ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน คือ, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน ความหมาย, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน

          วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๓๕ เป็นวันที่ได้มีการจัดตั้งสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรกใน สมัยรัชกาลที่ ๕ โดยทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก) ทดลองจัดระเบียบการปกครองระดับตำบล หมู่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านและเป็นการเน้นให้เห็น ความสำคัญของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการปฏิบัติภารกิจ "บำบัดทุกข์ บำรุงสุข" ให้แก่ประชาชน ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ ๑๐ สิงหาคม ของทุกปี เป็น " วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน "

          ในอดีตที่ผ่านมา ระบบการปกครองบ้านเมืองของประเทศไทย มีลักษณะค่อนข้างกระจายอำนาจ กล่าวคือ มีการแบ่งเขตการปกครอง และกำหนดวิธีปกครองหัวเมืองต่างๆ ไว้ชัดเจนเพื่อควบคุมเจ้าเมืองโดยมีศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางแต่ในทางปฎิบัติ ส่วนกลางหรือพระมหากษัตริย์กลับมีอำนาจจำกัด ในขณะที่เจ้าเมืองต่างๆ มีอำนาจมากขึ้น นอกจากนี้แล้วระบบการปกครองเช่นนี้ยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อีก เช่นปัญหาทางด้านการคมนาคมสื่อสาร การรั่วไหลในการเก็บภาษีอากร อิทธิพลของผู้เป็นใหญ่ในท้องถิ่น ตลอดจนความทุกข์ยากของประชาชน และยังต้องเผชิญกับอิทธิพลของต่างประเทศในยุคล่าอาณานิคม ทำให้การบริหารประเทศขาดประสิทธิภาพ และขาดความเป็นเอกภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีพระราชดำริที่จะปฎิรูประบบการบริหารราชการจากรูปแบบการปกครองที่มีเมืองแม่และเมืองประเทศราชอยู่ในปกครอง ซึ่งนับว่ามีจุดอ่อนตรงที่ขาดความเป็นเอกราช อันอาจนำไปสู่ความแตกแยก ขาดความสามัคคีและขาดความจงรักภักดีได้โดยง่าย มาเป็นรูปแบบการปกครองและการบริหารราชการ ที่แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

          การปฎิรูประบบการบริหารราชการส่วนกลาง พระองค์ได้ทรงประกาศพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงใหม่ขึ้น ๑๒ กระทรวง โดยทรงเลียนแบบมาจากประเทศทางตะวันตก มีการแบ่งสรรอำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบ แยกตามลักษณะความชำนาญเฉพาะอย่าง และพระมหากษัตริย์สามารถควบคุมบังคับบัญชาเหล่าเสนาบดีได้อย่างทั่วถึง การปฎิรูปการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พระองค์ทรงรวบรวมหัวเมืองตามชายแดนที่สำคัญๆ รวมเป็นเขตการปกครอง เรียกว่า" มณฑล "โดยมุ่งมั่นที่จะปกป้องประเทศจากการคุกคามจากภายนอกโดยจัด ระบบที่เรียกว่า ระบบเทศาภิบาล มีหัวเมืองต่างๆ มารวมกันเป็นมณฑลและมีจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ลดหลั่นกันไป โดยมีข้าหลวงมณฑลเป็นผู้รับผิดชอบ และปกครองโดย รับคำสั่งและนโยบายจากส่วนกลาง

          ในการปฎิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาค โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการโดยเริ่มจากโครงการเล็กก่อน เมื่อสำเร็จและจัดระบบดีแล้วจึงค่อยขยายผล และมีการทดลองเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ขึ้นเป็นครั้งแรกที่แขวงบางปะอินเมืองกรุงเก่า หรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มแรกของการปกครองในระบอบระชาธิปไตย ลักษณะการปกครองเช่นนี้ปรากฎเด่นชัดขึ้น เมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ ขึ้นใช้ ซึ่งมีการแบ่งการบริหารราชการของอำเภอออกเป็นตำบลและหมู่บ้าน กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศ ให้วันที่ ๑๐ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันกำนันผู้ใหญ่บ้าน

ที่มา https://www.phrae.go.th/dopaphrae/page8.htm


วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน หมายถึง, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน คือ, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน ความหมาย, วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu