ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

การเชิดมังกร, การเชิดมังกร หมายถึง, การเชิดมังกร คือ, การเชิดมังกร ความหมาย, การเชิดมังกร คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
การเชิดมังกร

          มังกร แม้เป็นสัตว์ในเทพนิยาย แต่ชาวจีนให้ความสำคัญต่อมังกรมาก เพราะมังกรเป็นเทพผู้กำหนดให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลสามารถ ให้ความอุดมสมบูรณ์ต่อพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทั้งยังเป็นสัตว์สิริมงคลที่ชาวจีนนับถือมานาน การเชิดมังกรจะเริ่มเมื่อใดนั้นยากที่จะกำหนดให้แน่ชัดลงไป แต่เนื่องจากมังกรเป็นเทพแห่งลมและฝน สามารถเปลี่ยนลมให้กลายเป็นฝน และกลับก้อนเมฆให้ฝนตกพิธีขอฝน จึงขาดการเซ่นไหว้มังกรไปไม่ได้ จากพิธีกรรมทางศาสนาในการเซ่นไหว้นี้เอง ก็ได้กลายมาเป็นการละเล่นพื้นบ้านในเวลาต่อมา หมิงตงจิงเปิ่งหวาลู่ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งได้กล่าวไว้ว่าการละเล่นของชาวจีนในวันเทศกาลหยวนเชียว ว่า 

          " มีประตูซ้ายขวา 2 ข้าง จะใช้หญ้าผูกมัดให้ดูเป็นรูปมังกรที่หญ้าจะติดดวงไฟไว้เป็นหมื่นดวงแล้วคลุมด้วยผ้าสีเขียวข้างบนอีกครั้ง ดูไกล ๆ เหมือนตัวมังกรคดเคี้ยวไปมา คล้ายมังกรกำลังเหินฟ้าสวยงามยิ่งนำ”

          จากข้อความนี้จะเห็นว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น การแสดงโคมไฟมังกรก็เป็นที่นิยมกันแล้วในปัจจุบันนี้การเชิดมังกรเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ทั้งจีนทางเหนือและทางใต้การแสดงดูจะครึกครื้นมากกว่าการเชิดสิงโตเสียอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชิดมังกรในวันตรุษจีน ซึ่งเป็นงานเชิดที่ยิ่งใหญ่ หรือแม้ในงานแห่เจ้า ก็จะเว้นการเชิดมังกรเงินและมังกรทองเสียไม่ได้เช่นกัน 
              
          การเชิดมังกร จะเชิดในเวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ถ้าเชิดเวลากลาวงวันก็ไม่ต้องมีโคมไฟหรือดวงไฟ ถ้าเชิดกลางคืนดวงไฟต่าง ๆ จะทำให้มังกรดูสวยงามมากขึ้น ทั้งยังสามารถให้ความสว่าง ในเส้นทางที่ขบวนมังกรผ่านอีกด้วย ตัวมังกรจะทำด้วยโครงไม้ไผ่แล้วคลุมด้วยผ้าแพรปักลวดลายสวยงาม โดยเย็บเป็นเกล็ดด้วยผ้าหลากสีก็ได้หรือจะนำเอาหญ้าและแผ่นกระดาษทำเป็นตัวมังกรแล้วตกแต่งด้วยสีสันก็ได้ เมื่อมีคนเชิดตัวมังกรก็ต้องมีอีกคนหนึ่งเชิดลูกแก้ว ทั้งนี้เพราะลูกแก้ว เป็นของวิเศษที่มังกรชอบมากที่สุด บางครั้งก็จะมีคนใส่หน้ากากเป็นพระหัวโตทำหน้าที่ล่อมังกร ให้เดินไปมาในท่าทางต่าง ๆ 
             
          การเชิดมังกรของชาวจีนเหนือที่มีชื่อเสียงคือการเชิดมังกรของอำเภออันฉื่อ มณฑลเหอเป่ย มังกรที่เชิดนี้คือมังกรไฟ ใช้ผ้าขาวมีวาดเป็นเกล็ดด้วยลวดลายสีต่าง ๆ ประกอบเป็นตัวมังกรมีความยาวถึง 9 จิ้นกว่าๆ (1 จิ้น =10ฟุตจีน = 10 นิ้ว) และแบ่งตัวมังกรออกเป็น 9 ช่วง ตามังกรจะใช้ถ่านทำให้มีแสงไฟสว่างดูมีชีวิตชีวายิ่งนักเวลาเชิดก็ต้องอาศัยคนเชิด 9 คน โดยเชิดข้างละคนทำท่ามังกรพลิกตัวคดเคี้ยวไป ข้างหน้ามังกรจะมีคนเชิดดวงไฟล่อมังกรด้วย และข้างหลังมังกรจะมีผู้ติดตามคอยจุดประทัดให้ดังตลอด
           
          ส่วนจีนภาคกลางนั้น การเชิดมังกรที่ขึ้นชื่อก็คือ ที่เมืองฉางซา มณฑลหูหนัน การเชิดที่นี้มีความเป็นมาเกี่ยวกับความเชื่อด้วย เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่ามังกรเป็นเทพ ผู้กำหนดฝนและทำให้คลื่นน้ำแรง ทั้งยังสามารถบันดาลให้หญิงมีบุตรได้ และสามารถรักษาโรคได้ด้วย ดังนั้นการเชิดมังกร ที่นี่จึงแสดงถึงการแสดงความเคารพตัวมังกร และขอให้สมปรารถนาในสิ่งที่บนบานด้วย ดังปรากฏเรื่องราวในบทกลอนที่เรียกว่า ฉาลซาซินเหนียน จี้สูซือบาทกลอนบันทึกเกี่ยวกับงานวันตรุษจีน ของเมืองฉางซา กล่าวได้ความว่า 
            
          " ใช้กระดาษมาทำเป็นมังกรแห่งไปตามถนนผ่านหน้าบ้านใดบ้านนั้นจะจุดธูปบูชามังกร และแสดงความเคารพราวกับเป็นมังกรจริง หญิงแต่งงานแล้ว ไม่มีบุตรก็จะขอให้มังกรกระดาษนั้นมาเต้นรอบ ๆ ผู้หญิงคนนั้น แล้วมังกรทำตัวหดสั้นลง ดูเหมือนตัวกิเลน เอาเด็กนั่งบนตัว กิเลน พิธีนี้เรียกว่า “กิเลนส่งบุตร” (กิเลนเป็นสัตว์สิริมงคลชนิดหนึ่งของจีน) นอกจากนั้น มังกรกระดาษมักจะเอาปอมาทำเป็นหนวดในพิธีนี้ถือว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์นักซึ่งสามารถใช้หนวดมังกรที่เป็นบ่อนั้นมาเผาและรักษาโรคสารพัดชนิด ได้ด้วย 
             
          ส่วนทางจีนใต้หากดูเผิน ๆ แล้วเหมือนว่าการเชิดสิงโตนั้นยิ่งใหญ่และสำคัญมากกว่าการเชิดมังกร ดังเช่นในงานแสดงใหญ่ ครั้งใดก็จะมีแต่เชิดสิงโตอยู่นาน และมังกรออกมาปรากฏตัวเพียงชั่วพริบตาเดียวแล้วก็ไม่ได้มีการแสดงอีก แต่หากจะพิจารณาให้ละเอียดลงไปก็จะเห็นได้ว่ามิได้เป็นเช่นนั้น เพราะต้นทุนในการทำตัวมังกรและสิงโตนั้นต่างกันมากนัก เช่น หากไม่มีคหบดี สนับสนุนแล้วการทำตัวมังกรจะเริ่มขึ้นไม่ได้เลย หัวมังกรก็ต้องใช้ฝีมือและเงินทุนอุดหนุนมาก เมื่อทำมังกรเสร็จแล้วก็ต้องไปเชิญพ่อหมอมาจุดธูปสวดมนต์แล้วเชิญผู้ที่มีชื่อเสียงหรือคหบดีมาพิธีเบิกเนตรมังกรจึงจะมีชีวิตและ สามารถนำออกมาเชิดได้ 
             
          อนึ่งการเชิดสิงโตและเชิดมังกรของจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ประเพณีดังกล่าวได้ถ่ายแบบมาจากจีนใต้ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวจีนได้เข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ พร้อมกับกลุ่มชาวจีนอพยพแม้ว่าวิถีการดำรงชีวิตในแหล่งใหม่จะมีอิทธิพลต่อพวกเขามากแต่การยึดมั่นในประเพณีและความเชื่อที่มีมาแต่โบราณของชาวจีนยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่นับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนที่จังหวัดนครสวรรค์อีกอย่างหนึ่ง

หวง หวา เจี๋ย เขียน
ผศ.พรพรรณ จันทโรนานนท์ ผู้เเปล

ที่มา https://cul.hcu.ac.th


การเชิดมังกร, การเชิดมังกร หมายถึง, การเชิดมังกร คือ, การเชิดมังกร ความหมาย, การเชิดมังกร คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu