อากาศร้อนอ้าวจนมึนหัว ปากและคอแห้งโหยอยู่ตลอดเวลา ทำให้อยากดื่มแต่น้ำ บางวันอุณหภูมิช่วงเที่ยงสูงเกือบ 40 องศาเซลเซียส ทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก อ่อนเพลีย และระบบย่อยอาหารมักทำงานได้ไม่ดี แต่ไม่ต้องห่วงเรามีอาหารเย็นช่วยแก้ร้อนมาแนะนำ
กินเย็นในที่นี้ไม่ได้หมายถึงกินอาหารที่เย็นอย่างไอศกรีมหรือน้ำแข็ง แต่เป็นการกินอาหารที่ช่วยดับร้อนในร่างกาย กินให้มีสุขภาพดีและปลอดโรคในฤดูแสนทรมานนี้ ส่วนจะกินอย่างไร หรือกินอะไรจึงจะเรียกว่ากินเย็นนั้น ศาสตร์ทางตะวันออกได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกินกับฤดูกาลไว้ เราลองมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันดีกว่า
กินเย็นแบบไทย
โดยปกติแพทย์แผนไทยจะแนะนำการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสมดุลทางร่างกาย กล่าวคือ แต่ละคนเมื่อเกิดมาจะได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม และมีธาตุใดธาตุหนึ่งเป็นธาตุประจำตัว ซึ่งตามตำราได้ระบุไว้ว่า
- ธาตุดินควรกินอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม
- ธาตุน้ำควรกินอาหารรสเปรี้ยว หลีกเลี่ยงอาหารรสมันจัด
- ธาตุลมควรกินอาหารรสเผ็ดร้อน หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด
- ธาตุไฟควรกินอาหารรสขม ไม่ควรกินอาหารรสร้อน
น้ำย่อยและทำให้อยากอาหาร อาหารรสหวาน ก็ต้องกินบ้างเพื่อเพิ่มกำลังและบำรุงร่างกาย แต่ควรเป็นความหวานที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำตาลทรายแดง น้ำอ้อย น้ำผึ้งหลวง ฯลฯ
ปกติเรากินอาหารวันละสามมื้อ มื้อเช้าและกลางวันกินหนักได้ ส่วนมื้อเย็นให้กินน้อยๆ แต่ในหน้าร้อนควรกินทุกมื้อแบบเบาๆ กินทีละน้อย แต่กินบ่อย มากกว่าสามมื้อได้ตามความเหมาะสมของร่างกาย ส่วนมื้อเย็นเหมือนกันคือ ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ข้าวที่กินควรเลือกข้าวเบา หมายถึงข้าวที่สามเดือนเก็บเกี่ยวได้แล้ว เพราะไม่มีแป้งมาก หรือใช้ข้าวกล้องหอมมะลิ นอกจากจะอิ่มได้สารอาหารครบแล้ว ยังได้รสหอมเย็น ซึ่งตามตำราไทยบอกว่ารสนี้จะช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้นขึ้น เช่นเดียวกับข้าวแช่ที่เขาจะใส่น้ำลอยดอกมะลิให้หอม และใช้น้ำจากตุ่มดินซึ่งจะเย็นชื่นใจ ในสมัยก่อนจะไม่ใส่น้ำแข็งอย่างเดี๋ยวนี้ เพราะว่าการกินน้ำแข็ง ดื่มน้ำเย็นจัด ของเย็นๆ หรือแม้แต่ของร้อนจัดจะทำให้ปวดมวนท้องและกระเพาะทำงานได้ไม่ดี
หน้าร้อนต้องระวังเรื่องการเสียน้ำ จึงควรดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาอุณหภูมิปกติให้มากพอ ถ้าอยากกินน้ำเย็นก็ใส่น้ำแข็งน้อยๆ แค่ก้อนสองก้อนก็พอ
กินเย็นแบบจีน
แพทย์แผนจีนแบ่งอาหารตามคุณสมบัติเป็น 4 แบบ คือ เย็น สุขุม (ค่อนข้างเย็น) ร้อน อุ่น และใช้อาหารที่มีคุณสมบัติเย็นและสุขุมไปรักษาโรคร้อน
ดังนั้น การกินต้องเข้าใจสภาพร่างกายของเราว่าเป็นหยินหรือหยาง และเลือกกินให้สอดคล้องกับภูมิ
อากาศ ฤดูกาล ช่วงเวลาที่กิน เพื่อให้เกิดความสมดุลภายในร่างกาย เช่น หน้าร้อนร่างกายจะได้รับความร้อนมาก หรือคนที่ปกติรู้สึกร้อนง่าย คอแห้ง ขมคอ ผอม ผิวหนังแห้ง แพทย์แผนจีนเรียกว่า ภาวะหยินพร่อง คือมีไฟในร่างกายมาก ควรจะกินอาหารที่เพิ่มหยินและขับร้อน
หน้าร้อนจึงแนะนำให้กินอาหารที่ค่อนไปทางเย็น มีรสขม เค็ม และเปรี้ยว เช่น ผักและผลไม้ จะรู้สึกสบายท้องกว่าการกินอาหารรสเผ็ดและหวาน และไม่ควรกินอาหารชนิดเดียวต่อเนื่องกันนานๆ อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุล เพราะพลังหยางของกระเพาะอาหารและม้ามถูกทำลายทำให้อ่อนแอ มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย อาหารไม่ย่อยได้ง่าย คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยต้องหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด และระวังอย่าให้ช่วงท้องกระทบความเย็น เพราะจะทำให้ระบบย่อยด้อยประสิทธิภาพ
นอกจากนี้คุณหมอยังแนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มแล้วมากๆ หรือดื่มน้ำชาร้อน (ชาเป็นหยิน มีความเย็น ควรดื่มอุ่นๆ) น้ำเก๊กฮวย น้ำบ๊วย น้ำถั่วเขียว เพื่อลดความร้อนของหัวใจ ทำให้ตาสว่าง สำหรับคนที่ทำงานกลางแจ้งอาจเติมเกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อยเพื่อชดเชยการเสียเหงื่อ ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัด โดยเฉพาะชาใส่น้ำแข็ง น้ำชาแช่เย็น หรือแตงโมแช่เย็น เนื่องจากชาและแตงโมเป็นหยินหรือเย็นอยู่แล้ว การกินเย็นจัดจะรบกวนระบบย่อยอาหาร ทำให้ระบบต่างๆ หดตัวอย่างรวดเร็ว จึงไม่สบายง่าย
การกินเย็นในหน้าร้อนโดยสรุปหมายถึงการกินเพื่อป้องกันและแก้อาการไม่สบายต่างๆ ที่เกิดจากสภาพอากาศในฤดูร้อน โดยเลือกกินให้สอดคล้องกับสภาพพื้นฐานของร่างกาย อาหารที่เหมาะสมคือมีคุณสมบัติเย็นมีประโยชน์ในทางสมุนไพร ช่วยดับความร้อนซึ่งไม่ได้หมายถึงอาหารที่มีอุณหภูมิเย็นเสมอไปมื้อต่อไป ถ้าคุณคิดออกแล้วว่าจะกินอะไร อย่าลืมพิจารณาเพิ่มอีกนิดว่า อาหารมื้อนั้นช่วยดับร้อนหรือเปล่า
อาหารไทยที่เหมาะกับฤดูร้อน อาหาร เช่น แกงขี้เหล็ก แกงส้มแตงโมอ่อน ต้มโคล้งใบมะขามอ่อน ยำแตงกวา ต้มส้มปลากระบอก น้ำพริกกับผักรสขม มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวแช่ (ไม่ใส่น้ำแข็ง)
- ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะยม มะเฟือง
อาหารที่มีคุณสมบัติเย็นตามทฤษฎีจีน
- เนื้อสัตว์ เช่น ปู เป็ด ห่าน
- ผลไม้ เช่น กล้วย ส้ม สาลี่ แตงโม สับปะรด น้ำมะพร้าว มะละ กอ ส้มโอ มังคุด
- ผัก เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง แตงกวา มะเขือเทศ ฟัก สาหร่ายทะเล มะระ ผักกาดขาว ดอกไม้จีน ผักบุ้ง หัวไช้เท้า หน่อไม้ เห็ดหูหนู
- อาหารที่มีไขมัน เช่น ของทอด แกงกะทิ ขาหมู หมูกรอบ ปีกไก่ เบคอน เป็ดย่าง ฯลฯ
- อาหารที่มีรสร้อน เช่น พริก ดีปลี
- อาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด
- น้ำเก๊กฮวย ใช้ดอกเก๊กฮวย 10 กรัม ชาใบเขียว 10 กรัม ต้มกับน้ำ 500 มิลลิลิตร (2 ถ้วย) ใช้ดื่มต่างน้ำช่วยขับร้อน
- น้ำใบบัวบก ใบบัวบก 20 กรัม ต้มกับน้ำ 1 000 มิลลิลิตร (4 ถ้วย) เวลาดื่มเติมน้ำตาลได้เล็กน้อย ช่วยลดความกระหายน้ำ ลดไขมันในเลือด
- น้ำบ๊วย บ๊วยเค็ม 100 กรัม (ชนิดเดียวกับที่ใช้นึ่งปลา) ต้มกับน้ำ 1,000 มิลลิลิตร ใส่น้ำตาลเล็กน้อย พักให้เย็น ดื่มแก้กระหาย แก้ไอ และท้องเสีย
- น้ำกระเจี๊ยบ ใช้กลีบกระเจี๊ยบแห้งต้มกับน้ำตาลกรวด เติมเกลือป่นเล็กน้อยให้มีรสเปรี้ยวนำและ
- หวานกลมกล่อม ดื่มแก้กระหาย ทำให้ชุ่มคอ