ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

"กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก หมายถึง, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก คือ, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก ความหมาย, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
"กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก

       กีวีไม้ผลประเภทเลื้อยเถาในเขตหนาวที่สำคัญชนิดหนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน แต่ได้พัฒนาให้กลายเป็นผลไม้เศรษฐกิจโดยประเทศนิวซีแลนด์ และได้แพร่กระจายและปลูกเป็นการค้าในหลายๆ ประเทศ กีวีมีผลผลิตโดยรวมประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี ประเทศที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ 5 อันดับได้แก่ ประเทศอิตาลี นิวซีแลนด์ จีน ชิลี และฝรั่งเศส เป็นต้น 
ความเป็นมาของกีวี
       เรื่องราวของกีวีเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีมาแล้ว เมื่อมิสชันนารีชาวนิวซีแลนด์คณะหนึ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้นำ ผลไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า "ไชนิส กูสเบอร์รี" (Chinese gooseberries) กลับมาด้วย และในปี พ.ศ.2407 ก็ได้นำกีวีไปปลูกลงบนผืนดินของนิวซีแลนด์ครั้งแรก นั่นเอง 
      หลังจากที่ได้กีวีมาปลูกลงบนผืนดินของนิวซีแลนด์แล้ว ด้วยสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช ผลไม้ชนิดนี้จึงมีรสชาติดีขึ้น ชาวนิวซีแลนด์กินไชนิส กูสเบอร์รีกันเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ.2502 พวกเขาจึงได้ตั้งชื่อ "กีวี่ฟรุต" (Kiwifruit) เป็นชื่อใหม่ของผลไม้ชนิดนี้ ตามชื่อนกกีวีที่เป็นนกสัญลักษณ์ของประเทศ (นกกีวี เป็นนกที่ไม่มีปีก พบเฉพาะในประเทศ นิวซีแลนด์ ชื่อกีวีตั้งตามเสียงร้องของมันโดยชาวเมารี มีขนสีน้ำตาล หรือเทา บางครั้งมีลายเป็นจุดๆ มีหัวขนาดเล็กและปีกเล็กๆ ยาวประมาณ 2 นิ้ว แต่ไม่มีหาง) และเพื่อบ่งบอกว่านี่คือผลไม้ที่ส่งออกไปจากนิวซีแลนด์ 
      ในปี พ.ศ.2495 เป็นครั้งแรกที่ผู้ปลูกกีวีในนิวซีแลนด์ได้ส่งกีวีไปจำหน่ายยังสหราชอาณาจักร แต่ยังส่งไปในนามไชนีส กูสเบอร์รี
       ปัจจุบัน นิวซีแลนด์พัฒนาคุณภาพกีวีจนเป็นที่ต้องการของตลาดโลก สามารถส่งออกกีวีไปยังผู้บริโภคใน 70 ประเทศ เฉพาะยุโรปทวีปเดียวก็ทำสถิติขายได้ปีละ 1.5 ล้านล้านผล รวมทั้งส่งกีวีมาจำหน่ายยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย
กีวีในประเทศไทย
      สำหรับประเทศไทยโครงการหลวงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำพันธุ์กีวีฟรุตจากประเทศนิวซีแลนด์เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และพบว่ากีวีฟรุตบางพันธุ์สามารถออกดอกและติดผลได้ดี มีโอกาสที่จะพัฒนาให้เป็นไม้ผลเศรษฐกิจบนพื้นที่สูงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมายังคงไม่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาชีพอย่างแพร่หลายได้ เนื่องจากพันธุ์กีวีฟรุตที่นำมาปลูกส่วนใหญ่เป็นชนิด A. deliciosa ซึ่งต้องการอากาศที่ค่อนข้างหนาวเย็น ผลผลิตกีวีฟรุตโครงการหลวงมีจำหน่ายจึงยังน้อยมาก คือ ประมาณ 3-4 ตันต่อปีเท่านั้น ปัจจุบันโครงการหลวงได้วิจัยและพัฒนาพันธุ์กีวีฟรุตได้สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถปลูกได้ดีในสภาพอากาศที่ไม่หนาวเย็นนัก กีวีฟรุตจึงนับว่าเป็นไม้ผลที่มีศักยภาพดีชนิดหนึ่งในอนาคต
ชนิดและพันธุ์กีวีที่สำคัญ
  • Actinidia deliciosa
     เป็นกีวีฟรุตที่ปลูกเป็นการค้ามากที่สุดของโลก ลักษณะโดยทั่วไปผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขน เนื้อผลสีเขียว มีปริมาณวิตามินซี 100-200 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hayward สำหรับพันธุ์ที่ปลูกได้ค่อนข้างดีในประเทศไทย คือ พันธุ์ Bruno
  • A. chinensis 
      เป็นกีวีฟรุตชนิดที่เริ่มมีความนิยมที่ปลูกเป็นการค้าใหม่ๆ ขึ้นมามาก พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Hort16A ของนิวซีแลนด์ กีวีฟรุตชนิดนี้ต้องการความหนาวเย็นมากสั้นกว่า A. deliciosa จึงเป็นชนิดที่มีศัยกภาพในการปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย เช่น พันธุ์ Yellow joy จากประเทศญี่ปุ่น และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ จากโครงการศึกษาและคัดเลือกพันธุ์กีวีฟรุตของโครงการหลวง ส่วนใหญ่กีวีฟรุตเนื้อผลมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่ น้ำหนักผลประมาณ 100-150 กรัม ผิวผลสีน้ำตาล มีขนค่อนข้างสั้น มีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 100-200 มิลิลกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม
  • A. arguta 
      มีชื่อเรียกว่า Baby Kiwi, Wee-kis หรือ Grape Kiwi เป็นกีวีฟรุตที่มีการปลูกเป็นการค้าแต่ยังไม่มากนัก ลักษณะโดยทั่วไปผลขนาดเล็ก น้ำหนักผลประมาณ 6-14 กรัม ผิวผลเรียบไม่มีขน รับประทานได้ทั้งเปลือก รสชาติหวาน มีกลิ่นหอมมีปริมาณวิตามินซี ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเนื้อผล 100 กรัม พันธุ์ที่เป็นการค้าที่สำคัญของโลกได้แก่ พันธุ์ Ananasnaya สำหรับประเทศไทยมีหลายพันธุ์ที่นำมาจากประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มว่าศักยภาพดี   ผลไม้แห่งสารอาหารเพื่อสุขภาพ
      กีวีเป็นผลไม้ที่อุดมด้วยคุณค่าสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์สำหรับคนทุกเพศทุกวัย มีข้อมูลและรายงานการวิจัยมากมายที่สนับสนุนคุณค่าของกีวีและการบริโภคกีวี ลิลลี่ ดรัมมอนด์ Food Science Advisor ที่ พลานท์ แอนด์ ฟู้ด รีเสิร์จ บรรยายว่า ในกระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกาย (ซึ่งเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราบริโภคอาหาร) จะเกิดอนุมูลอิสระที่เรียกว่า "ออกซิแดนท์" ซึ่งทำให้เกิดความเสื่อมต่อเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย (ทำลาย DNA) เมื่อเซลล์เสื่อมก็ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานอื่นๆ ของร่างกายและเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไม่พึงประสงค์ต่างๆ ขั้นต้นก็ผิวพรรณร่วงโรยไม่สดใส ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า เกิดการอักเสบต่างๆ ไปจนถึงโรคหนักๆ อย่างโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และมะเร็ง แต่กีวีได้ผ่านการวิจัยแล้วว่าเป็นผลไม้ที่มี วิตามินซี และวิตามินอีในสัดส่วนสูง ซึ่งวิตามินทั้งสองชนิดนี้เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (ตัวต้านออกซิแดนท์) ที่ทรงประสิทธิภาพมาก
       กีวี 100 กรัม ให้วิตามินซีสูงถึง 167% ของ RDA (Recommended Daily Allowance) ให้วิตามินซีมากกว่าการบริโภคแอปเปิล ส้ม กล้วย แครนเบอร์รี องุ่น ลูกแพร์ ทับทิม ในปริมาณที่เท่ากัน
       วิตามินอีในกีวีเป็นวิตามินอีที่อยู่ในแหล่งอาหารที่ปราศจากไขมัน จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ในตัว ซึ่งหมายถึงการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจด้วย
  • โพแทสเซียม (331 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) 
      ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดหัวใจวาย โพแทสเซียมช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูงได้ ผู้มีอายุต้องการโพแทสเซียมช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเส้นใยประสาท กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แต่กล้วยหอม 100 กรัม ให้พลังงานสูงกว่ากีวีถึง 2 เท่า สำหรับคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำคงเผาผลาญพลังงานไปได้ แต่สำหรับคนที่ขาดการออกกำลังกาย พลังงานส่วนเกินที่ได้รับมีผลต่อน้ำหนักตัวที่จะเพิ่มขึ้น
  • ไฟเบอร์ (3.4 กรัม/กีวี 100 กรัม) 
      ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างสุขภาพดีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 38 ราย กลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารตามปกติ อีกกลุ่มรับประทานอาหารตามปกติเช่นกันและกินกีวีด้วยอัตรากีวี 1 ผล/น้ำหนักตัว 30 กิโลกรัม เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่กินกีวีด้วยนั้นขับถ่ายสะดวกและสม่ำเสมอกว่ากลุ่มที่รับประทานอาหารตามปกติอย่างเดียว ผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่ให้เส้นใยอาหาร (Fibre หน่วยกรัม/100 กรัม) เช่น ลูกแพร์ 2.2, แอปเปิล 1.8, ส้ม 1.7, กีวีสีทอง 1.4, กล้วยหอม 1.1, กรัม, องุ่น 0.7
  • โฟลเลต 
      คือแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยในการแบ่งตัวของเซลล์ใหม่ (หมายถึงโครงสร้างร่างกายทั้งหมด) เช่น การสร้างอวัยวะทารกในครรภ์ การสร้างเม็ดเลือด การสร้างสารพันธุกรรมในร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ขาดโฟลเลตมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีความพิการทางสมองและระบบประสาท กีวี 1 ผล ขนาด 76 กรัม มีโฟลเลต 19 ไมโครกรัม หรือ 5% ที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน (RDA)
  • แมกนีเซียม (30 มิลลิกรัม/กีวี 100 กรัม) 
      ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมไปใช้สร้างเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟันได้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของแมกนีเซียม กระดูกที่แข็งแรงช่วยให้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้คล่องตัวขึ้น และมีความสุขกับชีวิตได้เต็มที่ แมกนีเซียมที่มีในผลไม้ชนิดอื่น (หน่วยมิลลิกรัม/100 กรัม) เช่น กล้วยหอม 34, กีวีสีทอง 14.5, ส้ม 10, องุ่นและลูกแพร์ 7, ส้ม 5
  • ซิงก์ 
      แร่ธาตุชนิดนี้มีความสำคัญสำหรับเด็กหนุ่มและผู้ชายทุกคน เพราะเป็นแร่ธาตุที่ใช้สร้างฮอร์โมนเพศชาย (เทสโตสเตอโรน)
      จากผลการศึกษาในนิวซีแลนด์และยุโรปพบว่า การรับประทานกีวี 2 ผล/วัน จะช่วยลดภาวะที่เซลล์จะถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ และยังช่วยซ่อมแซมดีเอ็นเอที่ถูกทำลายจากกระบวนเผาผลาญอาหารของร่างกายได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภูมิคุ้มกันของร่างกาย
       นักวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพบประโยชน์อีกว่า เมื่อกินกีวีพร้อมหรือกินหลังอาหาร - โดยเฉพาะหากอาหารมื้อนั้นเป็นอาหารที่มีไขมันมาก - แร่ธาตุในกีวีจะช่วยลดสภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมากจนสารต้านอนุมูลอิสระมีไม่เพียงพอได้ด้วย
แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43786

"กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก หมายถึง, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก คือ, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก ความหมาย, "กีวี" ผลไม้ของคนทั้งโลก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu