เคยรู้หรือไม่ครับว่าการต้มน้ำในพื้นที่ที่มีความสูงแตกต่างกัน ทำให้เวลาที่ใช้ในการต้มน้ำให้เดือดแตกต่างกันไปด้วย แล้วอันไหนล่ะที่จะเดือดไวกว่า คำตอบคือที่สูง ทำไม่เหรอครับ ก่อนจะไปดูเหตุผล ขอให้ทุกท่านทำความรู้จักกับศัพท์สองคำนี้ก่อนครับ
ความดันไอ คือ ความดันที่เกิดขึ้นจากการระเหยของของเหลว ซึ่งเกิดจากโมเลกุลของไอจะเคลื่อนที่ชนกันเอง หรือชนผิว
ความดันบรรยากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดลงบนพื้นโลก ซึ่งมีผลมากจากแรงโน้มถ่วงของโลก ในแนวตั้งฉากต่อหนึ่งพื้นที่ หรือบางทีก็เรียกกันว่า ความกดอากาศ ซึ่งความดันบรรยากาศในพื้นที่แต่ละที่มีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งถ้าพื้นที่มีความสูงยิ่งมาก ความดันบรรยากาศก็จะยิ่งต่ำ ดังนั้นคนที่อยู่บนที่สูงมักจะมีความอดทนมากกว่าคนที่อยู่พื้นที่ต่ำ เช่นนักวิ่งมาราธอนที่อยู่ที่สูงจะเคยชินกับสภาพอากาศที่มีความกดอากาศต่ำ พอมาวิ่งที่ด้านล่างซึ่งความกดอากาศสูงกว่า เขาจึงวิ่งได้แบบสบายๆ
กลับมาที่เรื่องน้ำเดือด จากหลักการที่ว่า น้ำจะเดือดก็ต่อเมื่อ ความดันไอของน้ำเท่ากับความดันบรรยากาศ ดังนั้น เมื่อเราไปต้มน้ำในที่สูง ซึ่งมีความดันบรรยากาศต่ำกว่า ความดันไอจึงเท่ากับความดันบรรยากาศได้ไวขึ้น น้ำจึงเดือดไวขึ้น แค่นี้เองครับ
บทความอื่นๆ
การต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จที่ถูกต้อง
ที่มาข้อมูล naraknaroo.blogspot.com
ที่มารูปภาพ oknation.net/blog/kritwat