ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย
ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย หมายถึง, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย คือ, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย ความหมาย, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย คืออะไร
ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จากความต้องการก๊าซธรรมชาติที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การผลิตมีจำกัด ดังนั้นในการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟ ลุกไหม้ และระเบิดได้มาใช้ประโยชน์นั้น จำเป็นต้องใช้การขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง ที่สำคัญต้องเป็นระบบที่สามารถนำก๊าซธรรมชาติไปสู่มือผู้บริโภคได้อย่าง ปลอดภัยและเกิดการสูญเสียน้อยที่สุด การขนส่งก๊าซธรรมชาติในสถานะของก๊าซ จึงเหมาะสมที่จะใช้กระบวนขนส่งโดยระบบท่อมากที่สุด เนื่องจากเป็นเวลานาน ที่สำคัญคือ แยกออกจากการขนส่งมวลชนโดยเด็ดขาด
วิวัฒนาการของการขนส่งก๊าซธรรมชาติโดยระบบท่อ มีขึ้นตั้งแต่ 900 ปีก่อนคริสตกาล โดยชาวจีนเริ่มใช้กระบอกไม้ไผ่ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ในสหรัฐอเมริกามีการค้นพบก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรกในพ.ศ. 2359 หรือเมื่อ 194 ปีที่แล้ว โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แสงสว่างบนถนนบัลติเตอร์ มลรัฐแมรี่แลนด์ ต่อมาเมื่อมีการค้นพบก๊าซธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการวางเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติอย่างจิงจังตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2463 โดยเฉพาะในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 282 ปัจจุบันมีการวางเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติรวมกันทั้งโลกมากกว่า 1ล้านกิโลเมตร โดยครึ่งหนึ่งอยู่ในอเมริกาเหนือและอีก 1 ใน 4 อยู่ใน ยุโรปตะวันตก
ประเทศไทยได้นำระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเวลากว่า 25 ปี มาแล้ว โดย ปตท. ได้รับมอบหมายให้วางท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณในอ่าวไทยมายังชาย ฝั่งระยอง เป็นระยะทางประมาณ 415 กิโลเมตรและวางท่อบนบกจากจังหวัดระยอง เลียบถนนสายหลักส่งตรงไปยังผู้ใช้ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมบางปะกง และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ การจำหน่ายให้ลูกค้า ปัจจุบันท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ใช้งานอยู่ในประเทศไทยมีระยะทางรวมกันกว่า 3500 กิโลเมตร
ตลอดแนวเส้นทางของท่อส่งก๊าซธรรมชาติ มีก๊าซธรรมชาติบรรจุอยู่เต็มตลอดแนวท่อ และมีการขนส่งตลอด 24 ชั่วโมง ใช้หลักการขนส่งจากแรงดันสู่แรงดันต่ำ โดยทั่วไปมีขนาดตั่งแต่ 4 นิ้วไปจนถึง 42 นิ้ว และมีแรงดันตั้งแต่ 200 ปอนด์ต่อตารางนิ้วจนถึง 1870 ปอนด์ต่อตารางนิ้วหรือแรงดันระหว่าง 14-130 เท่าของแรงดันบรรยากาศแนวเส้นทางวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ผ่านพื้นที่ เกษตรกรรม ชุนชน พื้นที่ข้างทางหลวง หากมีการดำเนินการใดๆ จากภายนอกไปกระทบจะนำไปสู่อุบัติเหตุและเกิดอันตรายได้
สถิติและสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจากระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ - ในการดำเนินธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ปตท. ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ ก่อสร้างปฏิบัติการ และการบำรุงรักษา เพื่อให้ชุนชนรอบพื้นที่มีความมั่งใจและปลอดภัยสูงสุด
- จากการรวมข้อมูลอุบัติเหตุจากท่อส่งก๊าซฯ พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ท่อส่งก๊าซฯ แตก หัก หรือรั่วมาจากการกระทำของบุคคลภายนอกด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้อง ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติคุณสมบัติโดยทั่วไป ประโยชน์และโทษ รวมทั้งวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ต่อระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ - จากระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ อุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เกิดได้จากปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดการผุกร่อนภายใน โดยการลำเลียงสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนปนมากับก๊าช (Sour Gas : Sulphur Dioxide ) หรือเกิดจากการผุกร่อนภายนอก อาจมาจากวัสดุหุ้มท่อรุด และระบบป้องกันการผุกร่อนของท่อด้วยกระแสไฟฟ้าบกพร่องแต่ที่ผ่านมาระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุนี้ - จากการกระทำของบุคคลที่สาม เช่น จากการตอกเสาเข็มหรือการใช้เครื่องจักรกลหนักเข้าไปขุกตอก เจาะตักดินในบริเวณที่มีท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝังอยู่ และไปกระทบต่อท่อส่งก๊าซธรรมชาติ - จากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหวอย่างรุนแรง การทรุดตัวของแผ่นดินอย่างรุนแรงจนทำให้ท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้รับความเสียหาย เป็นต้น แต่ที่ผ่านมา ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากสาเหตุนี้
อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุท่อส่ง ก๊าซฯแตก/รั่ว - จากคุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติที่ติดไฟได้ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ใช่สารเป็นพิษ แต่เนื่องจากก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในท่ออาจมีส่วนประกอบของไฮโดรคาร์บอนหนัก เช่น เฮกเซน เพนเทน ฯลฯ หรืออาจมีสารปนเปื้อนจากกระบวนการแยกก๊าซฯ หรือขนส่งก๊าซฯ อยู่ด้วย หรือหากเป็น Sour Gas ทีมีกำมะถันปนอยู่มาก จึงทำให้ก๊าซธรรมชาติอาจมีกลิ่นอยู่บ้าง นอกเหนือจากกลิ่นที่เติมเข้าไปสัญญาณเตือนสำหรับผู้ใช้ กรณีเกิดก๊าซฯ รั่วทั้งนี้ อันตรายที่จะเกิดขึ้นได้จากอุบัติเหตุท่อก๊าซฯ แตกหรือรั่วอาจนำไปสู่ภาวะดังต่อไปนี้
- กลิ่น/ภาวการณ์ขาดออกซิเจน เมื่อท่องส่งก๊าซฯ รั่ว และมีก๊าซฯ ฟุ้งกระจายไปในอากาศจำนวนมาก หากสูดดมนานๆ จะทำให้เกิดการวิงเวียนศีรษะ หากสูดดมมากเกิดไปจนเข้าไปแทนที่ออกซิเจน ทำให้หมดสติได้ ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ผายปอดแล้วนำส่งแพทย์ทันที ทั้งนี้ มาตรฐานความปลอดภัยของการใช้ก๊าซธรรมชาติได้กำหนดให้มีการเติมกลิ่นเข้าไปใน ก๊าซฯ เพื่อเป็นสัญญาณเตือนสำหรับผู้ใช้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุก๊าซฯ รั่ว โดยกำหนดหลักการว่าสารที่เติมนั้นจะต้องไม่ทำให้คุณสมบัติของก๊าซฯ เปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปนิยมใช้สารเมอร์แคปแทน ซึ่งมีกลิ่นกำมะถันฉุนคล้ายไข่เน่า
- เสียง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้กำหนดค่ามาตรฐานระดับเสียงในบรรยากาศโดย ทั่วไปในประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15( พ.ศ. 2540) ว่าระดับเสียงใน 24 ชั่วโมง มีค่ามาตรฐานที่ระดับต่ำกว่า 70 เดซิเบล หากท่อส่งก๊าซฯ เกิดอุบัติเหตุรั่วไหลด้วยความดันสูง ควรอพยพผู้คนออกจากบริเวณนั้น เพราะหากอยู่ใกล้เป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อระบบการได้ยิน
- แรงดัน ภายในท่อส่งก๊าซฯมีแรงดันสูง หากอยู่ติดชิดกับท่อในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ จะทำให้ก๊าซฯ พุ่งเข้ามาสัมผัสปะทะกับร่างกายโดยตรงอาจทำให้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้
- ความร้อน/ไหม้ หากเกิดอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซฯ รั่วหรือแตกด้วยเหตุสุดวิสัยใดๆ ก็ตาม โอกาสที่จะเกิดการติดไฟได้มีน้อยมากเนื่องจากท่อส่งก๊าซฯ ฝังลึกลงไปใต้ดินและสถานีควบคุมก๊าซฯ ซึ่งมีอุปกรณ์ควบคุมต่างๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่เปิดโล่ง โอกาสที่ก๊าซฯรั่วและจะติดไฟได้ต้องมีองค์ประกอบครบในสัดส่วนที่เหมาะดังนี้ -จุดวาบไฟ 1880C -ช่วงการติดไฟ 5- 15 ของปริมาตรในอากาศ -อุณหภูมิที่สามารถติดไฟฟ้าได้เอง 537-5400C -สัดส่วนในการติดไฟ(อากาศ : ก๊าซ) 10:1
- ก๊าซธรรมชาติที่บรรจุอยู่ในท่ออาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ เหล่านี้ ดังนั้นหลังการฝังกลบท่อจะติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงแนวท่อท่อส่งก๊าซฯ บนบก เพื่อแสดงตำแหน่งของท่อ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของ ปตท. เพื่อนแจ้งเหตุผิดสังเกต ซึ่งถือเป็นมาตรการเบื้องต้นของการร่วมมือในการใช้พลังงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย การระงับเหตุ - ท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่ใช้งานอยู่ในประเทศไทยระยะทางกว่า 3500กิเมตร จากแหล่งในอ่าวไทย แหล่งบนบกที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น รวมทั้งแหล่งยาดานาและแหล่งเยตากุน จากสหภาพพม่า โดยวางทอดยาวใต้พื้นท้องทะเล พาดผ่านเขตทางหลวงแผ่นดินใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงพื้นที่ป่า เขตชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติพลังงานสะอาดจากใต้พิภพขึ้นมาใช้ให้เกิดคุณค่าสูงสุด
- ตลอดแนวท่อส่งก๊าซฯ ในทุกสภาพพื้นที่ อยู่ภายใต้การดูแล บำรุงรักษาและการปฏิบัติตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล เริ่มตั้งแต่การดูแลโดยสถานีควบคุมก๊าซฯ ที่ทำหน้าที่ ควบคุมการไหลของก๊าซฯ ในท่อส่งก๊าซฯ ทุกเส้น พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้น ปตท. ยังจัดให้มีศูนย์กลางการควบคุมทั้งหมดอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการชลบุรี จ .ชลบุรี และการควบคุมดูแลท่อส่งก๊าซฯในแต่ละพื้นที่ที่มีศูนย์ปฏิบัติการระบบท่อตั้งอยู่
- อย่างไรก็ดี เพื่อให้การดำเนินงานของระบบท่อส่งก๊าซฯมีเสถียรภาพมีความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งาน ปตท. ได้จัดทำแผนระงับเหตุฉุกเฉินของระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติขึ้น สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสียที่อาจจะเกิดต่อบุคคล ชุมชน และสภาพแวดล้อม รวมถึงทำให้เหตุการณ์ฉุกเฉินกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดด้วย
ข้อควรปฏิบัติของชุนชนเมื่อเกิดอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติรั่ว - ออกจากบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซฯ รั่วไปทางเหนือลมทันที - ห้ามขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ผ่านกลุ่มก๊าซฯ ที่รั่ว - หลีกเลี่ยงการทำให้เกิด ประกายไฟ หรือความร้อนซึ่งเป็นสาเหตุให้ก๊าซฯลุกติดไฟ รวมทั้งสตาร์เครื่องยนต์หรือแม้แต่เปิด-ปิดสวิตช์ไฟฟ้า - โทรศัพท์แจ้ง ปตท. ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่อยู่ในป้ายเตือนให้เร็วที่สุดพร้อมทั้งบอกสถานที่เกิดเหตุ และลักษณะการการรั่วของก๊าซฯ ที่พบเห็น
ที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/42527
ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย หมายถึง, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย คือ, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย ความหมาย, ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติและความปลอดภัย คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!