ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ หมายถึง, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ คือ, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ ความหมาย, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์

กระด้างภัณฑ์ และ ละมุนภัณฑ์ เป็นคำศัพท์ภาษาไทยที่เข้าใจผิดกันว่า ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติไว้สำหรับ ฮาร์ดแวร์ (hardware) และซอฟต์แวร์ (software)

กำเนิดศัพท์
จุดเริ่มต้นของคำ "กระด้างภัณฑ์" และ "ละมุนภัณฑ์" มาจากรัฐสภาไทยซึ่งไม่นิยมใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศ ในการประชุมครั้งหนึ่งมีการเอ่ยถึงซอฟต์แวร์ เดโช สวนานนท์ จึงบัญญัติให้ที่ประชุมใช้ว่า "ละมุนภัณฑ์" ต่อภายหลังจึงเกิด "กระด้างภัณฑ์"

ความเข้าใจผิด
     ประชาชนทั่วไปมักเข้าใจว่า ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้ "กระด้างภัณฑ์" แทนฮาร์ดแวร์ และ "ละมุนภัณฑ์" แทนซอฟต์แวร์ ทั้งยังมักนำไปล้อเลียนกันเป็นที่สนุกปาก แต่แท้จริงแล้ว ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้ดังนี้

- hardware ใช้ทับศัพท์ว่า "ฮาร์ดแวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนเครื่อง" หรือ "ส่วนอุปกรณ์" ก็ได้
- software ใช้ทับศัพท์ว่า "ซอฟต์แวร์" หรือใช้ศัพท์ไทยว่า "ส่วนชุดคำสั่ง" ก็ได้

     นอกจากนี้ ยังมีศัพท์อื่น ๆ ที่เข้าใจผิดอย่างเดียวกัน เช่น "joystick" ที่เชื่อกันว่าราชบัณฑิตยสถานให้ใช้ว่า "แท่งหรรษา" แต่อันที่จริง ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า "ก้านควบคุม"
ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิตซึ่งรับผิดชอบบัญญัติศัพท์ทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงความเข้าใจผิดเหล่านี้ว่า

     "...มีคนพูดอย่างสนุกสนานอยู่เสมอว่า คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ที่ไม่ได้เรื่องออกมาให้ใช้ เช่นคำ 'software' ก็บัญญัติว่า 'ละมุนภัณฑ์' แล้วก็ขยายต่อไปว่า 'hardware' ก็บัญญัติว่า 'กระด้างภัณฑ์' ผมได้ฟังแล้วก็ได้แต่ปลง เพราะคนพูดบางคนเป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้มีความคิดแบบวิทยาศาสตร์ นั่นก็คือ ไม่ได้สอบสวนศึกษาเรื่องแท้จริงก่อนว่า คำศัพท์ที่บัญญัติจริง ๆ คืออะไร แม้แต่หนังสือศัพท์บัญญัติที่ทางราชบัณฑิตยสถานพิมพ์ก็ยังไม่มี เมื่อยังไม่ได้หาข้อมูลจนรู้ข้อเท็จจริง แล้วจะมาพูดวิจารณ์ได้อย่างไร ความจริงก็คือ คณะกรรมการไม่เคยบัญญัติศัพท์แบบนี้เลย คนทั้งหลายได้แต่พูดต่อ ๆ กันไปเองไม่มีมูลเลย หลักฐานอยู่ในหนังสือศัพท์บัญญัติตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน..."

ขณะที่ จินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ให้สัมภาษณ์ว่า

     "...เป็นตราบาปที่ราชบัณฑิตยสถานต้องรับมาอย่างไม่รู้เรื่อง เป็นความเสียหายที่แก้ไม่ได้เสียที แล้วยิ่งคำศัพท์ว่า 'joystick' ที่ไปกล่าวกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า 'แท่งหรรษา' นี่ยิ่งไปกันใหญ่ และเป็นเรื่องที่น่าเกลียดมาก ๆ ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ การบัญญัติศัพท์ย่อมต้องมีหลักวิชาการ และใช้การพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน..."

การล้อเลียนในสื่อ
     แม้ราชบัณฑิตยสถานจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทว่า ยังมีผู้นำเสนอว่าเป็นผลงานของราชบัณฑิตยสถานอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ในรายการเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2554 สรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่า "...เคยบัญญัติศัพท์ 'กระด้างภัณฑ์', 'ละมุนภัณฑ์' มาให้ใช้ แต่มันตลกจนไม่อยากจะใช้..." ซึ่งก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ต นี้มิได้เป็นครั้งแรกที่สรยุทธ สุทัศนะจินดา นำเสนอข้อมูลดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 เขายังเหน็บแนมราชบัณฑิตยสถานด้วยเนื้อความทำนองเดียวกัน และยังกล่าวด้วยว่า ราชบัณฑิตยสถานให้สะกด "มุกตลก" ว่า "มุขตลก" ก็ได้ ทั้งที่ราชบัณฑิตยสถานให้สะกดว่า "มุกตลก" แบบเดียว

     การ์ตูน "ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน" ประจำหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 9 สิงหาคม 2554 ล้อเลียนประเด็นนี้ว่า ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้น คือ Google ว่า อสงไขยสนธิ, Twitter ว่า สำเนียงสกุณา, Hi5 ว่า เบญจสวัสดี และ Facebook ว่า พักตร์ปกรณ์



แหล่งที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์

กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ หมายถึง, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ คือ, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ ความหมาย, กระด้างภัณฑ์และละมุนภัณฑ์ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu