ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ หมายถึง, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ คือ, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ ความหมาย, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้

การตั้งตี่จู้

          ตี่ หมายถึง ดิน 
          จู้ หมายถึง เจ้า 

          การตั้งตี่จู้ต้องตั้งติดดิน เจ้าที่จึงจะมีพลัง ซึ่งในการตั้งตี่จู้ ก็มีหลักการเดียวกับศาลพระภูมิของคนไทย คือ ตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง ดังนั้นตี่จู้ต้องติดดิน จึงจะมีพลัง หากยกฐาน ฐานนั้นต้องเป็นดินหรือหิน และทึบตัน ดังนั้นตี่จู้ ตั้งได้เฉพาะชั้นล่าง คอนโดที่สูงกว่าชั้น 1 ก็ไม่ต้องตั้ง ชั้นดาดฟ้าไม่มีความหมาย หมดสิทธิ์ที่จะได้โชคลาภจากตี่จู้ ผิดแผกไปจากศาลพระพรหมที่สามารถตั้งบนดาดฟ้าได้ โดยเราจะตั้งตี่จู้ไว้ทางด้านซ้ายหรือทางด้านขวามือของตัวบ้านก็ได้ ต้องดูตำแหน่งที่ตั้งของตี่จู้ประกอบกันไปด้วย 

          หากบริเวณที่จะตั้งตี่จู้อยู่ลึกเข้าไปภายในตัวบ้าน หรือเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่าถนน ควรทำฐานรองรับตี่จู้ให้สูงเท่ากับระดับถนน เพื่อให้เจ้าที่ที่พำนักอยู่ภายในตี่จู้สามารถมองเห็นเบื้องหน้าได้ดียิ่งขึ้น โดยทำเป็นฐานดินเรียบ หรือฐานหินอ่อน หินแกรนิตที่ทึบตัน ซึ่งสื่อความหมายถึงรากฐานที่มั่นคงของชีวิต ที่สำคัญอย่าลืมเผื่อพื้นที่เหม่งตึ๊ง หรือพื้นที่โล่งเพื่อเอาไว้วางของไหว้ และถือเป็นการรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามาอีกด้วย 

          บางบ้านที่ต้องการวางตี่จู้ลงในตู้โชว์ จะเพื่อความสวยงามหรือเพื่อความเหมาะสมก็ตามแต่ จะต้องเว้นพื้นที่ด้านข้างทั้งซ้าย-ขวา และด้านบนตี่จู้ ซึ่งหลักในการเว้นพื้นที่นี้ก็เป็นไปตามขนาดของตี่จู้ ตี่จู้ใหญ่ก็เว้นที่มากหน่อย ตี่จู้เล็กก็เว้นที่น้อยหน่อย ในกรณีที่รูปลักษณ์ของตี่จู้ไม่กลมกลืนไปกับดีไซน์ของบ้าน สามารถเปลี่ยนโฉมของตี่จู้จากเดิมที่ทำจากไม้ ให้เป็นตี่จู้ที่ทำจากวัสดุอื่นๆ ได้หลากหลายรุปแบบ เช่น หินอ่อน และตี่จู้ไม่จำเป็นต้องทาสีแดงเสมอไป การที่เราเห็นตี่จู้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงเป็นเพราะเป็นการทำตามกันมาแต่โบราณกาลมากกว่า 

          ตามปกติไม่ควรวางตี่จู้อยู่หน้าพื้นที่เคลื่อนไหวอย่าง บริเวณหน้าประตู หน้าบันได หน้าห้องน้ำ และหน้าห้องครัว แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องตั้งตี่จู้ที่หน้าบันได การแปะแผ่นหินสักประมาณ 2-3 แผ่นลดหลั่นลงมาตามขนาดแผ่นหินจากเล็กไปใหญ่สามารถช่วยได้ โดยจะต้องติดแผ่นหินที่ขนาดเล็กสุดให้อยู่หน้าสุด และควรมีขนาดใหญ่กว่าด้านบน และด้านซ้าย-ขวาของตี่จู้อย่างน้อยข้างละ 1 นิ้ว แผ่นหินเหล่านี้เปรียบเสมือนภูเขาที่มั่นคง เราจึงเชิญตี่จู้ให้มาตั้งอยู่ ณ ด้านหน้าของแผ่นหินนั้นนั่นเอง

ทิศรอบตี่จู้


ด้านหลังตี่จู้ : ไม่ควรเป็นประตู บันได ห้องน้ำ และห้องครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรตรงกับเตาไฟ
ด้านหน้าตี่จู้ : ควรเป็นเหม่งตึ๊ง เพื่อรองรับโชคลาภบารมีที่จะเข้ามา
ด้านบนตี่จู้ : ไม่ควรวางสิ่งใดไว้เหนือตี่จู้
ด้านใต้ตี่จู้ : ไม่จำเป็นต้องใส่สิ่งใด แต่ต้องการใส่แผ่นเงิน แผ่นทอง หรือจำพวกเพชรนิลจินดาสามารถใส่ได้ เพราะถือเป็น
ธาตุดินไม่ขัดกันกับอำนาจของตี่จู้

ลักษณะของศาลเจ้าที่จีน


          ลักษณะของศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) นั้น สามารถบ่งบอกถึงอุปนิสัยของเจ้าบ้าน หรือ ผู้อยู่อาศัยได้ว่าเป็นอย่างไร และการที่จะพิจารณาลักษณะของตี่จู้นั้น จะมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาหลายประการ

          ลักษณะของศาลเจ้าที่ (ตี่จู้) ที่ดี 
          1. หลังคาของศาลควรจะมี 2 ชั้น ขึ้นไป จึงจะถือว่าใช้ได้ (หลังคาหมายถึงที่รองรับโชคลาภ) 
          2. หลังคาไม่มีลักษณะของ "ผ่าใจกลางโชคลาภ" 
          3. มีเสามังกร 2 คู่ หรือ 4 ต้น 
          4. ด้านหน้าของฐานรอบรั้วมีลักษณะกว้าง ไม่คับแคบเกินไป รอบรั้วไม่โปร่ง หรือ ทึบเกินไป 
          5. ฐานของศาลเจ้าที่ (ตี่จู้) ควรสูงพอดี ไม่เกิน 2 นิ้ว 

          ลักษณะของศาลเจ้าที่ (ตี่จู้) ที่ไม่ดี 
          1. หลังคาของศาล มีเพียงชั้นเดียว หมายถึงโชคลาภมาเพียงรุ่นเดียว 
          2. หลังคามีลักษณะของ "ผ่าใจกลางโชคลาภ" ทำให้ผู้อยู่อาศัย หรือ เจ้าบ้าน เอาแต่ใจตัวเอง ลุ่มหลงในอบายมุข เอาเปรียบผู้อื่น 
          3. ด้านหน้าของฐานรอบรั้วมีลักษณะแคบ รอบรั้วทึบ ฐานแคบ 
          4. ฐานของศาลเจ้าที่ (ตี่จู้) สูงเกินไป ไม่ควรเกิน 2 นิ้ว เพราะจะทำให้เจ้าบ้านเหน็ดเหนื่อย รายได้น้อย รายจ่ายมาก 
          5. ภายในศาลมีลักษณะสกปรก ไม่มีการดูแลศาลให้สะอาด เปรียบเสมือนเจ้าบ้าน หรือ คนในบ้านไม่ดูแลผู้ใหญ่

การอัญเชิญจัดตั้งศาลเจ้าที่จีน


          การจัดตั้งศาลเจ้าที่จีน มีอยู่หลายกฎเกณฑ์ และขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น สำหรับการอัญเชิญตี่จู่เอี๊ยที่จะกล่าวถึงในที่นี้ ได้รับการเอื้อเฟื้อจากอาจารย์หลิวเจิ้งอี้ ซึ่งอาจารย์ได้มีการปรับประยุกต์วิธีการบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งจะคงความเรียบง่าย จัดหาได้สะดวกและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
จึงอาจไม่ครบถ้วนตามที่ถ่ายทอดหรือรับทราบกันมาแต่โบราณ แต่ก็แฝงไว้ด้วยสาระสำคัญอันถูกต้องตามหลักการจัดตั้ง ตี่จูเอี๊ย ดังนี้
          1. ทำความสะอาดในบริเวณที่จะจัดวางเจ้าที่ (ตี่จู้เอี๊ย)
          2. จัดเตรียมของไหว้ตามรายการต่อไปนี้
                      1. กระถางธูป 1 ใบ ซึ่งภายในบรรจุด้วย
                           - เจ๋งจี้ (เมล็ดพืช 5 อย่าง ข้าวเปลือก ข้าวสารยอมสีแดง ถั่วแดง ถั่วเขียว เม็ดสาคู)
                           - ผงขี้เถาที่สะอาด
                           - เหรียญสิบ 5 เหรียญ (ควรใช้เหรียญใหม่วางไว้ในกระถางธูป เพื่อเป็นเคล็ดให้มีเงินมีทอง)
                           - กิมฮวย 1 คู่ และอั่งติ้ว (ผ้าแดง) 1 ผืน
                      2. ธูป 5 ดอก
                      3. เทียนแดงขาไม้ 1 คู่
                      4. แจกันพร้อมดอกไม้สด 1 คู่
                      5. น้ำชา 5 ถ้วย
                      6. ผลไม้ 5 อย่าง
                      7. ขนมถ้วยฟู (ฮวกก้วย) 1 จาน
                      8. ขนมอั่งอี๊ (ขนมบัวลอยแดง) 5 ถ้วย
          3. วิธีการจัดตั้งแบบเรียบง่ายจัดโต๊ะบูชาฟ้าดิน (ทีตี่แป่บ้อ) ไว้หน้าบ้านจุดธูป 5 ดอก ไหว้บูชาเทพยดาฟ้าดินก่อน บอกกล่าวอัญเชิญท่านมาเป็นสักขีและเป็นประธานในการจัดตั้งศาลเจ้าที่ในวันนี้  และผู้อัญเชิญควรเป็นซินแสผู้รู้ หรือผู้ใหญ่ในบ้านเป็นผู้ดำเนินพิธีการ เพื่อให้สมาชิกในบ้านประสบกับความโชคดี สมบูรณ์พูนสุข มั่งคั่งร่ำรวยและมีความสงบสุขร่มเย็นสืบไป

ขอบคุณข้อมูลจาก fengshuitown.com

ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ หมายถึง, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ คือ, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ ความหมาย, ศาลเจ้าที่จีน (ตี่จู้) การตั้งตี่จู้ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu