อาการระหว่างคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นมีหลากหลาย บางคนเกิดขึ้นเพียงไม่กี่อาการ บางคนมีมากจนท้อ ซึ่งสาเหตุของอาการส่วนใหญ่ มักทำให้รู้สึกไม่สบายตัว พลอยทำให้ไม่สบายใจตามมา ดังนั้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาการที่อาจเกิดขึ้น
1. แพ้ท้อง : อาการเด่น ๆ เลยคือ คลื่นไส้อาเจียน เหม็น เบื่ออาหารหรือกินไม่ค่อยลง ส่วนใหญ่เป็นช่วง 3 เดือนแรก บางคนเท่านั้นที่จะเป็นถึงช่วงใกล้คลอด
- ให้กินครั้งละน้อย ๆ พออิ่ม และเคี้ยวอาหารช้า ๆ ให้ละเอียด เพื่อให้อาหารย่อยง่ายขึ้น หรืออาหารอ่อน ๆ เช่น นม น้ำซุป โจ๊ก ข้าวต้ม
- ให้จิบน้ำอุ่นบ่อย ๆ หรือน้ำขิงอุ่น ๆ จะช่วยบรรเทาอาการและทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย จากการคลื่นไส้ได้
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายจากอาการคลื่นไส้ แพ้ท้อง และรู้สึกดีขึ้น
2. ปัสสาวะบ่อย : ช่วงเดือนแรก ๆ มดลูกมีการขยายตัวขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยลง จึงเกิดจากอาการอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ บางครั้งก็มีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอได้ เป็นอาการกวนใจ รู้สึกไม่สบายตัว
- เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะเริ่มพ้นเชิงกรานไป อาการที่เป็นก็น้อยลง และเป็นอีกรอบในช่วงใกล้คลอดเมื่อท้องเริ่มต่ำลง เรื่องที่ต้องใส่ใจให้มาก คือ ความสะอาด
- ถ้าเกิดปัสสาวะบ่อยร่วมกับมีอาการปวด แสบ หรือมีเลือดปนมากับปัสสาวะ ให้รีบพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
- ควรกินอาหารที่ให้กากใยอย่างผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ถั่ว ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ยังเป็นหลักการกินที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดอาการท้องผูกได้เสมอ ทุกเพศ ทุกวัยด้วย
- ดื่มน้ำมากๆ มีส่วนช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานสะดวก การดื่มน้ำมากขึ้น หรือกินน้ำลูกพรุนก็ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น
4. จุกเสียด แน่นหน้าอก : เมื่อคุณแม่อายุครรภ์มากขึ้น มดลูกก็ขยายตาม จึงเบียดกระเพาะอาหารและทำให้ระบบการย่อยอาหารช้าลง น้ำย่อยในกระเพาะอาหารจึงย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร เกิดอาการจุกเสียดแน่นหน้าอก เรอเปรี้ยว หลังจากกินอาหารอิ่มนั่นเอง
- ควรกินครั้งละน้อย ๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และไม่กินจนอิ่มมากเกินไป
- เครื่องดื่ม เช่น น้ำขิง น้ำมะตูม ที่มีสรรพคุณระบายลมในกระเพาะ ช่วยย่อยอาหาร ก็ลดอาการจุดเสียดได้ดี
- เสื้อผ้าที่สวมใส่ ก็ต้องไม่คับแน่นเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง กดทับบริเวณกระเพาะอาหารมากขึ้น
5. ปวดหัว : มีได้หลายเหตุผลที่เป็นต้นเหตุ แต่อย่างไรก็ตาม คุณต้องใส่ใจกับอาการปวดหัว พยายามไม่ให้เกิดความเครียดได้ง่าย ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อลูกน้อยในท้อง ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพกายและใจอยู่เสมอ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
- ควรเปลี่ยนอิริยาบถและกิจกรรมที่ทำบ้าง เพื่อให้ระบบไหลเวียนของการร่างกายทำงานดีขึ้น หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ ศีรษะ ด้วยการนวดก็ช่วยลดอาการปวดหัวได้
- ควรจัดระเบียบสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าที่ห้องนอน โต๊ะทำงานให้โล่ง โปร่ง สบาย เป็นวิธีดี ๆ ที่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายตา สบายใจขึ้น
- ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย คิดถึงแต่สิ่งดีๆ ก็ช่วยคลายอาการความเครียดในใจได้ด้วย
6. ตะคริว : อาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ทำให้รู้สึกปวด เช่น น่อง ปลายเท้า ได้บ่อยๆ เพราะเกิดจากภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำหรือการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก
- ถ้าเป็นที่ต้นขา ให้เหยียดหัวเข่าให้ตรง ยกเท้าขึ้นจากพื้นเล็กน้อยและกระดกปลายเท้าลงด้านล่าง ส่วนที่น่อง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องที่ปลายเท้า ดึงผ้าเข้าหาตัวให้ตึง ให้ปลายเท้ากระดกเข้าหาตัว หรือใช้หมอนรองขาเพื่อลดอาการ
- ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง ไม่อยู่ในท่าเดิมนาน ๆ การกินอาหารที่มีแคลเซียม ก็มีส่วนช่วยนะคะ เช่น นม ปลาตัวเล็ก ผักใบเขียว เป็นต้น
- เวลานั่งหรือนอน ให้ยกเท้าสูงเล็กน้อย จะช่วยลดอาการลงได้ดี
- อย่านั่งหรือยืนนาน ไม่ใส่ถุงเท้าหรือรองเท้าที่รัดแน่นเกินไป จะยิ่งทำให้อาการเป็นมากขึ้น
- คุณแม่ท่านใดติดการปรุงอาหารรสเค็มจัด ต้องเลิกนะค่ะ เพราะเกลือทำให้ปริมาณโซเดียมสูงกว่าปกติ ยิ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกกระหาย ร้อนใน มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดอาการบวมได้
- ห้ามซื้อยาขับปัสสาวะมากินเด็ดขาด ถ้าหากหน้าหรือแขนบวม ต้องแจ้งคุณหมอให้ทราบโดยทันที