การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน
การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน หมายถึง, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน คือ, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน ความหมาย, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน คืออะไร
น้ำท่วมฉับพลัน น้ำท่วมฉับพลันสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการเตือนภัย ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ ควรทราบว่าถ้าเกิดน้ำท่วมฉับพลันจะทำอย่างไร ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน และในรถ โดยปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อเกิดฝนตกหนักและคุณอยู่ใกล้ลำน้ำ ควรติดตามข่าวทางสถานีวิทยุท้องถิ่นหรือโทรทัศน์ ถ้าได้รับการ เตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน ให้ระมัด ระวังตัวและย้ายไปอยู่ที่สูง
2. ถ้าได้ยินการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันให้วิ่งไปบนที่สูงทันที ออกจากรถและที่ที่อยู่ คิดอย่างเดียว ว่าต้องหนี อย่าพยายามขับรถหรือวิ่งย้อนกลับไปทางที่ถูกน้ำท่วม
ระดับการเตือนภัยน้ำท่วม ลักษณะการเตือนภัยมี 4 ประเภท คือ 1. การเฝ้าระวังน้ำท่วม ( Flood Watch) : มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมและอยู่ในระหว่างสังเกตการณ์ 2. การเตือนภัยน้ำท่วม (Flood Warning) : เตือนภัยจะเกิดน้ำท่วม 3. การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง (Severe Flood Warning) : เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง 4. การกลับสู่ภาวะปกติ (All Clear) : เหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ
สิ่งที่คุณควรทำหลังจากได้รับการเตือนภัยจากหน่วยงานด้านเตือนภัยน้ำท่วม 1. ติดตามการประกาศเตือนภัยจากสถานีวิทยุท้องถิ่น โทรทัศน์หรือรถฉุกเฉิน 2. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลัน และคุณอยู่ในพื้นที่หุบเขาให้ปฏิบัติดังนี้ - ปีนขึ้นที่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ - อย่าพยายามนำสัมภาระติดตัวไปมากเกินไป ให้คิดว่าชีวิตสำคัญที่สุด - อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณทางน้ำหลาก 3. ดำเนินการตามแผนรับมือน้ำท่วมที่ได้วางแผนไว้แล้ว 4. ถ้ามีการเตือนการเฝ้าระวังน้ำท่วม จะยังพอมีเวลาในการเตรียมแผนรับมือน้ำท่วม 5. ถ้ามีการเตือนภัยน้ำท่วมและคุณอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมถึง ควรปฏิบัติดังนี้ - อุดปิดช่องน้ำทิ้งอ่างล้างจาน พื้นห้องน้ำและสุขภัณฑ์ที่น้ำสามารถไหลเข้าบ้าน - อ่านวิธีการที่ทำให้ปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อยู่นอกบ้าน - ปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและแก๊สถ้าจำเป็น - ล็อคประตูบ้านและอพยพขึ้นที่สูง - ถ้าไม่มีที่ปลอดภัยบนที่สูง ให้ฟังข้อมูลจาก วิทยุหรือโทรทัศน์เกี่ยวกับ สถานที่หลบภัยของหน่วยงาน
ปลอดภัยไว้ก่อนเมื่ออยู่นอกบ้าน 1. ห้ามขับรถในพื้นที่ที่กำลังโดยน้ำท่วม การขับรถในพื้นที่น้ำท่วมมีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะจมน้ำ หากเห็นป้ายเตือนตามเส้นทางต่างๆ ห้ามขับรถเข้าไป เพราะอาจมีอันตรายข้างหน้า น้ำสูง 50 เซนติเมตร พัดรถจักรยานยนต์ให้ลอยได้ 2. ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสาย กระแสไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านน้ำได้ เมื่อเกิดน้ำ ท่วมแต่ละครั้งจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากไฟดูดมากว่าสาเหตุอื่นๆ เมื่อเห็นสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดเสียหายกรุณาแจ้ง 191 หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง3 3.ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตเนื่องจากจมน้ำตายในขณะที่น้ำกำลังมาความสูงของน้ำเพียงแค่ 15 เซนติเมตรก็ทำให้เสียหลักล้มได้ ดังนั้นถ้ามี ความจำเป็นต้องเดินผ่านทางที่น้ำไหลให้ลองนำไม้จุ่มเพื่อวัดระดับก่อนทุกครั้ง
ปลอดภัยเมื่ออยู่ในบ้าน 1. ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อบ้านโดนน้ำท่วม อุปกรณ์บางอย่างสามารถทำให้คุณช็อกได้ แม้ในขณะที่ไม่เสียบปลั๊ก ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ จนกว่าแน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์นั้น สะอาดและแห้งสนิท 2. ระวังอันตราย สัตว์อันตราย เช่น งู ตะขาบ ที่อาจหนีน้ำเข้ามาในบ้าน เดินอย่างระมัดระวัง ระวังอันตรายจากโคลนที่ทำให้ลื่น เศษแก้ว เข็ม ซากสิ่งของที่ พังลอยมากับน้ำตอน ที่น้ำลดแล้ว 3. ระวังแก๊สรั่ว หากได้กลิ่นแก๊สให้อยู่ห่างๆ ไว้ ลองใช้ไฟฉายส่องดูเพื่อเช็คความเสียหาย และห้ามสูบบุหรี่หรือจุดไฟจนกว่าจะปิดแก๊สหรือระบายอากาศในพื้นที่แล้ว 4. ทำความสะอาดทุกอย่างที่เปียกน้ำ ส่วนเครื่องใช้ให้ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด 5. ห้ามบริโภคอาหารทุกอย่างที่สัมผัสน้ำท่วม เพราะน้ำท่วมเป็นน้ำมีสิ่งปฏิกูลและสารอันตราย เจือปน 6. ดูแลตัวเองและครอบครัว หลังจากน้ำท่วมควรดูแลตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความเจ็บป่วยทางจิตใจใช้เวลารักษานานกว่าทางกาย ดังนั้นควรพยายาม เรียนรู้วิชาการที่จะสามารถเอาชนะความเครียดและความวิตกกังวล
ที่มา : srinagarind.md.kku.ac.th
การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน หมายถึง, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน คือ, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน ความหมาย, การรับมือกับน้ำท่วมฉับพลัน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!