วิธีจับโกหก จาก ปฏิกิริยาหลายประการ ที่มักแสดงออกโดยไม่รู้ตัว
นอกจากคำพูดที่ใช้สื่อความคิด อารมณ์ และความรู้สึกแล้ว ภาษากายยังถูกนำมาใช้ไม่น้อยไปกว่ากัน รวมทั้ง ปรากฏเป็นท่าทางหลายลักษณะโดยไม่รู้ตัว เมื่อพูดไม่ตรงกับสิ่งที่คิดด้วย
ซึ่งการศึกษาหลายชิ้นจากต่างประเทศ ได้กล่าวถึง สมมติฐานที่ว่า ในขณะคิดหาเหตุผลเพื่อโกหก บวกกับความวิตกกังวล และความกลัวที่เกิดร่วมด้วย ทำให้แสดงกิริยาท่าทางซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ออกมาให้สังเกตเห็นการที่อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งบางคนอาจจะตัวเย็น มีเหงื่อออก เกิดความหงุดหงิด กระวนกระวายมากเกินปกติ ลักษณะการพูดต่างจากเดิม เช่น พูดเร็วขึ้น หรือ ช้าลง รวมทั้งเสียงที่สูง หรือ ต่ำกว่าที่เคย ซึ่งไม่เป็นธรรมชาติ เวลาที่ถูกถามลงลึกในรายละเอียด หรือ ถูกกดดันให้ต้องตอบ มักเกิดความไม่สอดคล้องกันของคำอธิบายในเรื่องที่กำลังโกหก แววตาที่ไม่นิ่งจับอยู่กับคู่สนทนาได้นาน แต่จะมองไปยังจุดอื่น ๆ บ่อยครั้ง คล้ายหาสิ่งที่พอจะเป็นคำตอบได้ การพยายามจบบทสนทนาในเรื่องที่กำลังโกหก เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยโดยเร็ว เพื่อคลายความอึดอัดที่กำลังเผชิญ
อย่างไรก็ตาม ลักษณะท่าทางข้างต้น เป็นเพียงพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อโกหก ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณ และสัญชาติญาณพิจารณาร่วมด้วย เพราะลักษณะท่าทางของบางคน อาจไม่ได้บ่งบอกถึงความคิด หรือ ความรู้สึกในขณะนั้น รวมทั้งความแตกต่างของเชื้อชาติ วัฒนธรรม อาจสื่อความหมายต่างกันได้
ทีมาข้อมูลและภาพ eduzones.com