มาตราขนาดคลื่นพื้นผิว () เป็นหนึ่งในขนาดมาตราที่ใช้ในวิทยาแผ่นดินไหว เพื่ออธิบายขนาดของแผ่นดินไหว มาตราดังกล่าวใช้ค่าที่ได้จากการวัดคลื่นพื้นผิวเรย์ลี ซึ่งเดินทางตามชั้นบนสุดของผิวโลกเป็นหลัก ปัจจุบันมาตราดังกล่าวใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมาตรฐานแห่งชาติ (GB 17740-1999) ในการจัดหมวดหมู่แผ่นดินไหว
ขนาดคลื่นพื้นผิวเดิมได้รับการพัฒนาขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยนักวิจัยคนเดียวกับที่พัฒนามาตราขนาดท้องถิ่น (ML) เพื่อพัฒนาความละเอียดในแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
นิยาม
สูตรใช้คำนวณขนาดคลื่นพื้นผิว คือ
โดย A เป็นค่าการกระจัดอนุภาคสูงสุดในคลื่นตัวกลาง (เวกเตอร์ผลรวมของการกระจัดแนวดิ่งทั้งสอง) หน่วยเป็นไมโครเมตร, T เป็นคาบในหน่วยวินาที, Δ เป็นระยะทางจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว หน่วยเป็นองศา และ
ตาม GB 17740-1999 การกระจัดแนวดิ่งทั้งสองจะต้องถูกวัดในเวลาเดียวกัน หรือภายใน 1/8 ของคาบ หากการกระจัดทั้งสองมีคาบแตกต่างกัน ผลรวมถ่วงน้ำหนักจะต้องนำมาคิดด้วย
โดย AN เป็นการกระจัดตามแนวเหนือ-ใต้ หน่วยเป็นไมโครเมตร, AE เป็นการกระจัดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก หน่วยเป็นไมโครเมตร, TN เป็นคาบที่สอดคล้องกับ AN หน่วยเป็นวินาที และ TE เป็นคาบที่สอดคล้องกับ AE หน่วยเป็นวินาที
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ขนาดคลื่นพื้นผิว