ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันวัณโรคโลก, วันวัณโรคโลก หมายถึง, วันวัณโรคโลก คือ, วันวัณโรคโลก ความหมาย, วันวัณโรคโลก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 1
วันวัณโรคโลก

  24 มีนาคม ค.ศ.1882 กรุงเบอร์ลิน ดร.โรเบิร์ต คอช (Dr. Robert Koch) ประกาศการค้นพบสาเหตุโรควัณโรคคือเชื้อแบคทีเรีย TB bacillus ซึ่งขณะนั้นวัณโรคแพร่กระจายทั่วยุโรปและอเมริกาเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 1 ใน 7 ของประชากร การค้นพบของเขาจึงช่วยเบิกทางการวิเคราะห์คิดค้นวิธีรักษาวัณโรค

  ค.ศ.1982 ในโอกาสครบรอบ 100 ปีการประกาศของเขา สหพันธ์องค์กรต่อต้านวัณโรคและโรคปอดนานาชาติ (IUATLD : International Union Against Tuberculosis and Lung Disease) เสนอให้กำหนด 24 มีนาคม ของทุกปีเป็น วันวัณโรคโลก (World TB Day) อย่างเป็นทางการ เพื่อย้ำเตือนให้ประชากรทั่วโลกตระหนักว่าวัณโรคยังคงระบาดทั่วโลก เป็นสาเหตุการเสียชีวิตกว่า 1.7 ล้านคนต่อปี และร่วมกันต่อด้านวัณโรค
  ค.ศ.1996 องค์การอนามัยโลก (WHO : World Health Organization) ร่วมกับ IUATLD และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ช่วยกันรณรงค์ให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญและรณรงค์ป้องกันร่วมกันต่อด้านวัณโรค

  องค์การอนามัยโลกคาดการณ์แนวโน้มของวัณโรคในอนาคตว่า ถ้ายังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ.2563 จะมีผู้ติดเชื้อวัณโรคเพิ่มขึ้นเกือบ 1 พันล้านคน และเสียชีวิตประมาณ 70 ล้านคน

ที่มาภาพ: https://www.lshtm.ac.uk/library/archives/koch.htm

โรควัณโรค

          วัณโรคเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่เป็นที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่อวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก  วัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ซึ่งเป็น acid fast bacillus (AFB)  จะมีอยู่ในปอดของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษา

          เด็กมักจะได้รับเชื้อจากผู้ใหญ่ที่เป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ โดยเชื้อจะออกมากับการไอ จาม ทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคอาจมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง 6 เดือน เชื้อจะกระจายอยู่ในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายทางการหายใจเอาเชื้อเข้าไป บางครั้งเชื้ออาจผ่านจากแม่ไปยังลูกในท้องโดยผ่านทางรกได้

           ส่วนใหญ่โรคนี้จะเป็นกับเด็กที่มีฐานะยากจน อยู่ในชุมชนแออัด ผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ และตรวจไม่พบวัณโรคในปอดโดย X-rays จะทราบว่าติดเชื้อวัณโรคได้โดยการทดสอบ ทูเบอร์คิวลิน จะให้ผลบวก ผู้ป่วยวัณโรคในผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะเคยติดเชื้อมาในระยะเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อเกิดมีอาการของโรคได้แก่ การติดเชื้อในวัยทารก และในวัยหนุ่มสาว การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ(ได้รับเชื้อเพิ่มขึ้น) ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV ผู้ติดยาเสพติด และโรคขาดอาหาร

           ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดีหลายชนิด การรักษาจะให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 3 ชนิด เพื่อลดอัตราการดื้อยา และเพิ่มประสิทธิภาพของยา ยาที่ใช้ได้แก่ Streptomycin, Pyrazinamide, Rifampin, Isoniacid, Ethambutol การรักษาจะได้ผลดีถ้ามารับการรักษาเสียแต่ระยะเริ่มแรก และจะต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน และจะต้องดูแลให้พักผ่อนและให้อาหารที่มีโปรตีนสูงและมีไวตามิน เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรค

การป้องกันวัณโรค

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่กำลังมีอาการไอ และยังไม่ได้รับการรักษาด้วยยารักษาวัณโรค
  2. ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ที่ตรวจได้ผลทูเบอร์คิวลินบวกแพทย์จะพิจารณาให้ยาป้องกัน Isoniacid นาน 2-3 เดือน
  3. ให้วัคซีน BCG ป้องกัน ในประเทศที่มีโรควัณโรคชุกชุม องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เริ่มให้ BCG วัคซีนตั้งแต่แรกเกิด วัคซีน BCG ถึงแม้จะมีประสิทธิผลแตกต่างกันจากการศึกษาในที่ต่างๆ ตั้งแต่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ไปจนถึงร้อยละ 80 แต่ที่ได้ผลชัดเจน คือ ป้องกันวัณโรคชนิดรุนแรงแบบแพร่กระจาย และวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง ในประเทศไทยให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิด

ข้อมูลจาก https://thaigcd.ddc.moph.go.th/index.html

ภาพจาก https://embryology.med.unsw.edu.au/Defect/bacteria.htm
 

 

วันวัณโรคโลก, วันวัณโรคโลก หมายถึง, วันวัณโรคโลก คือ, วันวัณโรคโลก ความหมาย, วันวัณโรคโลก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu