ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ หมายถึง, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ คือ, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ ความหมาย, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ

รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ
ยิ่งร้านไหนปรุงอาหารได้จัดจ้านก็ยิ่งได้รับความนิยมอย่างแน่นอน ซึ่งคุณรู้ไหมว่า เจ้ารสชาติแซ่บๆ นี่แหละที่เป็นเหมือนเพชรฆาตเงียบอันน่าสะพรึงกลัว

จงระวังรสจัดจ้าน
ก่อนจะเข้าสู่โหมดเชียร์การรับประทานรสจืด เราขอชวนทุกท่านมาทำความรู้จักกับสารพัดความอันตรายที่ตามติดมากับรสชาติของอาหารแต่ละชนิดกันก่อนดีกว่าว่าจะร้ายแรงเพียงใด

รสเค็ม
รสเค็มคือรสชาติหนึ่งที่หลายคนชื่นชอบ แม้เราต่างรู้กันดีอยู่แล้วว่า ความเค็มที่มากเกินไปจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพ ซึ่งอาหารไทยหลายชนิดมีส่วนผสมของเกลือในปริมาณสูง โดยความเค็มยังแอบซุกซ่อนอยู่ในอาหารสำเร็จรูปอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นขนมอบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ผักดอง และซอสต่างๆ

นอกจากนี้ อาหารตามธรรมชาติบางอย่างก็ยังมีโซเดียมสูง เช่น อาหารทะเลและเนื้อสัตว์ต่างๆ นั่นจึงหมายความว่า เวลาที่เราจะรับประทานอะไรก็ควรต้องระมัดระวังในการปรุงรสพอสมควร มิฉะนั้นอาจสุ่มเสี่ยงต่อโรคภัยที่เกิดจากการบริโภคโซเดียมสูงเกิน

สำหรับโทษของการกินเค็มจัดคือ ทำให้เป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง แต่ความอันตรายยังไม่หมดอยู่เพียงเท่านั้น เพราะความเค็มยังอาจก่อให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ โรคหัวใจ อาการบวม หัวใจวาย ริดสีดวง ไมเกรน และภาวะกระดูกบาง ซึ่งถ้าเราทานเกลือให้น้อยลงจะส่งผลให้การทำงานของอินซูลินดีขึ้น

รสหวาน
เมื่อพูดถึงที่มาของความหวาน น้ำตาลก็คือสิ่งที่หลายคนนึกถึง ซึ่งเจ้าน้ำตาลหวานหยดนี่แหละที่ถูกจัดให้อยู่ในอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกายในทันทีที่กินเข้าไป ส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าคุณเป็นผู้ที่หลงใหลในความหวานก็ควรระวังไว้สักนิด เพราะหวานมากไปก็ทำให้อ้วน เนื่องจากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปจนก่อให้เกิดไขมันสะสม

นอกจากนี้ อาหารรสหวานยังเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขาดความสมดุล ตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมามากกว่าปกติเพื่อกำจัดปริมาณน้ำตาลในเลือด ยิ่งคนเป็นเบาหวานกินหวานมากเท่าไรก็จะยิ่งให้ตับอ่อนทำงานหนัก และเป็นอันตรายมากเท่านั้น

รสเปรี้ยว
รสเปรี้ยวจี๊ดจ๊าดมีคุณสมบัติสำคัญในการกระตุ้นตับและถุงน้ำดีให้ปล่อยน้ำย่อย ช่วยในการดูดซึมอาหารของร่างกาย ฟอกเลือด เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับเสมหะ และแก้เลือดออกตามไรฟัน ซึ่งการรับรสเปรี๊ยวจากธรรมชาติอย่าง มะนาว มะกรูด มะขาม มะม่วงดิบ หรือสับปะรด นับว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมากนัก แต่ถ้าเป็นความเปรี้ยวที่มาจากสารสังเคราะห์อย่าง น้ำส้มสายชู หากบริโภคมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นเดียวกันกัน โดยโรคที่มากับอาหารรสเปรี้ยวคือ ท้องเสีย ร้อนใน ระบบน้ำเหลืองในร่างกายมีปัญหา และกระดูกผุ

รสเผ็ด
การรับประทานอาหารรสชาติเผ็ดๆ ใส่พริก 10 เม็ด ชวนเหงื่อไหลไคลย้อยคือสิ่งที่หลายคนชื่นชอบ โดยแหล่งที่มาของความเผ็ดร้อนมักมากับสมุนไพรกลุ่ม เช่น กานพลู ยี่หร่า กระเทียม หัวหอม และพริก ซึ่งความเผ็ดนี่เองที่จะช่วยให้การทำงานของปอดและลำไส้ใหญ่เป็นไปตามปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคกรดในกระเพาะอาหารที่ทำให้นักกินเผ็ดมักมีอาการท้องขึ้นและอึดอัด

นอกจากนี้ รสชาติอันเผ็ดร้อนจนเกินไปยังสามารถก่อให้เกิด สิว เพราะความเผ็ดจะทำให้ต่อมไขมันทั่วร่างกายทำงานหนักกว่าปกติทำให้เกิดสิวได้ง่าย และที่สำคัญอาหารรสเผ็ดยังมีฤทธิ์กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้หัวใจทำงานหนัก ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเผ็ดจึงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว

เทคนิคในการกิน
เห็นหรือยังล่ะว่าการทานอาหารรสจัดนั้นมีแต่ส่งผลเสียให้กับร่างกาย ดังนั้น เราจึงมีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณรับประทานอาหารให้อร่อยแบบไม่เสี่ยงโรคภัยมาฝากกัน

1. ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง
2. ลดการเติมเครื่องปรุงรส เพราะในเครื่องปรุงรสเกือบทุกชนิดมีปริมาณโซเดียมสูง
3. ลดการกินอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก หมูยอ แหนม เบคอน ผักดอง ผลไม้ดอง
4. ลดความถี่และปริมาณน้ำจิ้มของการกินอาหารที่มีน้ำจิ้ม เช่น ของทอด สุกี้ หมูกระทะ
5. เลี่ยงอาหารจานด่วน เพราะมีโซเดียมสูง
6. อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนที่จะบริโภค


ที่มาข้อมูลและภาพ postjung.com


รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ หมายถึง, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ คือ, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ ความหมาย, รสชาติแบบไหน ดีต่อสุขภาพ คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu