ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประเพณีจองพารา, ประเพณีจองพารา หมายถึง, ประเพณีจองพารา คือ, ประเพณีจองพารา ความหมาย, ประเพณีจองพารา คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
ประเพณีจองพารา


     "จองพารา" เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า "ปราสาทพระ" มาจากคำว่า "จอง" แปลว่า วัด หรือปราสาท และำคำว่า "พารา" แปลว่า พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้า การบูชา จองพารา คือ สร้างปราสาทเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่เสด็จลงมาจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ในวันออกพรรษา
      ประเพณีบูชาจองพาราของชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดเป็นประเพณี ที่สำคัญและมีคุณค่าต่อสังคม เป็นงานบูชาพระพุทธเจ้าเพื่อความสุข ได้บุญกุศล และความเป็นสิริมงคลแก่ครอบครัว และหมู่บ้าน ครอบครัวใด หมู่บ้านใดได้จัดทำ จองพาราบูชาพระพุทธเจ้า เชื่อว่าครอบครัวจะมีความสุข ส่งผลไปถึง การประกอบอาชีพ ขณะเดียวกัน หมู่บ้านใดได้ช่วยกันจัดทำจองพาราบูชาไว้ ที่วัดประจำหมู่บ้านตลอด 7 วัน หลังวันออกพรรษา มีความเชื่อว่าทุกคนในหมู่บ้าน จะมีความสุขกันทั่วหน้า และส่งผลไปถึงการประกอบอาชีพของคนในหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ ได้ผลผลิตดีด้วย
       การบูชาจองพารา จะตั้งบูชาในตอนหัวค่ำของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 และทำพิธี อัญเชิญรับเสด็จตอนเช้ามืดของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับวันออกพรรษา ตั้งบูชาเรื่อยไปจนครบ 7 วัน สิ้นสุดการบูชา จะนำจองพาราไปทิ้ง ไม่นิยมเก็บไว้ เมื่อถึงปีต่อไปจะทำขึ้นมาใหม่
       การบูชาจองพารา ทุกบ้านและวัดที่จะทำการบูชา ตั้งแต่เย็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 นำจองพาราขึ้นตั้งบนชั้นนั่งร้าน นำเครื่องห้อยมาแขวน นำต้นกล้วย ต้นอ้อย มาผูกที่เสานั่งร้านทั้ง 4 มุม ตกแต่งประดับโคมไฟให้สว่างไสว
       เวลาเช้ามืดของ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา จะนำ "ข้าวซอมต่อ" คือ อาหารสำหรับถวายพระพุทธ ประกอบด้วยข้าวสวย ขนม ผลไม้ ใส่ในกระทงใบตอง วางไว้ในจองพารา จุดธูปเทียนขูชา กล่าวอัญเชิญพระพุทธเจ้า ให้เสด็จมาประทับที่จองพารา เพื่อเป็นสิริมงคลตลอดจนครบ 7 วัน จะรื้อถอน จองพาราออกไปทิ้งหรือเผา ปีต่อไปก็ทำขึ้นมาบูชาใหม่
        จองพารา หรือปราสาทพระ ทำด้วยโครงสร้างไม้ไผ่ แล้วบุด้วยกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระดาษสีลวดลาย เจากระดาษสี กระดาษเงิน กระดาษทอง ตั้งบูชา บนร้านสูง ห้อยผลไม้ ประดับไฟ สว่างไสวตลอด 7 วัน ส่วนประำกอบของจองพารา ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนใหญ่ ๆ  ส่วนเข่งหรือฐาน ส่วนตัวจองพารา (ตัวจองพารามีส่วนประกอบอีก 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน ส่วนปราสาท และส่วนยอด) และเครื่องห้อง หรือเครื่องบูชา
       เข่งหรือนั่งร้านที่ตั้งบูชรจองพารา จะสร้างขึ้น ที่หน้าบ้าน หน้าวัด ที่เป็นที่สูงจากพื้นทั่วไป เพื่อเป็นการคารวะ การทำเข่งที่บูชา จะใช้ไม้ไผ่ ฝังเป็นเสา 4 ต้น บนชานสี่เหลี่ยม แล้วทำนั่งร้านให้สูง จากพื้น บนนั่งร้าน 3 ด้าน สานด้วยดอกไม้ไผ่ เป็น "ผายาดจะมาด" ปิดไว้ เหลืออีกด้าน ทำเป็นบันไดพาดไว้ ที่มุมนั่งร้านใช้ต้นกล้วย ต้นอ้อยผูกไว้และจัดทำประทีป โคมไฟประดับให้มีแสงสว่างยามค่ำคืน จองพารา ที่ทำบูชาหลายรูปแบบได้แก่
  1. จองยอด หรือ "ผาสาด" (ปราสาท) เป็นจองพารา ขนาดใหญ่ความสูงตั้งแต่ 3.50 เมตรขึ้นไป มียอดปราสาทยอดเดียว 5 ยอด หรือ 7 ยอด มีโครงสร้างยุ่งยากซับซ้อน การสร้าง ต้องใช้ทุนสูง ใช้เวลาสร้างเป็นแรมเดือน จองผาสาด เป็นจองพาราที่สวยงาม วิจิตรบรรจงมาก ทั้งที่ฐานและส่วนยอด มีลวดลายเจาะกระดาษประกอบ มีการตัดกระดาษ เป็นรูปสามเหลี่ยมห้อย ผู้ที่จะทำจองผาสาดได้ ต้องเป็นช่างชั้นครู นิยมทำและตั้งบูชาที่วัดประจำ หมู่บ้านและวัดทั่วไป
  2. จองคอ  เป็นจองพาราขนาดใหญ่ รองลงมาจากจองยอด มีส่วนประกอบคล้ายกัน แต่ขนาดเล็กกว่า ส่วนยอดมียอดเดียว มีลวดลาย ประกอบไม่ละเอียดนัก การทำไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน นิยมตั้งบูชาที่วัดและบ้านของผู้ที่มีฐานะดีทั่วไป
  3. จอบปีต่าน คือจองพารา ที่ไม่มียอด หรืออาจ เรียกว่า จองพารายอดตัด มีเฉพาะส่วนปราสาท และฐาน มีลวดลายประกอบน้อย ทำง่าย นิยมทำบูชาตามบ้านทั่วไป
  4. จองผาสาน หรือจองสาน เป็นจองพารา ที่ทำขึ้น โดยวิธีการขนาดเล็ก นิยมบูชากันทั่วไป เพราะทำได้เอง
แหล่งที่มา : https://allknowledges.tripod.com/chongphara.html

ประเพณีจองพารา, ประเพณีจองพารา หมายถึง, ประเพณีจองพารา คือ, ประเพณีจองพารา ความหมาย, ประเพณีจองพารา คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu