กระทรวงสาธารณสุข เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก ขับสารพิษ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง หากเข้าตามีอันตรายถึงตาบอด ส่วนด้วงน้ำมัน รับประทานแค่ 3 ตัวพิษร้ายแรงถึงกับเสียชีวิตได้
พิษร้ายของแมลงชนิดหนึ่ง ซึ่งมีขนาดเล็กแต่กลับมีพิษมหาศาล เพียงแค่สัมผัสถูกพิษที่ออกจากร่างกายของแมลงชนิดนี้ก็สามารถทำให้เกิดแผลพุพองขนาดใหญ่ได้ แมลงชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ด้วงก้นกระดก
ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงก้นกระดก หรือแมลงเฟรชชี่ เนื่องจากพบได้มากในช่วงเปิดเทอมที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งแมลงต้องการความชื้น เพื่อการขยายพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพของแมลงชนิดนี้คือ เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก มีความยาวเพียง 4-7 มิลลิเมตร โดยมีลักษณะจำเพาะคือ ปีกคู่แรกแข็งและสั้นมีสีมันวาว ปีกคู่สองมีขนาดใหญ่แต่จะมองไม่เห็นเด่นชัด ลำตัวมีขนาดเล็กเรียว ส่วนท้องยาวโผล่ออกมานอกปีกสังเกตเห็นได้ง่ายโดยจะชอบงอส่วนท้องขึ้นๆ ลงๆ เมื่อเกาะอยู่กับที่ มีลักษณะสีสันต่างกัน ชนิดที่พบบ่อยในประเทศไทยนั้น ส่วนท้องมีสีส้ม ชาวบ้านชอบเรียกแมลงชนิดนี้ว่า ด้วงปีกสั้น ด้วงก้นกระดก หรือด้วงก้นงอน ตามลักษณะของท้องที่งอขึ้นๆ ลงๆ
สารพิษของแมลงชนิดนี้ คือ สารเพเดอริน (Paederin) เมื่อถูกผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นคันหรือแผลพุพอง ผิวหนังไหม้แดง ปวดแสบปวดร้อน มีไข้ และถ้าถูกพิษบริเวณดวงตา อาจทำให้ตาบอดได้ โดยด้วงก้นกระดกมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่ตามบริเวณพื้นดินที่ชื้น เช่น ตามกองมูลสัตว์ พื้นดิน ในกองไม้ แต่จะชอบบินเข้ามาเล่นแสงไฟในบ้านเรือนที่เป็นพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนที่เผลอไปสัมผัสได้
ด้วงน้ำมัน มีลักษณะเป็นแมลงปีกแข็งเช่นเดียวกับด้วงก้นกระดก แต่มีขนาดใหญ่กว่าด้วงก้นกระดก ลำตัวยาวประมาณ 3-3.5 เซนติเมตร ปีกคู่หน้าจะมีแถบสีเหลืองสลับดำอย่างละ 3 แถบ ชาวบ้านเรียกว่า ด้วงไฟถั่ว หรือด้วงไฟเดือนห้า ส่วนอันตรายของด้วงน้ำมันมักเกิดจากมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นพวกแมลงกินได้จึงนำไปรับประทาน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้ารับประทานมากกว่า 3 ตัวขึ้นไป ผู้ป่วยที่บริโภคด้วงน้ำมันเข้าไปนั้นจะมีอาการคออักเสบ กลืนอาหารลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ อุจจาระร่วง อาเจียนเป็นเลือด ความดันโลหิตลดลง ปัสสาวะเป็นเลือด สลบ และเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว ด้วงน้ำมันถ้าถูกรบกวนหรือถูกต้องตัวจะขับของเหลวสีเหลืองอ่อนที่มี สารพิษแคนทาริดิน (cantharidin) ออกจากข้อต่อของส่วนขา ซึ่งถ้าพิษถูกผิวหนังก็จะเป็นตุ่มพุพองอักเสบ และโดยที่สารแคนทาริดินนี้จะไม่ถูกทำลายโดยความร้อนจากการหุงต้มหรือเผาไฟ ดังนั้นถึงแม้ผู้รับประทานจะนำด้วงน้ำมันไปผ่านความร้อน ก็จะยังได้รับอันตรายจากแมลงชนิดนี้
โดยปกติแมลงทั้งสองชนิดนี้จะไม่กัดคน แต่ถ้าบังเอิญถูกแมลงไต่ตามร่างกายแล้วไปตบตีหรือทำให้ลำตัวแตกหักพิษในตัวแมลงจะถูกขับออกมาเป็นลักษณะของเหลวแล้วซึมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว
ดังนั้นหากร่างกายสัมผัสถูกพิษให้รีบล้างน้ำสะอาด หรือเช็ดด้วยแอมโมเนียทันที และไม่ควรสัมผัสบริเวณที่ถูกพิษเพราะอาจเกิดการลุกลามหรือติดเชื้อซ้ำ ควรทาแผลด้วยยาปฏิชีวนะประเภทครีม แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเป็นอยู่เวลานานควรไปพบแพทย์ นอกจากนี้เราสามารถป้องกันตัวเองได้โดย การลดความสว่างของแสงไฟในเวลากลางคืน หรือปิดมุ้งลวดป้องกันแมลงให้มิดชิด เนื่องจากด้วงก้นกระดกมักเข้ามาเล่นแสงไฟในตอนกลางคืน
แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28306
เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน
เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน หมายถึง, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน คือ, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน ความหมาย, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน คืออะไร
เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน หมายถึง, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน คือ, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน ความหมาย, เตือนอันตรายจากด้วงก้นกระดก-ด้วงน้ำมัน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!