ไฮกุ (haiku) หรือ Hokku แปลว่า วลีสั้นๆ(short verse) เป็นคำประพันธ์โบราณชนิดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมาประมาณ 400 ปี และมีบทบาทมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไฮกุ เป็นบทกลอนขนาดสั้นในหนึ่งบทประกอบด้วยถ้อยคำรวม 17 พยางค์เท่านั้น เขียนแบ่งเป็น 3 บรรทัด เริ่มจาก 5 พยางค์ 7พยางค์ และ 5 พยางค์ ตามลำดับ มีพื้นฐานคือ เรียบง่าย และ ดั้งเดิม จึงไม่ได้บังคับฉันทลักษณ์แต่ประการใด แต่ในบรรทัดสุดท้ายให้มีการจบแบบหักมุม เป็นจุดที่จะทำให้ผู้อ่านได้คิดหรือเกิดความประทับใจ ส่วนใหญ่กลอนไฮกุ มักเขียนขึ้นจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติและมนุษย์ มีเพียง 3 วรรค แม้จะเป็นคำประพันธ์ที่ไม่มีสัมผัสสระหรือพยัญชนะ สิ่งที่พิเศษนอกจากวรรคสุดท้ายที่ผู้เขียนต้องหักมุมจบแล้ว การเลือกใช้คำง่ายๆ สื่อความหมายตรงๆ ก็เป็นอีกประเด็นของความโดดเด่นไฮกุ
ประวัติไฮกุ
ไฮกุ ได้รับการพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 16 ซึ่งมาจากบทกวีดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า Renga(เป็นบทกวีที่มีแบบแผนเหมือนไฮกุ แต่มีความยาวมากกว่า) ต่อมาในสมัยเอโดะ(ศตวรรษที่ 17) กวีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นในสมัยนั้น มะสึโอะ บะโช(ค.ศ.1644ข1694) ได้ขัดเกลาและสร้างแบบแผน ซึ่งต่อมาในสมัยเมจิได้มีการเรียกการประพันธ์ในแบบนี้ว่าไฮกุ
กวีไฮกุที่มีชื่อเสียง
Basho Matsuo (1644-1694)
Natsume Soseki (1275-1351)
Kobayashi Issa (1762-1826)
Hekigodo Kawahigashi (1873-1937)
ตัวอย่างไฮกุ
Fallen sick on a journey,
In dreams I run wildly
Over a withered moor
Basho, Matsuo. (1644-1694).
Green moss
I sit alone
Serenety.
ตะไคร่เขียว
ฉันนั่งอยู่คนเดียว
สงบงัน.
บทกวีเกริ่นรำพันถึงความเรียง
ที่เขียนเล่าถึงการนั่งคุยอยู่ลำพังข้างในตัวเอง
และฟังเสียงสีเขียวของตะไคร่
(หนังสือ -ขลุ่ยไผ่-ของ พจนา จันทรสันติ)