คำเรียก "นิสิต" และ "นักศึกษา" เริ่มมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีบัญญัติคำเพื่อเรียกบุคคลที่เข้าเรียนใน 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน อาจารย์สวัสดิ์ จงกล ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ประจำหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึง 2 คำนี้ไว้ว่า ในอดีตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนทั้งเยาวชนที่เป็นเด็กนักเรียนทั่วไป และผู้ใหญ่ที่ทำงานแล้วเข้ามาเรียนเพื่อเพิ่มคุณวุฒิ จึงต้องมีการเรียกสถานภาพของผู้เรียนให้ต่างกัน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่ใช้คำเรียกนิสิตมีอยู่ 3 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งทั้งสองมหาวิทยาลัยหลัง ผู้เรียนในสมัยก่อนต้องอาศัยอยู่หอพัก เพราะมหาวิทยาลัยอยู่นอกเมืองเช่นเดียวกับจุฬาฯ ในอดีต
สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถ้ามองในแง่ความหมายแล้วการศึกษาของเกษตรฯ ต้องอาศัยห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการเหมือนกัน แล้วก็มีหอพักให้ผู้ที่เรียนได้อาศัย จึงใช้คำว่า "นิสิต"
กรณีของมหาวิทยาลัยนเรศวร เรียกนิสิตสืบเนื่องจากครั้งยังเป็นวิทยาเขตหนึ่งของศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาเขตพิษณุโลก) ซึ่งทุกวิทยาเขตใช้คำเรียกนิสิตตามวิทยาเขตแรกคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ซึ่งอยู่ชานกรุงเทพฯ ยุคโน้น) ผู้มาเรียนอยู่กินนอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันเมื่อทุกวิทยาเขตเป็นอิสระ บางแห่งอาจคงคำเรียกนิสิต บางแห่งอาจใช้คำนักศึกษาแทน แต่ถ้าแต่เมื่อใดก็ตามที่ใช้ มศว นำหน้าก็ใช้คำว่า "นิสิต"
สรุปความหมาย ตามจำกัดความของพจนานุกรมฉบับมติชน พ.ศ. 2547 "นิสิต" คือผู้อาศัย, ศิษย์ที่เล่าเรียนอยู่ในสำนัก, ผู้ที่ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยบางแห่ง เช่น นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "นักศึกษา" คือ ผู้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
+วันแห่งนักศึกษาสาว
ที่มาข้อมูล myfirstbrain.com