อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต|
อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต|, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| หมายถึง, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| คือ, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| ความหมาย, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| คืออะไร
ผ่านไปแล้วกับเทศกาลสงกรานต์ หลายคนคงใช้เงินไปเยอะ พอหมดช่วงวันหยุด สนุกสนานแล้วก็ต้องกลับคืนสู่การทำงาน บางคนเครียดเนื่องจากต้องปั่นงาน ปั่นเงิน เพราะเอาเงินในอนา คตมาใช้ ทำให้เกิดความ กดดันในการดำเนินชีวิตสูงมาก จึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีรับมือกับความเครียด เพราะ ถ้าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้จะมีโอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา อีกมาก
ถ้าพนักงานในองค์กรมีความเครียดสูงจะทำ ให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพงานและผลประกอบการ เพราะโดยทั่วไปแล้วความ เครียดสามารถส่งผลต่อการเจ็บป่วยทางกายได้ทุกระบบ และมีผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่สะดวก อ่อน เพลีย ปวดหลัง ปวดข้อ ปวด ท้อง โรคกระเพาะ โรคหัว ใจ ความดันโลหิตสูง รวมถึงระบบภูมิต้านทานโรค
นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว ผลกระทบทางด้านจิตใจก็คือ คนที่มีความเครียดนานๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาใน ชีวิตได้ จะเกิดความรู้สึกท้อ แท้ สิ้นหวัง ถ้าเป็นระยะเวลานานอาจป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ไม่สามารถทำงาน รับผิดชอบครอบครัวและชีวิตประจำวันได้ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพบเห็นเป็นข่าวจากสื่อเป็นประจำ
ผลกระทบของความเครียดนอกจากมีต่อตัวเองแล้ว ผลต่อคนรอบข้างก็มีไม่น้อย คนที่มีความเครียดสะสมมักมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย ทำให้บรร ยากาศในครอบครัวหรือ ที่ทำงานไม่ดี คนรอบข้างพลอยเครียดและไม่มีความสุขตามไปด้วย และในหลายๆรายความอดทนต่อความขัดแย้งต่างๆจะลดลง และมักใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงหรือทำ ร้ายผู้อื่น ทำให้เกิดเหตุเศร้าสลดใจตามมา ดังนั้น ทักษะในการจัดการกับความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำ หรับทุกคน เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะในการจัดการกับความเครียด
หลักการคร่าวๆในการรับมือกับความเครียด 2 ข้อใหญ่ๆ คือ
1.พยายามลดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นออกให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง ได้แก่ การปรับลดเป้าหมาย ความคาดหวังต่างๆในชีวิตหรืองานลงให้สอดคล้องกับสถาน การณ์ การใช้ชีวิตแนวเศรษฐ กิจพอเพียง ไม่ใช้จ่ายหรือก่อหนี้เกินกำลัง ส่วนปัญหาแรงกดดันด้านเศรษฐกิจหรือความขัดแย้งทางการเมืองอาจทำได้โดยลดการรับรู้ข่าวสารลง นอก จากนี้การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ การรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ ก็มีส่วนช่วยลดโอกาสเกิดความเครียดได้
2.พยายามเพิ่มความสามารถของตนเองในการรับมือกับแรงกดดัน โดยการจัด การกับความเครียดไม่ให้สะสมอยู่ในตัวเรา เพราะถ้าสะสมมากๆ เมื่อเจอกับความขัดแย้ง โอกาสที่จะถึงจุดเดือดระเบิดอารมณ์ก็เป็นไปได้ง่าย ด้านจิตใจก็เช่นกัน ในวันหนึ่งตั้งแต่ตื่นนอนเช้าจนหัวถึงหมอนเราต้องประสบพบกับเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆมากมาย ทั้งอา รมณ์บวกและลบ อารมณ์ลบที่สะสมและไม่ได้ถูกกำจัดออกจะก่อให้เกิดความเครียดและส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ดังนั้น เราจึงควรหาเวลาส่วนตัวในแต่ละวันเพื่อชำระล้างอา รมณ์ลบออกจากใจ ตั้งแต่การฟังเพลงที่ชอบ การมีงานอดิ เรก เล่นกีฬา เพื่อพักสมอง
การเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเครียด นอก จากทำโดยการฝึกผ่อนคลายแล้ว ยังมีวิธีอื่นเพิ่มเติมอีก ได้ แก่ การฝึกทำอะไรให้ช้าลง คนที่มีสมาธิและสติที่ดีจะมีโอกาสรู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง ช่วยให้การควบคุมอา รมณ์ทำได้ดีขึ้น ปัญหาในชีวิตที่เกิดจากการขาดสติ ควบคุมอา รมณ์ไม่ได้ก็จะลดน้อยลง การใช้วิธีนับ 1-10 หรือการออกจากสถานที่ที่ทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัวก็เป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยลดโอกาสเกิดการระเบิดอารมณ์ได้
อีกวิธีที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความ เครียดได้คือ การหาความรู้เพิ่ม เติมด้านจิตวิทยาและศาสนาเพื่อเพิ่มมุมมองชีวิต มุมมองปัญหาได้กว้างขึ้น เมื่อชีวิตต้องประสบกับปัญหาก็สามารถมองเห็นทางเลือกสำหรับทางออกได้มากขึ้นกว่าเดิม โอกาสที่จะรู้สึกว่าเกิดทางตัน ท้อแท้ หรือโกรธแค้นก็น้อยลง ความสา มารถในการคิดหรือมองโลกในแง่บวก และการให้อภัยจะทำได้ดีมากขึ้น
หวังว่าคำแนะนำนี้จะช่วย ให้คนที่ตกอยู่ในภาวะความ เครียดท่ามกลางสังคมที่สับสนวุ่นวายนำไปปรับใช้ให้เกิดประ โยชน์ต่อตัวเองและคนรอบข้างได้ เป็นการตัดวงจรความเครียด ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงน่าสลดใจตามมา
แหล่งที่มา : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28011
อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต|, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| หมายถึง, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| คือ, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| ความหมาย, อย่าให้ความเครียด |ทำลายชีวิต| คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!