ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นระบบปฏิทินสุริยคติอ้างวันเดือนปีตรงตามปฏิทินเกรกอเรียนที่มีจำนวนวัน 365 หรือ 366 วันในแต่ละปี โดยปรับเปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติไทยเดิมเมื่อ พ.ศ. 2431 (จุลศักราช 1240) ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชื่อเดือนในภาษาไทยทั้งสิบสองในปฏิทินตั้งชื่อโดยกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ
ในปฏิทินไทยจะมีการแสดงปีปฏิทินสุริยคติไทยเป็นหลักแสดงในรูปแบบปีพุทธศักราช และในหลายปฏิทินมักจะมีการแสดงวันพระ วันข้างขึ้น ข้างแรม ปีจีน และคริสต์ศักราชควบคู่กันไป ในปฏิทินปัจจุบัน ระยะห่างระหว่างปีคริสต์ศักราชกับปีพุทธศักราชจะต่างกัน 543 ปี (ซึ่งปี พ.ศ. 2543 จะตรงกับปี ค.ศ. 2000 พอดี)
เดือน
ในปฏิทินสุริยคติไทยใช้จำนวนเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยจำนวนวันในแต่ละเดือนได้อ้างอิงตามเช่นเดียวกันโดยในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันตั้งแต่ปี 28-31 วัน ชื่อเดือนทรงตั้งโดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดยทรงใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ โดยทรงนำคำสองคำมาสนธิกัน คำต้นเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้นรวมกับคำว่า "อาคม" หรือ "อายน" ที่หมายถึง "การมาถึง" โดยได้ระบุวันอย่างชัดเจนโดยคำว่า "คม" สำหรับเดือนที่มี 31 วัน และคำว่า "ยน" สำหรับเดือนที่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 หรือ 29 วัน ถ้าเป็นปีอธิกสุรทิน
ชื่อไทย อักษรย่อ คำอ่าน รากศัพท์ ความหมาย มกราคม ม.ค. มะ-กะ-รา-คม มกร + อาคม การมาถึงของราศีมังกร กุมภาพันธ์ ก.พ. กุม-พา-พัน กุมภ + อาพันธ์ การมาถึงของราศีกุมภ์ มีนาคม มี.ค. มี-นา-คม มีน + อาคม การมาถึงของราศีมีน เมษายน เม.ย. เม-สา-ยน มษ + อายน การมาถึงของราศีเมษ พฤษภาคม พ.ค. พรึด-สะ-พา-คม พฤษภ + อาคม การมาถึงของราศีพฤษภ มิถุนายน มิ.ย. มิ-ถุ-นา-ยน มิถุน + อายน การมาถึงของราศีมิถุน กรกฎาคม ก.ค. กะ-ระ-กะ-ดา-คม กรกฎ + อาคม การมาถึงของราศีกรกฎ สิงหาคม ส.ค. สิง-หา-คม สิงห + อาคม การมาถึงของราศีสิงห์ กันยายน ก.ย. กัน-ยา-ยน กันย + อายน การมาถึงของราศีกันย์ ตุลาคม ต.ค. ตุ-ลา-คม ตุล + อาคม การมาถึงของราศีตุล พฤศจิกายน พ.ย. พรึด-สะ-จิ-กา-ยน พฤศจิก + อายน การมาถึงของราศีพิจิก ธันวาคม ธ.ค. ทัน-วา-คม ธนู + อาคม การมาถึงของราศีธนู
วันในสัปดาห์
ในปฏิทินสุริยคติวันในสัปดาห์ตามปฏิทินเกรกอเรียนเช่นกันโดยในแต่ละสัปดาห์จะประกอบไปด้วย 7 วัน ซึ่งเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยวันอาทิตย์
ชื่อไทย
คำอ่าน
ชื่อทางโหร
สีประจำวัน
สีประจำวัน
ตามตำราสวัสดิรักษา
อาทิตย์
อา-ทิด
อาทิจวาร (อ)
██ สีแดง
██ สีแดง
จันทร์
จัน
จันทรวาร (จ)
██ สีเหลือง
██ สีนวลขาว
อังคาร
อัง-คาน
ภุมวาร (ภ)
██ สีชมพู
██ สีม่วงคราม
พุธ
พุด
วุธวาร (ว)
██ สีเขียว
██ สีแสด
พฤหัสบดี
พะ-รึ-หัด-สะ-บอ-ดี หรือ พรึ-หัด-สะ-บอ-ดี
ชีววาร (ช)
██ สีแสด
██ สีเขียวปนเหลือง
ศุกร์
สุก
ศุกรวาร (ศ)
██ สีฟ้า
██ สีเมฆ
เสาร์
เสา
โสรวาร (ส)
██ สีม่วง
██ สีดำ
แหล่งที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ปฏิทินสุริยคติไทย