ประวัติวันครู
วันครูได้จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หลังจากพระราชบัญญัติครูประกาศใช้ ๑๒ ปี สถานที่จัดงานวันครูครั้งแรกของจังหวัดพระนครและธนบุรี คือ กรีฑาสถานแห่งชาติ
จุดเริ่มต้นของการมีวันครู มาจากการปรารถและการเรียกร้องของครูจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งปรากฎในหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนอื่น ๆ หลายด้านหลายทาง ความเห็นของครูที่แสดงออกมานั้นพยายามที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของครูและอาชีพครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก จึงควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เปิดโอกาสให้ครูทั้งหลายได้พักผ่อน ได้บำเพ็ญกุศล และตลอดจนดำรงกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของครู และการศึกษาของชาติตามสมควร จากความต้องการและการเรียกร้องของครูดังกล่าว จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้นำไปเสนอในที่ประชุมผู้แทนคณะครูทั่วประเทศในคราวประชุมสามัญของคุรุสภาะมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่ประชุมสามัญของคุรุสภามีมติเห็นชอบและให้เสนอคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาพิจารณาเพื่อกำหนดให้มีวันครูขึ้น
โดยกำหนดความมุ่งหมายไว้เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูกับประชาชน ส่วนกำหนดวันเห็นควรกำหนด วันที่ ๑๖ มกราคม ซึ่งเป็นวันประกาศพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช ๒๔๘๘ ในราชกิจจานุเบกษา เป็นวันครู คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อศึกษารายละเอียด คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมในงานวันครูควรมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ในตอนบ่ายเป็นพิธีระลึกพระคุณบูรพาจารย์และปฏิญาณตน นอกนั้นให้มีกิจกรรมพิเศษเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพครูด้วยกันและระหว่างครูกับประชาชน
สำหรับคำปฏิญาณตนนั้น ให้ใช้ถ้อยคำต่อไปนี้