ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

หลักในการทำอาหารเจ, หลักในการทำอาหารเจ หมายถึง, หลักในการทำอาหารเจ คือ, หลักในการทำอาหารเจ ความหมาย, หลักในการทำอาหารเจ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
หลักในการทำอาหารเจ

          ชาวต่างประเทศจำนวนมากที่เดินทางไปประเทศจีน มักจะพากันแปลกประหลาดใจ เมื่อได้พบเห็นภัตตาคาร ซึ่งบริการ "ปรุงอาหารตามใบสั่งแพทย์" มูลเหตุที่สร้างความฉงนสงสัยให้แก่บรรดาผู้มาเยือน ก็เนื่องด้วยทางภัตตาคารจะบริการอาหาร ให้แต่เฉพาะผู้ที่มี "ใบสั่งอาหารของแพทย์" เท่านั้น นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่เคยทราบเลยว่า ลูกค้าที่เข้าไปในภัตตาคารดังกล่าว เป็นคนไข้ที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และอยู่ในระหว่าง "การบำบัดโรคด้วยอาหารตามหลักเวชศาสตร์โบราณ"  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่แตกต่างไปจากการรักษาโรคโดยให้ผู้ป่วย "กินยา ตามใบสั่ง" ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์แผนปัจจุบันชาวตะวันตกนิยมปฏิบัติ แต่ในหมู่ชนชาวจีนมีคำกล่าวว่า "อาหารและยามาจากแหล่งเดียวกัน" คำพูดนี้ได้บ่งชี้ว่า อาหารก็คือยานั่นเอง 

          หลักการแพทย์ของจีนมุ่งเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้ร่ายกายเจ็บป่วย โดยวิธีดูแลรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่บำบัดอาการเมื่อเกิดเจ็บป่วยขึ้นแล้วเท่านั้น แพทย์จีนกล่าวว่า "หัวใจของการมีสุขภาพที่ดี คือ การกินที่ถูกต้อง เพราะอาหารที่คนเรารับประทานเข้าไปแต่ละวัน มีผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก" "อาหารเจ" เป็นอาหารที่ปรุงโดยปราศจากเนื้อสัตว์รวมทั้งไม่มีส่วนประกอบอื่นใด นำมาจากสัตว์ทุกประเภท และที่สำคัญอาหารเจ งดเว้นการปรุงการเสพพืชผักฉุน 5 ประเภทอันได้แก่

          1 กระเทียม (หมายรวมไปถึง หัวกระเทียม ต้นกระเทียม)  
          2 หัวหอม (หมายรวมไปถึง ต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่)  
          3 หลักเกียว (คือกระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดเล็กและยาว กว่า ในประเทศไทยไม่พบว่าปลูกแพร่หลาย)  
          4 กุ้ยฉ่าย (ใบคล้ายใบหอม แต่แบนและเล็กกว่า)  
          5 ใบยาสูบ (บุหรี่ ยาเส้น ของเสพติดมึนเมา) 

          ผักดังกล่าวเหล่านี้ เป็นผักที่มีรสหนัก กลิ่นเหม็นคาวรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพิษที่ทำลายพลังธาตุทั้ง 5 ในร่างกาย เป็นมูลเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ สำหรับผู้ปฏิบัติสมาธิฝึกจิต ไม่ควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เพราะผักดังกล่าวมีฤทธิ์กระตุ้นจิตใจอารมณ์ให้เร่าร้อนใจคอหงุดหงิดง่าย และยังมีผลทำให้พลังธาตุในกายรวมตัวกันได้ยาก เพราะฉะนั้น โดยหลักเกณฑ์ที่มีมาแต่ครั้งบรรพกาลกล่าวได้ว่า "อาหารเจ" หรือ "อาหารของคนกินเจ" จึงเป็นอาหารที่ปรุงและรับประทานตามหลักเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์โบราณของจีนนั่นเอง

          ปัญหาที่มีผู้ถามกันมาก คือ กระเทียม ซึ่งทางการแพทย์และเภสัชค้นพบว่า มีสารที่สามารถละลายไขมันในเส้นโลหิต (คลอเลสเตอรอล) จึงใช้รับประทานเป็นยาได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดโลหิตเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตัน เป็นต้น ในเรื่องนี้เป็นความจริงทีเดียว แม้ทางการแพทย์แผนโบราณของจีนก็ยืนยันตรงกันว่ากระเทียมเป็นสมุนไพรรักษาโรคได้ "แม้ว่ากระเทียมจะเป็นยาดี แต่เนื่องจากมีความระคายเคืองสูง ผู้ที่เป็นโรคกะเพาะหรือกะเพาะอาหารเป็นแผลและโรคตับอย่ากินมาก" (จากหนังสือ อาหารเป็นยาได้ เล่ม 2 โดย วีรชัย มาศฉมาดล) แต่ในกรณีของคนปกติทั่วๆ ไปที่ร่างกายไม่ได้ป่วยเป็นโรคใดๆ เลย ทำไมจึงต้องรับประทานยาเข้าไปทุกๆ วัน ฉะนั้นจึงเข้าทำนองเดียววักนับ คนที่ไม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัด แต่ก็ยังคงกินยาแก้หวัดเข้าไปเป็นประจำทุกๆ วัน ผลก็คือ แทนที่จะเป็นผลดีกลับกลายเป็นผลร้าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเสียอีก

          ขอยกตัวอย่างในกรณีของผักฉุนอีกชนิดหนึ่งที่คนกินเจไม่รับประทานได้แก่ หอมแดง ซึ่งกล่าวไว้ในตำราสมุนไพรที่นักเภสัชศาสตร์ปัจจุบัน พบว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาโรคโดยวิธี "นำหอมแดงหัวสดๆ หนัก 15-30 กรัม มาต้มแล้วดื่ม จะช่วยขับพยาธิ ขับลม แก้ท้องอืดแน่น ปวดประจำเดือน และอาการบวมน้ำ" แต่ในท้ายก็ได้ระบุพิษร้ายของมันไว้ด้วยว่า "ในกรณีที่บริโภคอยู่เป็นประจำหรือกินมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการหลงลืมง่าย ประสาทเสีย มีกลิ่นตัว ฟันเสีย เลือดน้อย และนัยน์ตาฝ้ามัว" (จากหนังสือ พืชสมุนไพรใช้เป็นยา เล่ม 8 โดย ภูมิพิชญ์ สุชาวรรณ) เพราะฉะนั้น เราจึงควรศึกษาให้ถี่ถ้วนลึกซึ้งถึงคุณและโทษของผักฉุนทั้ง 5 ให้รอบคอบเสียก่อน ไม่เป็นการฉลาดเลยที่จะรับประทานสิ่งใดก็ตาม โดยมองเห็นแต่ด้านดี จนไม่ใส่ใจในโทษของมันบ้างเลย ผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ที่คนกินเจไม่บริโภค 1 กระเทียม (GARLIC) 2 หัวหอม (ONION) 3 หลักเกียว (หัวกระเทียมโทนของจีน) ไม่พบว่ามีการปลูกแพร่หลายในประเทศไทย) กุ้ยฉ่าย (CHINESE CHIVE) 5 ใบยาสูบ (TOBACCO)

ถั่วทั้ง 5 สี ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

  1. ถั่วแดง (RED BEANS)
  2. ถั่วดำ (BLACK BEANS)
  3. ถั่วเหลือง (SOY BEANS)
  4. ถั่วเขียว (GREEN BEANS)  
  5. ถั่วขาว (WHITE BEANS)

 อาหารเจสำหรับคนไทยสามารถทำได้ทุกอย่างโดยใช้เครื่องปรุงเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ดังนี้

  1. เนื้อสัตว์ ใช้แทนด้วย เห็ดต่างๆ เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ หมี่กึน โปรตีนเกษตร
  2. น้ำปลา ใช้แทนด้วย ซีอิ้วขาว เกลือป่น ซอสถั่วเหลืองปรุงรส
  3. กระปิ ใช้แทนด้วย ถั่วหมัก เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ แต่ปัจจุบั้นกระปิเจ ปลาร้าเจ ก้มีจำหน่ายแพร่หลายในรายขายของชำ
  4. น้ำมันหมู ใช้แทนด้วย น้ำมันพืช โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลือง
  5. กระเทียม ใช้แทนด้วย งาขาวคั่ว

ข้อควรปฏิบัติ

          1. ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขาวขัดสี ควรบริโภคเป็นประจำ หรือผสมกับข้าวขาวในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ก็ได้

          2. การได้รับประทานสาหร่ายทะเลทั้งสดและแห้ง พร้อมทั้งใช้เกลือทะเลมาปรุงลงในอาหาร ทั้ง 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี

          3. งาขาวและงาดำ ในอาหารและขนมคนกินเจควรใช้งาปรุงผสมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นงาขาวหรืองาดำ เพราะในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิค (LINOLEIC ACID) ซึ่งจำเป็นต่อร่างกายมาก แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
สำหรับผู้ทำอาหารเจรับประทานเอง ให้นำงาขาวมาล้างเอาผงฝุ่นออกจนสะอาดดี ตักใส่ตะแกรงทิ้งไว้ให้หมาดแล้วใช้ไฟอ่อนๆ คั่วในกระทะจนสุกเหลือง พอเย็นจึงนำมาโขลกหรือปั่นให้แตกด้วยเครื่อง จะทำให้ได้ประดยชน์จากน้ำมันที่อยู่ในเมล็ดดียิ่งขึ้น งาที่บดแล้วจะมีกลิ่นหอมสามารถนำใช้ปรุงอาหาร และขนมได้ทุกประเภท ทำให้มีรสดี หมอน่ารับประทาน โดยปกติผู้ที่กินเจควรรับประทานงาในปริมาณวันละ 2 ช้อนโต๊ะ ก็นับว่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

          4. อาหารเจไม่ควรปรุงรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด ขมจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด รสชาติที่จัดมากๆ จะส่งผลให้ไม่ดีต่อวัยวะหลักภายในร่างกาย

          5. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง เครื่องกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ควรหันมารับประทานอาหารสดที่ปรุงใหม่ๆ จะให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า

          6. เครื่องดื่ม คนกินเจควรดื่มน้ำผลไม้สดๆ ตามธรรมชาติ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำสับปะรด น้ำอ้อย น้ำมะพร้าว น้ำใบบัวบก น้ำมะตูม ฯลฯ
น้ำผลไม้ดังกล่าวจะทำให้ร่างกายและผิวพรรณสดชื่น เปล่งปลั่ง เราควรงดน้ำหวานที่ปรุงแต่งรส และเจือสีสังเคราะห์ เพื่อหลีกเลี่ยงพิษภัยจากสิ่งปนปลอม
นอกจากการดื่มน้ำผลไม้สดๆ แล้ว ทุกคนต้องดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 8 แก้ว เป็นประจำ

          ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นหลักความรู้ในการปรุงและบริโภคอาหารเจ ซึ่งคนกินเจต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งพลานามัยที่สุขสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วิธีกินอาหารเจให้ปลอดภัย

          นักโภชนาการกระทรวงสุขภาพแนะ 5 เคล็ดลับกินอาหารเจให้ถูกวิธี กินอาหารให้ครบ 5 หมู่  กินผักให้หลายชนิด หลีกเลี่ยงอาหารเจมันๆ จัดๆ ที่สำคัญก่อนซื้อควรดูป้ายตลาดสดน่าซื้อด้วย

          นายสง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การงดเว้นกินเนื้อสัตว์ช่วงเทศกาลถือศีลกินเจถือเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนกินผัก อย่างไรก็ตามการกินเจให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ ไม่ขาดสารอาหารโปรตีน คือ

          1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหมวดโปรตีนได้จากถั่วเมล็ดแห้ง รับประทานควบคู่ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือจะได้โปรตีนจากพืชทัดเทียมจากเนื้อสัตว์

          2.รับประทานผักหลากหลายชนิด ไม่ควรกินผักอย่างเดียวซ้ำ ๆ เพื่อให้ได้วิตามินเกลือแร่ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษ นอกจากนั้นต้องล้างผักให้สะอาด เพราะถ้าล้างไม่สะอาดเท่ากับว่าอาหารเจจานนั้นเป็นศูนย์รวมของสารพิษ

          3.พยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารเจที่รสมันจัดจากอาหารประเภทผัด รสเค็มจัดจากการใส่เต้าเจี้ยว ซอส และเกลือ เนื่องจากรสเค็มทำให้ภาวะ ความดันโลหิตสูงได้

          4.กินอาหารเจให้หลากหลายชนิด อย่ากินอย่างเดียว เมนูอาหารเจควรเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ สำหรับผักสะอาดปลอดภัยซื้อได้จากตลาดสดที่ได้ป้ายรับรองเป็น “ตลาดสดน่าซื้อ” อาหารมีป้ายคลีน ฟู้ดส์กู๊ดเทส ของกรมอนามัย

ที่มา www.vithi.com, www.banfun.com, www.srisangworn.go.th

 

หลักในการทำอาหารเจ, หลักในการทำอาหารเจ หมายถึง, หลักในการทำอาหารเจ คือ, หลักในการทำอาหารเจ ความหมาย, หลักในการทำอาหารเจ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu