระดับมืออาชีพ ในปี ค.ศ.1920/1921 จังหวะแทงโก้ ได้เพิ่มความมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ในการร่วมปรึกษาหารือในการประชุมที่มหานครลอนดอน ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 30 ลักษณะการกระแทกกระทั้นเป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION) ได้ถูกนำเข้าใช้ร่วมในองค์ประกอบท่าเต้นของจังหวะแทงโก้

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ แทงโก้
เอกลักษณ์เฉพาะ มั่นคง และ น่าเกรงขาม โล่งอิสระ ไม่มีการสวิง และ เลื่อนไหลการกระแทกกระทั้น เป็นช่วงๆ (STACCATO ACTION)การเคลื่อนไหว เฉียบขาด อาการเปลี่ยนแปลงที่สับเปลี่ยนอย่างฉับพลันสู่ความสงบนิ่ง การ ย่างก้าวที่นุ่มนวลอย่างแมวห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 33 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บีทที่ 1 และ 3 เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลง ไม่มีการขึ้นและลงหลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีร่วมกับการใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการขับเคลื่อนอย่างโล่งอิสระ


การสื่อสารความหมายของจังหวะ แทงโก้
ลองพิจารณาซิว่าการเต้น แทงโก้ ของคุณต้องไม่ดูเหมือนหุ่นยนต์ แต่ท่าทางการเคลื่อนไหวต้องแผ่รังสีคล้ายสัตว์ ดั่งแมว หรือ เสือ นอกเหนือจากนั้น ความสำนึกในหลายๆ รูปแบบของการเต้นต้องใส่ความรู้สึกที่หยิ่งยะโส ตามแบบฉบับของชาวสเปน มันไม่มีการขึ้น และ ลง ไม่มีการสเวย์ของลำตัว ต้นขา และ เข่า เบี่ยงชิดซึ่งกันและกันเล็กน้อย ( ให้นึกถึงความรู้สึกที่เพรียว ชะลูด ) ด้านขอบในของเท้าให้เก็บเข้าหากันเล็กน้อย ตลอดเวลา ฝ่ายหญิงให้ยื่นเบี่ยงไปทางขวา ของชายมากกว่าที่เคย และสร้างกิริยา ท่าทาง ที่เหย่อหยิ่ง และเชื่อมั่น คู่เต้นรำต้องแผ่รังสี ในการดูดซับความรู้สึกของลำตัว ซึ่งกันและกันไว้ สำหรับการเพิ่มแรงโน้มถ่วงที่ลงพื้น มีไว้ในสถานการณ์ที่ต้องการสับเปลี่ยน ให้เป็นอย่างฉับพลันสงบนิ่งการใช้เท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเหมือนกับทุกๆ จังหวะ การเคลื่อนลำตัวให้ผ่านเท้า และลีลาท่าทางการก้าวย่างของโครงสร้างท่าเต้น จะเพิ่มศักยภาพให้กับ แทงโก้ของคุณในด้านการแสดงออก รากเหง้าของจังหวะ แทงโก้คือ การเต้นรำที่เหมือน “ศิลปะการการละคร และการให้อารมณ์” (DRAMA AND MOOD)การให้จังหวะที่ถูกต้องในรูปแบบท่าเต้นแสดงให้เห็นถึงความ เฉียบคม และ ความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการเคลื่อนไหว และ ความสงบนิ่ง การต่อต้าน หรือการต่อสู้ขัดขืนพัฒนาไปสู่ คุณภาพของความ เฉียบพลันในการเคลื่อนไหวของจังหวะ แทงโก้


ประวัติ ของจังหวะ พาโซโดเบ้

จังหวะพาโซโดเบ้
พาโซโดเบ้ เป็นจังหวะการเต้นรำเพียงจังหวะเดียวในแบบลาตินอเมริกันที่ไม่ได้มีที่มาจากชนผิวดำ (NEGRO) ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงอยู่ที่ประเทศสเปน ขีดความนิยมแพร่หลายสูงสุด เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1926 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะพาโซโดเบ้ได้รับการยอมรับให้ บรรจุเข้าเป็นจังหวะหนึ่งของการแข่งขัน

ลักษณะเฉพาะ ของ จังหวะ พาโซโดเบ้
เอกลักษณ์เฉพาะ สง่าและภาคภูมิ ความเป็นชาวสเปน อวดลีลาการเต้นแบบ ฟลามิงโก้การเคลื่อนไหว ในที่โล่ง และเคลื่อนไปข้างหน้า การโบกสะบัดผ้าคลุม การเคลื่อนไหวเป็นวงกลม และการเดินมาร์ชห้องดนตรี 2/4ความเร็วต่อนาที 62 บาร์ ต่อนาที สอดคล้องกับกฎของ I D S F การเน้นจังหวะ เน้นเล็กน้อย บนบีทที่ 1ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาที ครึ่งถึง 2 นาทีการขึ้นและลง เขย่งขึ้นลงบ้างในบาง ฟิกเกอร์หลักพลศาสตร์ การเดินแบบมาร์ชที่มั่นคงและตรงทิศทาง


การสื่อความหมาย ของจังหวะ พาโซโดเบ้
จุดสำคัญของจังหวะนี้ ควรอยู่ที่การเน้นลำตัวและท่าทางต่างๆ โดยการใช้ลีลาของแขน ข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือตามแบบการเต้น ฟลามิงโก้ (FLAMENCO) ที่ออกไปในทางสามมิติตามจริงการใช้เท้า ส้นเท้าควรแสดงให้เห็นถึงการใช้จังหวะที่ถูกต้อง ลักษณะเฉพาะควรรวมไปถึงท่า SPANISH LINES, PRESS LINES การเขย่งขึ้นและลง (ELEVATION) การเต้นแบบ ชาสเซ่ ด้วยลีลาโบกผ้า (CHASSE CAPES) และ การเคาะเท้าแบบฟลามิงโก้ (FLAMENCO TAPS) การยกแขนขึ้นควรทำด้วย การควบคุม (TONING) อย่างดีเยี่ยมด้วยทิศทางที่ย้อนกลับมาหาตัว


ประวัติของจังหวะรุมบ้า

จังหวะพารุมบ้า
ประมาณกันว่า รุมบ้าถูกนำเข้ามาในอเมริกาโดยทาสชาวอัฟริกัน แต่เมื่อราว ค.ศ. 1928/1929 การก้าวเท้าและรูปแบบการเต้นของจังหวะนี้ ยังไม่ชัดเจนทีเดียว คนส่วนมากทึกทักเอาการเต้นของจังหวะนี้เป็นการเต้นรูปแบบใหม่ ของจังหวะ ฟอกซ์ทรอท โดยเพิ่มการใช้สะโพกลงไป หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รุมบ้า ได้รับการพัฒนาต่อให้เป็น คิวบันรุมบ้า โดย (MONSIEUR PIERRE และ DORIS LAVELL) นักเต้นรำชาวอังกฤษ ซึ่งมีโรงเรียนสอนเต้นรำอยู่ที่ ถนน REGENT ในนครลอนดอน แต่ก็ยังไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร จนกระทั่ง WATER LAIRD เริ่มเขียนตำราเต้นรำของ ลาติน ขึ้นผลงานของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากจากหลายองค์กรของการเต้นรำ และ นั่นเองการจัดมาตรฐานก็บรรลุถึงความเป็นจริง

ลักษณะเฉพาะ ของจังหวะ รุมบ้า
เอกลักษณ์เฉพาะ ยั่วยวน กระตุ้นความรู้สึก ดูดดื่ม ยั่วเย้า และ การผละหนี อย่างมีจริตการเคลื่อนไหว คงที่ โล่งอิสระ การเลื่อนไหล การต่อเนื่องร่วมกับการเน้นจังหวะห้องดนตรี 4/4ความเร็วต่อนาที 27 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บนบีทที่ 4 ของแต่ละบาร์ระยะเวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีหลักพลศาสตร์ความหนักหน่วง เคลื่อนที่ตามเวลา การเดินที่มั่นคง และตรงทิศทาง


การสื่อความหมายของจังหวะ รุมบ้า
ในจังหวะนี้ ความสำคัญอยู่ที่ลำตัว การเคลื่อนไหวของสะโพกเกิดขึ้นจากการควบคุมการโอนถ่ายน้ำหนักจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง การก้าวเท้าแต่ละก้าวใช้เวลา 1/2 บีทของดนตรี ท่าทางของลำตัวเกิดขึ้นบนครึ่งที่สองของบีท ความใส่ใจที่สำคัญควรมุ่งใช้ไปที่ หลักพลศาสตร์ และจังหวะดนตรี เพื่อเพิ่มความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องกับความต้องการที่ตรงกันข้าม และความเย้ายวนอารมณ์ ลำตัวจะไม่มีการหยุดเพื่อการเปลี่ยนท่าทาง การเคลื่อนไหวของแขนจะเริ่มจาก จุดศูนย์กลางของลำตัว และนี่คือ ผลจากการเคลื่อนไหวของลำตัว ควรให้ความใส่ใจกับการแสดงความชัดเจน ของการใช้เท้า เท้าจะสัมผัสพื้นผิวของฟลอร์อย่างต่อเนื่อง และแผ่วเบา ฝ่ายชายจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้สึกที่ให้อารมณ์ในการนำ ด้วยมือ แขนและด้วยจิตใจ ข้อความที่ฝากไว้ตรงนี้คือ....ปล่อยให้ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายแสดง


ประวัติของจังหวะ วอลซ์

จังหวะวอลซ์
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 – 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับ ใน โรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ “บอสตัน วอลซ์” ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบันในปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ “วอลซ์” หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้นด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น THE NATURAL และ REVERSE TURN และ THE CLOSED CHANGE ความก้าวหน้าในการพัฒนา จังหวะ “วอลซ์” เป็นไปอย่างยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้องยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLY) วิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ (VICTOR SILVESTER) และแม็กซ์เวลล์ สจ๊วตค์ (MAXWELL STEWARD) และแพ็ทไซด์ (PAT SYKES) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาวอังกฤษ สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการพัฒนาแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็นมาตรฐานคือ “IMPERIAL SOCIETY OF TEACHERS” (ISTD) ท่าแม่แบบเหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ วอลซ์
เอกลักษณ์เฉพาะ สวิง และเลื่อนไหล นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซาบซึ้งและเร้าอารมณ์การเคลื่อนไหว การสวิง ลักษณะแกว่งไกว แบบลูกตุ้มนาฬิกาห้องดนตรี 3 / 4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะบนบีท (Beat) ที่ 1เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นและลง เริ่มขึ้นหลังสิ้นสุด 1 ขึ้นต่อเนื่องตอน 2 และ 3 หน่วงลดลง หลังสิ้นสุด 3หลักพลศาสตร์ ความสมดุลที่ดีสัมพันธ์กับการเลื่อนไหล การใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ


การสื่อความหมายของจังหวะ วอลซ์
ลักษณะท่าทางอย่างหนึ่งที่ต้องมีให้เห็นจากนักแข่งขัน ไม่ว่าจะระดับไหน คือ ลักษณะการแกว่งไกวของลูกตุ้มนาฬิกา เปรียบเทียบได้กับการแกว่งของลูกตุ้มระฆัง จังหวะวอลซ์ต้องมีการสวิงขึ้น และลงที่มีความสมดุล ในระดับที่ถูกต้อง ด้วยการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ โครงสร้างของท่าเต้นต้องเป็นแบบที่มีการสวิงโยกย้าย นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซึ่งบังเกิดผลให้นักเต้นรำ เคลื่อนที่ไปอย่างเป็นธรรมชาติ และโล่งอิสระร่วมกับการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วง โดยปกติแล้ววอลซ์ ควรประกอบด้วยลวดลายที่สามารถแสดงให้เห็นถึงการควบคุม (CONTROL) ที่ยอดเยี่ยม และเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ในหลาย ๆ กฎเกณฑ์ ดนตรีจะมีความโรแมนติค ชวนฝัน ละเอียดอ่อน และ เปรียบเสมือนกับสตรีเพศ ซึ่งนี้คือ ข้อที่พึงระมัดระวังถึงของคู่แข่งขันจำนวนมาก เขาต้องปลดปล่อยให้ความรู้สึกไวต่อการรับรู้ถึงจังหวะและอัตราความเร็วของดนตรีและการเตรียมพร้อมที่จะเต้นให้แผ่วเบา อย่างมีขอบเขตและอิสระเหมือนกับทุก ๆ จังหวะ การเต้นจากเท้าส่ง (SUPPORTING FOOT) จะขาดเสียไม่ได้เลย สำหรับ วอลซ์ แล้ว “ชั่วขณะที่” เมื่อเริ่มยืดขึ้น (RISING) จากน้ำหนักเท้าส่งนั้นมีความสำคัญยิ่งการลดลงพื้น (LANDING) ขณะที่หน่วงลง (LOWERING)บนเท้าที่รับน้ำหนัก (SUPPORTING FOOT) ตามความต้องการในแบบฉบับของ วอลซ์ต้องเกร็งยืด (TENSION) และควบคุม (CONTROL)


ประวัติของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท

จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท
จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท ได้ถูกแนะนำเข้ามาในทวีปยุโรป พึ่งจะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จากรากฐานของมัน ฟอกซ์ทรอท เป็นการเต้นรำที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการเคลื่อนไหวที่มีทั้งช้าและเร็ว พูดกันว่าชื่อนี้ตั้งขึ้นมาจากนักเต้นรำ ประกอบดนตรีคนหนึ่ง (MUSICAL DANCER) ชื่อฮารีฟอกซ์ (HARRY FOX) เหล่าครูสอนเต้นรำชาวยุโรปไม่ค่อยมีความกระตือรือร้นนัก ต่อลักษณะการเต้นอย่างไม่มีรูปแบบของจังหวะฟอกซ์ทรอท และเริ่มต้นขัดเกลาเพิ่มขึ้นระหว่าง ปี ค.ศ. 1922 และ 1929 แฟรงค์ฟอร์ด (FRANK FORD) ผู้ซึ่งเคยร่วมสาธิตกับ โจเซฟฟิน เบรดลีย์ (JOSEPHINE BRADLEY) ได้พัฒนาพื้นฐานการเคลื่อนไหวพื้นฐานของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอทขึ้นแง่คิดนี้ทำให้เขาได้รับชัยชนะ ในงานแข่งขันเต้นรำปี 1927 “STAR CHAMPIONSHIPS” ร่วมกับคู่เต้นที่ชื่อ มอลลี่ สเปญ (MOLLY SPAIN)ท่าเต้นส่วนมากที่ทั้งสองใช้เต้นในครั้งนั้น นักแข่งขันยังคงใช้อยู่ถึงปัจจุบัน ช่วงเวลานั้น ทำนองดนตรีที่ถูกต้อง ยังไม่คิดทำขึ้น จังหวะฟอกซ์ทอรท คิดจะเล่นอย่างไรก็ได้ซึ่งมีตั้งแต่ จาก 40 ถึง 50 บาร์ ต่อนาที และเป็นการง่ายที่จะใช้สไตล์อย่างไรก็ได้ สุดแท้แต่ความเร็วของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไป ตามแต่ว่าใครที่จะเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี แต่ครั้งนั้นครั้งเดียววงดนตรี วิคเทอซิลเวสเทอ (VICTOR SILVESTOR’S BAND) เริ่มทำการปรับปรุงและปัญหาก็ได้ถูกแก้ไข

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทอรท
เอกลักษณ์เฉพาะ ความบริสุทธิ์ชัดเจน และสง่างามอย่างมีบุคลิกการเคลื่อนไหว ความต่อเนื่อง เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างโล่งอิสระ และรูปแบบที่มีแนวตรงอย่างเป็นระเบียบห้องดนตรี 4 / 4ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ สอดคล้องกับกฎของ IDSF การเน้นจังหวะ บนบีทที่ 2ระยะเวลาของการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาทีการขึ้นลง ขึ้นหลังสิ้นสุด 1 ขึ้นตอน 2 ขึ้นและหน่วงลงหลังสิ้นสุด 3หลักพลศาสตร์ การเลื่อนไหล และ เคลื่อนที่อย่างโล่งอิสระ


การสื่อความหมายของจังหวะ สโลว์ฟอกซ์ทรอท
จังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท เป็นจังหวะหนึ่งที่มากไปด้วยรูปแบบของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและ ถอยหลังอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงและเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบบนฟลอร์การแข่งขัน เกี่ยวเนื่องจากเอกลักษณ์ของความต่อเนื่อง และการเลื่อนไหลของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอทมันเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดการขึ้นและการลงที่กลมกลืน ซึ่งผลลัพธ์นี้ คุณควรจะมีการตัดสินใจที่แน่วแน่ในการใช้พลังที่มีท่าทีของการโอนอ่อนผ่อนตาม ซึ่งการนี้ การใช้เท้าและการเปลี่ยนน้ำหนัก จะไม่ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่กำลังหน่วงลง(LOWERING) กฏก็คือว่าเข่าจะยันรับน้ำหนักของลำตัวโดยการยืดหยุ่นก่อนที่เท้าจะยันรับและหน่วงลงซึ่งจะขาดเสียมิได้เลยการก้าวเท้าควรสนับสนุน การสวิงของลำตัว (ลำตัวต้องก่อน) โดยการดันส่งจากขาข้างที่รับน้ำหนักและ การดึง (PULLING) ขณะที่ขาข้างที่กำลังก้าวได้มาถึง ผู้ฝึกสอนบางท่านอธิบายว่า คุณควรจะใช้เท้าให้เปรียบเสมือนดั่ง “วงล้อ” ขอเห็นด้วยต่อคำกล่าวนี้เป็นอย่างยิ่งแต่ข้าพเจ้าชอบที่จะอธิบายว่า อาการ หรือ การทำงานของ “วงล้อ” จะเหมาะสมกว่าผู้ที่เป็นแชมป์เปี้ยนสามารถที่จะลดลักษณะการดัน (PUSHING) และ การดึง (PULLING) ของการก้าวเท้าของกันและกันอย่างแยบยล ผลจากการแสดงนี้ .....คือการเคลื่อนไหวของจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท อันสวยสดงดงาม


ประวัติของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์

จังหวะเวียนนีสวอลซ์
โดยดั้งเดิมเวียนนีสวอลซ์มีความเป็นมาจาก ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมัน แถบเทือกเขา เอลป์ ช่วงศตวรรษ ที่ 18 การเต้น WELLER , WALTZ และ LANDLER ได้ถูกค้นพบ และ จังหวะสุดท้าย LANDLER นี่เองที่เป็นต้นแบบดั้งเดิมของ เวียนนีสวอลซ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1800 และ ค.ศ. 1820 การก้าวเท้า และ รูปแบบท่าเต้นต่างๆ ของจังหวะ LANDLER ได้ถูกลดน้อยลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความเร็วของดนตรี และจากนั้น การเต้น 6 ก้าว ของเวียนนีสวอลซ์ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นช่วงยุค ซิคตี้ (SIXTIES) ประเทศเยอรมัน และอังกฤษได้มีการถกเถียงกันมาก เกี่ยวกับเรื่องจำนวนของรูปแบบท่าเต้น ที่จะอนุญาตให้บรรจุเข้าในการแข่งขัน ในปี ค.ศ. 1883 I.C.B.D. (INTERNATIONAL COUNCIL OF BALLROOM DANCING) ได้สรุปตกลงใจในขั้นสุดท้าย ดังนี้ NATURAL AND REVERSE TURN , NATURAL AND REVERSE FLECKERS THE CONTRA CHECK เปลี่ยนจาก REVERSE FLECKERS ไปยัง NATURAL FLECKERS เต้นอยู่บนเวลา หนึ่งบาร์ของดนตรี ในความเห็นของข้าพเจ้า ควรที่จะเพิ่มเติม ฟิกเกอร์ (FIGURES) เข้าไปในเวียนนีสวอลซ์ มากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาในรูปแบบทิศทางที่แน่นอนขึ้น อย่างเช่น THROWAWAY OVERSWAY, NATURAL HINGE LINE ON RIGHT SIDE , NATURAL OFF – BEAT SPINS ฯลฯ

ลักษณะเฉพาะของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์
เอกลักษณ์เฉพาะ การโคจรไปโดยรอบ การสวิงที่โล่งอิสระการเคลื่อนไหว เคลื่อนไปข้างหน้าห้องดนตรี 3 / 4 ความเร็วต่อนาที 60 ห้อง สอดคล้องกับกฎของ IDSFการเน้นจังหวะ บนบีทที่ 1เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาที ถึง 1 นาทีครึ่ง การขึ้น และ ลง ไม่มีการเขย่งขึ้นในการหันวงในหลักพลศาสตร์ เลื่อนไหล และ เคลื่อนไปอย่างโล่งอิสระ


การสื่อความหมายของจังหวะ เวียนนีสวอลซ์
จังหวะเวียนนีสวอลซ์เป็นการเต้นรำ ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าในลักษณะโคจรไปโดยรอบ (ROTATING DANCE) ที่ร่วมกับการเน้น บนบีทที่ 1 ของดนตรี ลองคิดถึงว่า ขณะที่กำลัง วอลซิ่ง (WALTZING) เคลื่อนไปรอบ ๆ ฟลอร์แข่งขัน คนใดคนหนึ่ง คุณหรือคู่เต้นจะมีโอกาสอยู่ในวงใน (INNER TURN)หนึ่งครั้ง การเลื่อนไหลและการเคลื่อนไปข้างหน้า ขณะอยู่วงใน ตัดสินใจได้จากการเลื่อนไหล และ เคลื่อนไปข้างหน้าจากการหันที่อยู่วงนอก (OUTSIDE TURN) บ่อยครั้งที่ฝ่ายชายเคลื่อนไปข้างหน้ามากไปในขณะที่อยู่วงใน ซึ่งทำให้ฝ่ายหญิงเสียการทรงตัว ขณะเต้นอยู่วงนอกการทำสเวย์ ก้าวแรกของ NATURAL TURN มากไปอาจขัดขวางการเคลื่อนไหวของการเลื่อนไหลที่เป็นธรรมชาติของลำตัว ในจังหวะเวียนนีสวอลซ์ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ก้าวแรกนี้จะไม่มีการสเวย์! คุณอาจจะเหลือสเวย์ที่มีอยู่ก่อนแล้วเล็กน้อย ตอนที่กำลังเริ่มออกเท้าก้าวที่ 1 และก้าวที่ 4การรวบชิดของเท้าต้องไม่ให้สังเกตุเห็นได้ชัดจากอาการในช่วงบน (TOP LINE) และช่วงศรีษะ (HEAD LINE)

 


ลีลาศ, ลีลาศ หมายถึง, ลีลาศ คือ, ลีลาศ ความหมาย, ลีลาศ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu