ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ประเพณีปอยส่างลอง, ประเพณีปอยส่างลอง หมายถึง, ประเพณีปอยส่างลอง คือ, ประเพณีปอยส่างลอง ความหมาย, ประเพณีปอยส่างลอง คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ประเพณีปอยส่างลอง

      ประเพณีปอยส่างลอง คือ "งานบวชลูกแก้ว" เพื่อทำการบรรพชาเป็นสามเณรในพระพุทธศาสนา โดยจะพบเห็นการจัดปอยส่างลองกันมากที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง อำเภอขุนยวม และอำเภอปาย คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประเพณีนี้ก็สืบเชื้อสายมาจากไทใหญ่ ซึ่งก็ได้ร่วมกันสืบทอดงานประเพณีนี้มาเป็นเวลาช้านาน ดังปรากฏว่าหลักฐานว่าประเพณีนี้มีมาตั้งแต่มีการสร้างแปลนเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งก็ ได้มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆปี เนื่องจากเป็นประเพณีที่สำคัญทางศาสนา และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
      จนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) จนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ในระหว่างนั้นประเทศไทยได้ประสบปัญหาทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ประเพณีปอยส่างลองถูกงดและเลิกไป จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2525 อันเป็นปีฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ก็ได้มีการฟื้นฟูและจัดงานประเพณีปอยส่างลองขึ้นทุกๆปีจนถึงปัจจุบัน และประเพณีนี้ก็ได้ขยายไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย
ประวัติ
      ประวัติความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลองมีกล่าวกันไว้หลากหลายตำนานแตกต่างกันไปตามพื้นที่ ซึ่งก็ปรากฏตำนานต่างๆกันดังนี้
ตำนานแรก 
     เมื่อครั้งพุทธกาลนั้นพระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อจะเสด็จกลับลงมาเมืองมนุษย์ก็มีเทพสี่ตนเป็นเทวดา 2 ตน นางฟ้า 2 ตนลงตามมาด้วย เพราะอยากเห็นบ้านเมืองมนุษย์มากเนื่องจากว่าคิดว่าบ้านเมืองมนุษย์นั้นต้องสนุกสนานมากเพราะจะมีงานต้อนรับพระมารดาของพระพุทธเจ้า ดังนั้นเทพทั้งสี่จึงได้แต่งกายสวยงามสวมชฎามงกุฎ ฟ้อนรำร่วมกันกับมนุษย์ เพราะฉะนั้นถ้ามีงานปอยส่างลองจึงให้ส่างลองแต่งกายอย่างสวยงาม มีการนำชฎามาสวมใส่ให้แก่ผู้บวชอย่างสวยงามตามที่ตำนานได้กล่าวมาดังข้างต้น 
ตำนานที่สอง 
     ตำนานนี้นั้นกล่าวไว้ว่า การเป็นส่างลองนั้นเป็นการเลียนแบบประวัติของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะครองกรุงกบิลพัสดุ์ก่อนจะออกผนวช การกระทำทุกอย่างในช่วงเวลาการเป็นส่างลองจะปฏิบัติเสมือนการปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์นั่นเอง
ตำนานที่สาม 
     ประวัติความเป็นมาของหนังสือไทยใหญ่ที่เขียนโดยเจ้าหน่อคำ และนายบุญศรี นุชจิโนได้แปลไว้ กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาลในกรุงราชคฤห์ มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าพิมพิศาล ได้สร้างพระวิหารถวายพระพุทธเจ้าและปาวารณาตัวเป็ยทายกของพระพุทธเจ้าตลอดชีวิต พระเจ้าพิมพิศาล มีโอรสพระองค์หนึ่ง นามว่าอาชาตศัตรู วันหนึ่งเจ้าชายอาชาตศัตรูได้เสด็จมายังลานพระวิหารที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้พบกับพระเทวทัต พระเทวทัตจึงได้อัญเชิญเสด็จขึ้นไปบนกุฏิพร้อมทั้งยกย่องว่าเป็นผู้มีบุคลิกเฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง สมควรเป็นกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองโดยเร็ว พร้อมกับยุแหย่ว่าพระเจ้าพิมพิศาลนั้นแก่ชราแล้ว ไม่ควรเป็นกษัตริย์อีกต่อไป เพราะไม่สามารถนำทัพไปสู้รบกับใครได้ อาจสูญเสียแผ่นดินให้กับเมืองอื่น จึงแนะนำให้ฆ่าเสีย เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เกิดความขุ่นเคืองไม่พอพระทัย จึงตำหนิว่าใครจะฆ่าบิดาของตัวเองได้ลงคอแล้วรีบกลับไป ฝ่ายพระเจ้าเทวทัตไม่ลดละความพยายาม ได้หาโอกาสมาพบกับเจ้าชายอาชาตศัตรูอีกครั้ง พร้อมทั้งทูลกระซิบว่าให้พระองค์จับ พระบิดาขังไว้ไม่ให้เสวยอาหาร 7 วัน ก็จะสิ้นพระชนม์ไปเอง ซึ่งเราก็จะฆ่าพระพุทธเจ้าโดยงัดก้อนหินขนาดใหญ่ให้กลิ้งลงมาทับ แล้วเราก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้าส่วนพระองค์ก็จะได้เป็นกษัตริย์และเป็นทายกเรา จากนั้นเราทั้งสองจะได้ช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นต่อไป เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นก็หลงเชื่อและสั่งให้ทหารนำบิดาไปขังไว้และไม่ให้ผู้ใดนำอาหารไปให้เสวย ฝ่ายพระมเหสีด้วยความรักและความสงสาร ในพระสวามี จึงได้ทำขนมใส่เกล้าผม บางครั้งใส่รองเท้า และทาตามตัวเข้าไปเยี่ยมและให้เสวย จนครบ 7 วันพระเจ้าพิมพิศาลยังไม่สิ้นพระชนม์ แต่สามารถนั่งนอนและเดินออกกำลังกายได้ ในที่สุดเจ้าชายอาชาตศัตรู ได้สั่งให้ทหารเฉือนเนื้อฝ่าเท้าของพระบิดาแล้วเอาน้ำเกลือทา ไม่ให้เดินไปมาได้ ในขณะเดียวกันเจ้าชายอาชาตศัตรูได้พาพระโอรสไปเยี่ยมพระมารดา และทรงตรัสว่าลูกชายคนนี้ข้ารักมาก แต่ตัวข้าเมื่อยังเล็ก พระบิดาจะรักเหมือนข้าหรือเปล่าไม่ทราบ พระมารดาจึงตรัสว่าเจ้ารักลูกเจ้ามากนั้นไม่จริง เพราะของเล่นต่างๆที่มีค่ามหาศาลที่ลูกเจ้าเล่นอยู่ขณะนี้ ล้วนเป็นของที่พ่อเจ้าซื้อให้ทั้งสิ้น เจ้าไม่ได้ซื้อหามาให้ลูกเจ้าแม้แต่ชิ้นเดียว เจ้าชายอาชาตศัตรูเมื่อได้ฟังดังนั้นจึงสำนึกผิดและรีบเสด็จไปยังที่คุมขังเพื่อนำพระบิดาออกมารักษาพยาบาล แต่พบว่าพระบิดาได้สิ้นพระชนม์ไปเสียแล้ว จึงรู้สึกเสียใจมากและรีบเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับเล่าเรื่องให้ฟังดดยตลอด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเพราะคบคนผิดจึงได้ทำบาปมหันต์เช่นนี้ แต่เพื่อผ่อนหนักให้เป็นเบา ให้นำพระโอรสมาถวายเป็นทานในพระพุทธศาสนา โดยให้เขาสมัครใจ เมื่อทราบดังนั้น เจ้าชายอาชาตศัตรูจึงได้นำพระโอรสพร้อมด้วยพระสหายอีก 500 คน ที่มีความสมัครใจ และบิดามารดาอนุญาตแล้วไปถวาย โดยเริ่มแรกให้อาบน้ำขมิ้นส้มป่อย น้ำอบน้ำหอมที่แช่ด้วยเพชร พลอย ทองคำ และเงินไปรับศีล 5 จากพระพุทธเจ้า และแต่งกายด้วยเครื่องนุ่งห่มของส่างลอง นำไปแห่ตามถนนสายต่างๆในกรุงราชคฤห์ เมื่อครบ 7 วัน จึงนำส่างลองไปบรรพชาเป็นสามเณรต่อหน้าพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระพุทธเจ้าจึงให้นามพระโอรสองค์นี้ว่า

ประเพณีปอยส่างลอง, ประเพณีปอยส่างลอง หมายถึง, ประเพณีปอยส่างลอง คือ, ประเพณีปอยส่างลอง ความหมาย, ประเพณีปอยส่างลอง คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu