กินหนีไมเกรน
กินหนีไมเกรน, กินหนีไมเกรน หมายถึง, กินหนีไมเกรน คือ, กินหนีไมเกรน ความหมาย, กินหนีไมเกรน คืออะไร
โรคหนึ่งที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทำงานก็คือ "ไมเกรน" โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง และอาการปวดอาจจะรุนแรงมากจนทำให้การเรียนหรือการทำงานต้องเสียไป การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นคงเป็นการรักษาวิธีหนึ่งที่ผู้ป่วยไมเกรนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงจากอาหารที่จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนขึ้นมา กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะคือ 1. สารไทรามีน (Tyramine) ซึ่งเป็นองค์ประกอบธรรมชาติในอาหาร เช่น เนยแข็ง ปลารมควัน เนื้อสัตว์ที่ผ่านกรรมวิธียืดอายุ ของหมักดอง เบียร์ เป็นต้น 2. สารแอสปาแตม (Aspartame) เป็นสารให้ความหวานซึ่งหวานกว่าน้ำตาลปกติ 180-200 เท่า ถึงแม้จะไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน แต่ก็พบว่าในผู้ป่วบบางรายมีอาการปวดศีรษะหลังรับประทานสารตัวนี้ 3. ผงชูรส กลไกการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะอาจมาจากการกระตุ้นให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิดหรือไปกระตุ้นให้เซลล์ของผนังหลอดเลือดหลั่งสารไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวนำไปสู่อาการปวดศีรษะในที่สุด 4. ไนเตรดและไนไตรต์ (Nitrates and Nitrites) เป็นสารกันบูดที่ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น ไส้กรอก เนื้อรมควัน หรือปลารมควัน กลไกการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารไนตริกออกไซด์หรือสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว 5. เครื่องดื่มแอลกฮอล์ โดยเฉพาะในไวน์แดง พบว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนบ่อย อาจจะทำให้มีอาการปวดศีรษะภายใน 3 ชม.หลังจากดื่มหรือเกิดตามมาในช่วงท้ายก็ได้ เพราะไวน์มีส่วนประกอบของไทรามีน ซัลไฟต์ ฮีสตามีน และฟลาโวนอยด์ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ 6. กาเฟอีน เป็นสารที่พบในกาแฟ ชา โซดา และช็อกโกแลต กาเฟอีนสามารถกระตุ้นให้ปวดศีรษะได้และยังสามารถช่วยลดอาการปวดศีรษะได้ขึ้นอยู่กับขนาดและความถี่ของการใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม อาหาร หรือยาที่มีส่วนประกอบของกาเฟอีน
ที่มา : หนังสือพิมพ์M2F
กินหนีไมเกรน, กินหนีไมเกรน หมายถึง, กินหนีไมเกรน คือ, กินหนีไมเกรน ความหมาย, กินหนีไมเกรน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!