นามานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทให้คำตอบทันที ( Ready Reference ) ที่ผู้ใช้ห้องสมุดต้องการใช้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องสมุดประชาชน ทั้งนี้ก็เพราะว่าใน่ชีวิตประจำวันนั้นบุคคลในทุกวงการมีการติดต่อสื่อสารกันบ่อยๆ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีคู่มือสำหรับใช้ค้นหา ชื่อ ตำแหน่ง สถานที่อยู่ เขตไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์ ตลอดจนรายการจำเป็นอื่นๆ ของบุคคล หน่วยงาน ห้างร้าน บริษัท และองค์การต่างๆ คู่มือที่มีประสิทธิภาพสำหรับค้นข้อมูลในเรื่องเหล่านี้ก็คือ นามานุกรม
นามานุกรม เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ทำเนียบนาม" แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Directory" ซึ่งมีความหมายตามที่ปรากฏใน ALA Glossary of Library and Information Science
นามานุกรม คือ หนังสือรวบรวมรายชื่อของบุคคล สถาบัน สมาคม หน่วยงานต่างๆ เรียงตามลำดับอักษรของชื่อนั้นๆ หรือจัดเรียงลำดับรายชื่อเป็นหมวดหมู่ พร้อมทั้งให้เรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญองชื่อนั้น พร้อมทั้งตำบลที่อยู่หรือที่ตั้งของชื่อนั้นๆ
ประเภทของนามานุกรม
การแบ่งประประเภทของนามานุกรมนั้น พิมลวรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์ ได้แบ่ง ไว้เป็น 5 ประเภท คือ
1. นามานุกรมท้องถิ่น เป็นนามานุกรมที่จัดทำขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ เช่น สมุดโทรศัพท์ของเมืองนั้นๆ ของจังหวัด ชองรัฐ หรือของภาค ทำเนียบนามโรงเรียนในท้องถิ่นในจังหวัด เขตการศึกษา เป็นต้น
2. นามานุกรมสถาบัน เป็นนามนุกรมที่รวบรวมรายชื่อของสถาบัน สมาคม มูลนิธิ โรงพยาบาล พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และองค์การ เช่น ทำเนียบวัดแห่งประเทศไทย รวม 76 จังหวัด
3. นามานุกรมรัฐบาล เป็นนามานุกรมที่รวบรวมรายชื่อที่อยู่ของหน่วยงานของรัฐบาล เช่น ทำเนียบข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
4. นามานุกรมบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง เป็นนามานุกรมที่รวบรวยรายชื่อบุคคลในอาชีพต่างๆ นามานุกรมแต่ละเล่มมักรวมรายชื่อบุคคลในอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยเฉพาะในอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ทำเนียบสมาชิกสมาคมแพทย์ ทำเนียบนามนักวิจัยการศึกษา
5. นามานุกรมด้านธุรกิจการค้า เป็นนามานุกรมด้านธุรกิจการค้า เป็นนามานุกรมที่รวบรวมรายชื่อบริษัทโรงงานอุตสาหกรรม