วันสืบ นาคะเสถียร
วันสืบ นาคะเสถียร, วันสืบ นาคะเสถียร หมายถึง, วันสืบ นาคะเสถียร คือ, วันสืบ นาคะเสถียร ความหมาย, วันสืบ นาคะเสถียร คืออะไร
สืบ นาคะเสถียร นักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมชาติคนสำคัญของไทย มีบทบาทและชื่อเสียง จากการทำงานอนุรักษ์และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ในเชี่ยวหลาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร หรือชื่อเดิม "สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บุตรของ นายสลับ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี และนางบุญเยี่ยม สืบมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบเป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือ กอบกิจ นาคะเสถียร และ กัลยา รักษาสิริกุล สืบมีบุตรสาว 1 คนชื่อชินรัตน์ ในวัยเด็ก สืบ ได้ช่วยงานในนาของมารดาด้วยความอดทน บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ และเป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีมาโดยตลอด สืบได้ช่วยทำงานในนา ของมารดา เมื่อว่างจากภาระดังกล่าว ก็ออกท่องเที่ยวไปกับเพื่อน โดยมีหนังสติ๊กคู่ใจ
ผลงานวิชาการของสืบ
สืบ นาคะเสถียร ได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ป่าออกมามากมาย ตั้งแต่การสำรวจติดตามชนิดและพฤติกรรมการทำรังของนก สำรวจแหล่งอาศัยของกวางผา ค้นหาและศึกษาพฤติกรรมของเลียงผา มาจนถึงการสำรวจศึกษาสภาพทางนิเวศของป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร และได้เป็นอาจารย์พิเศษ ประจำภาคชีววิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1.การทำรังวางไข่ของนกบางชนิดที่ อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2524 2.รายงานการสำรวจนก บริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี สัมมนาสัตว์ป่าเมืองไทย พ.ศ. 2526 3.รายงานผลการวิจัย วางแผนขั้นรายละเอียดสำหรับ ฟื้นฟูสภาพป่าไม้และ การจัดการป่าไม้บริเวณ พื้นที่ป่าต้นน้ำคลองแสง โครงการเขื่อนเชี่ยวหลาน จ.สุราษฎร์ธานี 2527 4.การศึกษานิเวศวิทยาของสัตว์ป่า ในบริเวณโครงการ ศูนย์ศึกษาเพื่อการพัฒนาภูพาน ตามพระราชดำริ 2528 5.นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวรและ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง 2529 6.รายงานผลการจับเนื้อทราย ที่เกาะกระดาษ 2529 7.เลียงผาที่พบในประเทศไทย การกระจายถิ่นที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมบางประการ 2529 8.สำรวจถิ่นที่อยู่อาศัยของเก้งหม้อ 9.นิเวศวิทยาป่าไม้และสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จ.กาญจนบุรี และ จ.ตาก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี และ จ.ตาก กุมภาพันธ์ 2530 โดย สืบ นาคะเสถียร, นริศ ภูมิภาคพันธุ์, ศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ 10.การสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับ สัตว์ป่าในพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส 11.การอพยพสัตว์ป่า ในอ่างเก็บน้ำรัชชประภา สัมมนาสัตว์ป่า 2532 12.วิเคราะห์ความเหมาะสม จากรายงานและแผนการ แก้ไขผลกระทบด้านทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่า 13.โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แควใหญ่ตอนบน (Assessment on Report and Impact Assessment Plan on Forestry and Wildlife of Upper Quae Yai Project) 14.รายงานการประเมินผลงาน ช่วยเหลือสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) จ.สุราษฏร์ธานี 15.Nomination of the Thung Yai-Huay Kha Khaeng Wildlife Sanctuary to be a UNESCO World Heritage Site, May 1990 Submitted by the Wildlife Conservation Division, Royal Forest Department Prepared Seub Nakasathien and Belinda Stewart-Cox
ที่มา https://th.wikipedia.org/
สืบกับมรดกงานวิจัยด้านสัตว์ป่า
หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบ นาคะเสถียร ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินใจเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่า งานแรกของสืบที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี เป็นจุดที่ทำให้สืบได้เรียนรู้ว่าได้มีผู้มีอิทธิพลบุกรุกทำลายป่าจำนวนมาก โดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้เรียนต่ออีกที่อังกฤษ ถึงปี 2524 ได้กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงานพิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น และ 2 ปีต่อมา ในปี 2526 สืบได้ขอย้ายตัวเองเข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว
การเสียสละด้วยชีวิตของสืบ นาคะเสถียร
เช้ามืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลง สืบได้สั่งเสียลูกน้องคนสนิทและเขียนจดหมายสั่งเสีย 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระรับผิดชอบ และทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง รวมถึงมอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระจนจิตใจสงบ เสียงปืนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ได้จบชีวิตของเขาลง และเป็นจุดเริ่มต้นของ "ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกายและใจ" สองอาทิตย์ต่อมา บรรดาเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ได้เปิดประชุมเพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุกป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง โดย สืบ นาคะเสถียร ได้พยายามจัดตั้งการประชุมหลายสิบครั้งแต่ไม่มีการตอบรับจากเจ้าหน้าที่สักครั้งจนกระทั่งการเสียชีวิตของสืบ ทำให้มีข้อกล่าวว่า หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน การจากไปของ สืบ นาคะเสถียร ได้ส่งผลสะเทือนอย่างล้ำลึกต่อผู้คนที่รักธรรมชาติ และแสวงหาความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้เพราะว่าในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ สืบมิได้เป็นเพียงข้าราชการอาชีพที่มีภาระการงานเกี่ยวกับการพิทักษ์ป่า และสัตว์ป่าเท่านั้น หากเป็นผู้นำคนสำคัญของขบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย เป็นผู้ที่เคยต่อสู้เพื่อปกปักรักษาทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยไม่คำนึงภัยอันตราย การจากไปของเขานับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นความสูญเสียที่นักอนุรักษ์ธรรมชาติทุกคน ไม่อาจปล่อยให้ผ่านพ้นไป โดยปราศจากความทรงจำ
เพลง สืบทอดเจตนา (สืบ นาคะเสถียร) - คาราบาว
ฟังเพลง : สืบทอดเจตนา (สืบ นาคะเสถียร) - คาราบาว
การฟังเพลงเพื่อชีวิตทำให้รู้ถึงแนวคิดของศิลปินที่ถ่ายทอดออกมาได้เป็นอย่างดีและเพลงเพื่อชีวิตยังเป็นเหมือนสมุดบันทึกเรื่องราวในสังคมอีกด้วย โดยสิ่งที่อยู่ในเพลงเพื่อชีวิตเหล่านี้ ล้วนให้ข้อคิดในการใช้ชีวิตเสมอ และนั่นก็คือเหตุผลว่าทำไมถึงเรียกสิ่งนี้ว่าเพลงเพื่อชีวิต
วันสืบ นาคะเสถียร, วันสืบ นาคะเสถียร หมายถึง, วันสืบ นาคะเสถียร คือ, วันสืบ นาคะเสถียร ความหมาย, วันสืบ นาคะเสถียร คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!