ต้องเรียกว่าเป็นวัฏจักรที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้หญิงทุกคน ที่ครั้งหนึ่งในชีวิต ต้องมีงานแต่งงาน และตามมาด้วยการมีทายาท และหลายคนที่เป็นนักขับตัวยงนั้น ก็มักจะเกร็งยามที่เรามีน้อง อาจจะไม่เหมาะแก่การขับรถ แต่ความจริงแล้ว เรื่องนี้อาจจะไม่ได้น่ากลัวกันอย่างที่เราคิดก็ได้
ประเด็นเรื่องการขับรถของคนท้องนั้น ไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมในการขับขี่ หากแต่อยู่ที่ความเหมาะสมในการขับรถที่อาจจะไม่สะดวกสบาย เมื่อคุณมีอีกชีวิตร่วมเดินทางไปกับคุณ และวันนี้ เรามาหลากเทคนิคดีๆ ที่จะมาบอกเล่ากันอีกครั้ง
1.รู้ความเสี่ยง ไม่ว่าคุณอ่านต่อไปแล้วจะทำยังไง ในการขับรถ จำไว้ว่าการขับรถมีความเสี่ยงและเมื่อคุณมีครรภ์ความเสี่ยงก็จะตกอยู่กับลูกของคุณด้วย มีวิจัยใมนสหรัฐอเมริกาที่ระบุว่า คุณมีโอกาสแท้งลูก 3 เท่าและ เลือดตกในถึง 2 เท่ หากเกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่และแม้จะชนไม่แรง ก็ยังมีโอกาสแท้งลูก 5% แต่จากการศึกษาล่าสุด พบว่า ในจำนวนดังกล่านั้น มีกว่า 68% ที่ไม่ยอมคาดเข็มขัดในขณะขับขี่ และปรับท่านั่งไม่ถูกต้อง
2.ท่านั่งที่เปลี่ยนไป คุณต้องเข้าว่าไม่ได้ขับคนเดียว เมื่อคุณคิดและมุ่งมั่นแน่แล้วว่าจะขับรถขณะมีครรภ์ จำไว้ว่าทุกสิ่งที่ต้องปฏิบัตินั้นให้ยึดหลักว่า มีอีกคนอยู่กับเรา ที่คงต้องเริ่มตั้งแต่ท่านั่งให้ปรับถอยหลังจากเดิมห่างพวงมาลัยมาขึ้นราวๆ 10 เซนติเมตร ห้ามนั่งใกล้พวงมาลัย และปรับเบาะเอนเล็กน้อย รวมถึงปรับพวงมาลัยให้สูงขึ้น เพื่อไม่ให้แอร์แบกนั้นกระแทกเข้าท้อง เมื่อเกิดการทำงาน แต่ทั้งหมดนั้นคุรต้องให้สามารถควบคุมคันเร่งได้เหมือนเดิม
3.คาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกวิธี จงจำไว้ว่าแม้จะท้องคุณก็ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยอย่าเอาความรู้สึกว่ามันจะอึดอัดคับพุงมาเป็นข้ออ้างเพราะเข็มขัดนิรภัยนี้ช่วยคุณและลูกในการไม่กระแทกกับพวงมาลัย ยามเกิดอุบัติเหตุ จริงอยู่เมื่อคุณท้องใหญ่ขึ้นจากเดิม คงจะยากที่จะคาดเข็มขัดนิรภัย แต่วิธีคาดนั้นก็ไม่ยาก ให้เว้นสามเหลี่ยมนั้นระหว่างช่วงท้อง โดยสายบนนั้นควรอยู่ช่วงราวนมและคอ ส่วนสายล่างให้ปรับไม่ให้ตึงมากและวางไว้ใต้พุง
4.ลูกไม้แก้ปวดช่วยได้ หลายคนที่ขับรถขณะตั้งครรภ์คงจะต้องเคยเจออาการปวดหลัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรมากมายนัก การที่คุณมีน้องอยู่ที่หน้าท้อง แต่ปัญหานี้จะหมดไปถ้าหาลูกไม้แก้ปวดมาติดตั้งไว้ที่เบาะ ซึ่งมันคืออุปกรณ์นวดหลังดีๆ และไม่มีปัญหาใดๆต่อเด็กในครรภ์
5.อย่าใช้ความเร็ว เมื่อทุกอย่างพร้อมก็จำไว้ว่าคุณต้องขับรถไม่เร็วเกินไปส่วนหนึ่งคือเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น อีกส่วนหนึ่งคือลดอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งการใช้ความเร็วไม่มากนัก ทำให้คุณลดความเสี่ยงการแท้งลูก แต่ยังสามารถขับรถได้อย่างปลอดภัย
ทั้ง 5 ข้อนี้น่าจะช่วยให้คุณสามรถขับรถช่วยตัวเองได้ในเรื่องการเดินทางยามคุณมีน้อง แต่จากคำแนะนำของแพทย์เรื่องสูตินารีเวชในสหรัฐก็เปิดเผยอีกว่า เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 หรือ 12 สัปดาห์ก่อนคลอดนั้น ควรงดกิจกรรมขับรถเพื่อความปลอดภัย
ที่มาข้อมูลและภาพ baanbaimai.com