ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

สมรสพระราชทาน, สมรสพระราชทาน หมายถึง, สมรสพระราชทาน คือ, สมรสพระราชทาน ความหมาย, สมรสพระราชทาน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
สมรสพระราชทาน

          เกณฑ์การขอ สมรสพระราชทาน นำมาจากหนังสือ “รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับ ราชสำนัก

          หลักเกณฑ์ การขอพระราชทาน ให้ทรงประกอบ พิธีสมรส การขอ พระราชทาน ให้ทรงประกอบ พิธีสมรส ที่เรียกว่าการขอพระราชทาน น้ำสังข์ มี 2 แบบ คือ
        
         1.แบบเป็นทางการ และ
         2.แบบส่วนพระองค์ ซึ่งเรียกว่า น้ำสังข์ข้างที่

          สำหรับหลักเกณฑ์การ พระราชทาน นั้นส่วนใหญ่ขึ้นกับหลักดังนี้

         1.พระราชทาน แก่ผู้ที่ทรงรู้จัก คุ้นเคย
         2.ทรงรู้จัก บิดา มารดา ของผู้ขอพระราชทาน
         3.ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้ขอ พระราชทาน ให้ ในกรณีที่เป็น ตำรวจ ทหาร หรือ พลเรือน ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้อ 1 และ 2
         4.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เป็นกรณีพิเศษ

         ผู้ขอพระราชทาน ต้อง ยื่นหนังสือ ต่อ สำนักราชเลขาธิการ เพื่อขอให้นำความ กราบบังคมทูล พระกรุณา พร้อมทั้งแนบ วันเดือนปีเกิด คู่สมรส และสถานที่ติดต่อ



สรุปลำดับขั้นตอน การขอสมรสพระราชทาน

          1. เขียนคำร้อง แจ้งความประสงค์ เข้าไปที่ สำนักพระราชวัง โดยนำเอกสาร แบบฟอร์ม ขอพระราชทาน น้ำสังข์  จากกองงานฯ มากรอกรายละเอียด  เขียน ประวัติของคู่บ่าวสาว และ ความสัมพันธ์ กับ เชื้อพระวงศ์ หรือถ้ามีคนใน ครอบครัวคนใดมีโอกาสได้ ถวายงาน ก็ให้เขียนรายละเอียดลงไปด้วยจะเป็นการดี  และเราสามารถระบุช่วงเวลาที่เราต้องการได้ เช่น ระหว่างปี 2549-2550 จากนั้นก็รอ หมายแจ้ง จากทาง สำนักพระราชวัง

          2. ทางสำนักพระราชวัง แจ้งหมายกำหนดการวันเวลา และ สถานที่ที่จะทำการเข้าเฝ้าฯ  ช่วงระยะเวลาการรอจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่  ขึ้นกับจำนวนผู้ที่ทำเรื่องไว้ก่อนแล้ว และ ความสัมพันธ์ ที่มีต่อ พระราชวงศ์องค์ นั้นๆ

          3. แจ้งรายชื่อผู้ติดตามทั้งหมด (บิดา-มารดา และพยานของทั้งสองฝ่าย) ตาม หนังสือระเบียบการ แจ้งว่าให้มีผู้ติดตามทั้งสองฝ่าย  รวมกันไม่เกิน 8 ท่าน (รวม คู่บ่าว-สาว เป็นทั้งหมด 10 ท่าน)

          4. ถ้าต้อง การจดทะเบียนสมรส ในวันนั้น ให้ เตรียมเอกสาร ตามที่ระบุ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน  และค่าธรรมเนียม 200 บาทให้ทาง สำนักพระราชวัง ก่อนวันเข้ารับ พระราชทาน น้ำสังข์

          5. ทาง สำนักพระราชวัง จะกำหนดวันนัดซ้อมก่อนวันเข้าเฝ้าฯ

          6. นัดซ้อมอีกครั้งในวันจริงพร้อมกันทั้งหมด (คู่บ่าว-สาว และ ผู้ติดตาม หรือสักขีพยาน) ซึ่งทาง สำนักพระราชวัง จะนัดให้ไปถึงก่อน ฤกษ์ ประมาณ 3 ชั่วโมง และจะมีเจ้าหน้าที่คอยกำกับบอกแก้ไขจุดที่บกพร่องอีกครั้ง  ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดว่าเราต้องทำอะไร อย่างไรในตอนเข้าเฝ้าฯ เพราะทางเจ้าหน้าที่เค้าจะคอยฝึกสอนให้

          7. การแต่งกาย 
          ชาย: ถ้าเป็น ข้าราชการ ให้แต่ง เครื่องแบบเต็มยศ  ถ้าเป็นพลเรือนให้ใช้ชุดราชประแตน พร้อมติดเครื่องหมายเข้าเฝ้าที่คอ เสื้อ 
          หญิง: ใส่ ชุดไทยบรมพิมาน (ไม่กำหนดสีหรือชนิดของผ้า) แต่ ชุดไทยบรมพิมาน ที่ถูกต้อง ต้องไม่มี ผ่าหลัง หรือ ผ่าหน้า  เพราะจะไม่สุภาพเวลาก้มกราบ และ หมอบคลาน แนะนำให้ ช่างเสื้อ จับจีบหน้านาง ประมาณ 2 จีบ ซึ่งจะกว้างกำลังดี ทำ ให้เรา หมอบกราบ ได้สะดวก ในวัน ลองชุด ควรลองหมอบ กราบ และ คลานเข่า ส่วนเรื่อง รองเท้า ไม่อนุญาตให้มี สายคาด หรือ สายรัดข้อเท้า ต้องเป็นแบบสวม หุ้มส้น เท่านั้น 
 
          เครื่องประดับ ก็ควรใส่เพียงน้อยชิ้น ไม่มีควร เป็น ระย้าห้อย ตุ้งติ้ง  เพราะต้องมีการ ก้มกราบ หลายครั้ง เกรงว่า สร้อยหรือ ตุ้มหู จะพันกันเอง หรือพัน เส้นผม ได้ และจะทำให้แลดูไม่งาม  ส่วน สักขีพยาน ที่เป็น ผู้หญิง ให้ใช้ ชุดไทยจิตรลดา

          8. แบบผม ของ ผู้หญิง ควรเป็นทรงที่เรียบร้อย ไม่รุงรัง และไม่ฉีดสเปรย์ ใส่ผมมากเกินไป จนเหนียวเหนอะหนะ เพราะอาจทำ ให้มีปัญหาในการ ทัดใบมะตูม ได้

          9. เตรียม พานดอกไม้ ธูปเทียน สำหรับวันที่เข้าเฝ้าฯ หรือในวันจริง ถ้าเกรงว่าจะไม่ถูกต้องตาม ประเพณี ก็สามารถให้ทาง พระราชวัง เตรียมให้  โดยให้ไปติดต่อแจ้งความจำนง และชำระเงินไว้ เมื่อถึงเวลาเข้าเฝ้าฯของเรา ทางเจ้าหน้าที่จะเป็นคนจัดการนำมาวางไว้ให้ที่โต๊ะ

          10. เมื่อเสร็จพิธีในส่วนของเราแล้วก็สามารถกลับได้เลย ไม่ต้องรอให้ทำพิธีจนครบทุกคู่ (ปกติวันที่ทรงพระราชทานน้ำสังข์ จะ มีประมาณ 6-8 คู่ ทางสำนักพระราชวัง จะเป็นคนกำหนดแจ้งลำดับก่อนหลังมาให้)



เกร็ดเล็กๆน้อยๆจากเจ้าสาวรุ่นพี่

          • อยากขอเตือนเรื่องชุดของเจ้าสาว ที่ใส่ในวันเข้า พิธี สมรสพระราชทาน นะคะ ว่าควรจะเตรียมให้เรียบร้อยตั้งแต่เนิ่นๆ

          • ช่างภาพที่ในวังบอกมาค่ะ ว่าตอนหมอบกราบให้สวย ต้นขาซ้ายที่พับเพียบต้อง ตั้งฉากกับ พระเก้าอี้  แปลว่าต้องยืดลำตัวออกไปยาวๆ นะคะ   แล้วเวลากราบ ไม่ต้องก้มหน้ามากค่ะ เงยนิดๆเวลาถ่ายรูปจะได้เห็นหน้า

          • ชุดไทยบรมพิมาน จะทำให้เอื้อมมือลำบาก ถึงแม้ว่าจะไม่แน่นมาก แต่ก็เอื้อมมือลำบากเหมือนกันค่ะ

          • เราไม่สามารถจะจับ กระโปรง เวลานั่งหรือยืนได้ อันนี้ต้องระวังไม่เหยียบชายกระโปรง ตัวเองนะคะ

          • เครื่องประดับ ส่วนใหญ่แล้วก็จะใส่ไม่มากชิ้นกันค่ะ แต่ว่า สร้อยคอ เวลาใส่แล้ว ควรเย็บเนา ติดกับ คอเสื้อ ด้านหลัง เวลากราบจะได้ไม่เลื่อนไปมา ติดเข็มกลัดไม่ค่อยอยู่ค่ะ

          • การรับพระราชทาน ใบมะตูม ผู้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานจะยกมือขวาขึ้น "เอางาน" ก่อนรับพระราชทาน  เมื่อ รับพระราชทาน แล้วให้ เหน็บใบมะตูม ที่ซอกเหนือหูขวา  ค่อยๆ ทัดให้มั่นใจว่าอยู่แน่นแล้ว  ไม่ต้องรีบร้อน

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://www.thaiweddingmall.com/wedding/Content/ContentDetail.asp?ContentID=419


สมรสพระราชทาน, สมรสพระราชทาน หมายถึง, สมรสพระราชทาน คือ, สมรสพระราชทาน ความหมาย, สมรสพระราชทาน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu