ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว หมายถึง, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว คือ, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว ความหมาย, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว

 

    การใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และต้องแบกรับภาระมากมาย ทำให้หนุ่มๆ หลายคนกินอาหารไม่ค่อยเป็นเวลา และมักจะมองข้ามเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างสัญญาณ "ความหิว" ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพไปโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก บางครั้งก็แยกไม่ออกว่าความหิวที่เกิดขนาดนั้นเป็น "ความหิวที่ร่างกายต้องการอาหาร"หรือ "หิวเพราะแค่อยากกินกันแน่"     ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเพิ่มน้ำหนักโดยไม่ตั้งใจ เราต้องฟังสัญญาณความหิว มีวิธีสังเกตง่ายๆ จากโภชนากรซูซาน โบเวอร์แมน ที่ปรึกษาของเฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนลลิมิเต็ด มาฝากคุณหนุ่มๆกัน
    1. เมื่อขาด "พลังงาน" ร่างกายก็จะเริ่มส่งสัญญาณ "ความหิว" เมื่ออยู่ในสภาวะขาดพลังงานเนื่องจากน้ำตาลในเลือดมีปริมาณต่ำลง ร่างกายก็จะส่งสัญญาณให้เรารู้ เช่น รู้สึกวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย และหน้ามืด แต่สัญญาณเตือนชั้นดีที่สร้างความมั่นใจว่าร่างกายขาดพลังงานจริงๆ ก็คือ เสียงท้องร้อง
    2. เช็กระดับสัญญาณว่า "หิวจริง" หรือ "อิ่ม" ได้แล้ว พฤติกรรมาการกินของคนส่วนใหญ่จะหยุดกินอาหารก็ต่อเมื่ออาหารหมดจาน หรือเมื่อรู้สึกอิ่มจนแน่นท้อง และเพื่อป้องกันพฤติกรรมเหล่านั้น เราควรเช็กระดับความหิวจากร่างกายของเราโดยฟัง "สัญญาณ" จากร่างกายแล้วจดบันทึกอาการของความหิวทั้งก่อนและหลังกินเสร็จใจทุกมื้อ โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนความหิวหรืออิ่มตั้งแต่ 1 ที่เป็นระดับความหิวมากถึง 10 ซึ่งหมายถึงอิ่มจนแน่นจนเริ่มไม่สบายตัว การจดบันทึกจะช่วยให้เราประเมินได้ว่าจริงๆแล้ว เราควรหยุดกินเมื่อไหร่กันแน่
    3. เมื่อไหร่ควรเริ่มกิน เราควรจะเริ่มกินเมื่อระดับความหิว 3 ถึง 4 ซึ่งกระเพาะอาหารของเราจะร้องเบาๆ นั่นเป็นสัญญาณบอกว่า เราควรจะเริ่มกินได้แล้ว และควรหยุดเมื่อระดับความหิวอยู่ที่ระดับ 5 หรือ 6 นั่นหมายถึง เรากำลังจะอิ่มในระดับที่เรียกว่าพอดี แต่หากเราปล่อยให้หิวจัดจนตาลายแล้วละก็เรามักจะเบรกแตก และกินทุกอย่างที่ขวางหน้าจนถึงระดับความอิ่มที่ 9 หรือ 10 ผลคือ อิ่มแน่นจนทรมานทีเดียว       4. "อิ่ม" อร่อยอย่างมีคุณภาพ เมื่อฝึกแยกแยะและวิเคราะห์ระดับความหิว-อิ่มแล้ว ให้จำไว้ว่า "กินแค่พออิ่ม" ซึ่งเทคนิคการกินให้อิ่มอย่างง่ายๆ คือ ฟังสัญญาณและสังเกตปฏิกิริยาจากร่างกายของเรานั่นเอง เช่น มีอัตราการเคี้ยว และความเร็วในการกินอาหารจะช้าลง และที่สำคัญควรใส่ใจเรื่องคุณค่าของสารอาหารที่กินเข้าไปในแต่ละมื้อร่วมด้วย

   ที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F

ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว หมายถึง, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว คือ, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว ความหมาย, ตั้งใจฟัง... สัญญาณของความหิว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu