ดูแลไตในหน้าร้อน
ดูแลไตในหน้าร้อน, ดูแลไตในหน้าร้อน หมายถึง, ดูแลไตในหน้าร้อน คือ, ดูแลไตในหน้าร้อน ความหมาย, ดูแลไตในหน้าร้อน คืออะไร
หลายคนยังไม่รู้ว่าหน้าที่ของ "ไต" มีความสำคัญอย่างไรต่อร่างกาย และที่น่ากังวลยิ่ง เนื่องจากขณะนี้บ้านเรามีผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายมากกว่า 30,000 ราย ซึ่งรัฐต้องสูญเสียทรัพยากรจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้
สำหรับเรื่องนี้วิธีป้องกันดูจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดูแลสุขภาพ
ไตคนเรานั้นมี 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลังตรงบั้นเอว ภายหลังที่เรารับประทานอาหาร ขนม หรือน้ำดื่ม ร่างกายจะเก็บสิ่งที่ดีมีประโยชน์ไว้ ส่วนเกินหรือสิ่งที่ไม่ต้องการจะถูกขับออกทางไตเป็นปัสสาวะ ซึ่งในน้ำปัสสาวะจะมีสารหลายชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ รวมทั้งเกลือแร่ กรด ด่าง เพื่อปรับสมดุล
แต่เมื่อใดที่ร่างกายเริ่มแสดงอาการอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น บวมตามใบหน้า แขน ขา อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร ซีดลง เหนื่อยง่าย ปัสสาวะมีสีผิดปกติ แสดงว่าไตเริ่มทำงานไม่ปกติแล้ว อย่างไรก็ดี บางคนกลับไม่มีอาการ เพราะร่างกายสามารถปรับตัวได้ดีมาก
สำหรับหน้าร้อนนี้ ผู้ที่ไตปกติคงไม่มีข้อระวังอะไรเป็นพิเศษ นอกจากพยายามหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะจะทำให้เสียเหงื่อมากกว่าฤดูอื่นๆ ยิ่งถ้าชอบรับประทานอาหารรสจัด ๆ ก็ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะการที่ร่างกายจะขจัดของเสียได้ ต้องอาศัยน้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองของไตให้กลายเป็นปัสสาวะ ดังนั้นควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2ลิตร เพื่อให้ร่างกายขับถ่าย นำพาของเสียออกทางปัสสาวะได้อย่างเต็มที่ ซึ่งร่างกายจะบอกความต้องการได้จากการกระหายน้ำ เพียงแค่ดื่มน้ำชดเชยเหงื่อที่เสียไปก็ช่วยให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้ว
แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ในหน้าร้อนควรใส่ใจดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดย
1. น้ำดื่ม
ผู้ป่วยโรคไตชนิดน้อยถึงปานกลาง คือผู้ที่มีความดันโลหิตไม่สูงมาก ไม่มีอาการบวมบริเวณแขนและขา ปัสสาวะออกเกิน 1ลิตรต่อวัน สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 1ลิตรครึ่ง ถึง 2ลิตร หรือตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อการขับถ่ายของเสียจะได้เป็นปกติ
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งรักษาโดยการฟอกเลือดหรือผ่านการทำ ไตเทียมมาแล้ว ควรดื่มน้ำเมื่อกระหายในปริมาณพอดีๆ ในแต่ละครั้ง แต่ไม่ควรเกินครึ่งลิตรต่อวัน เนื่องจากร่างกายไม่ค่อยมีเหงื่อออกและปัสสาวะน้อยอยู่แล้ว จึงควรระวังให้น้ำหนักคงที่ ไม่ดื่มน้ำมากเกินไปจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำท่วมปอด เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคไตที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ไม่ควรเดินหรือยืนตากแดดนานไป เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต อาจสูงมากไปหรือต่ำเกินไป จนเป็นลมหรือเกิดอุบัติเหตุได้ ทั้งนี้ น้ำดื่มจะต้องไม่ผสมเกลือแร่ หรือดื่มน้ำแร่ เพราะจะทำให้เพิ่มปริมาณเกลือแร่ในร่างกายสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนการดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคไตแต่ละระยะจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะสารโพแทสเซียม ซึ่งอาจเป็นอันตรายถ้ามีมากเกินไป รวมทั้งหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีสีดำ ซึ่งมีฟอสฟอรัสสูง ไม่เหมาะต่อผู้เป็นโรคไต เพราะมีเกินอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับโรคกระดูกตามมาได้
2. อาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม ซึ่งจะส่งผลต่อความดันโลหิตสูง หัวใจ และน้ำท่วมปอด รวมถึงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น มะม่วง ทุเรียน ลิ้นจี่ ขนุน ลำไย เงาะ เพราะจะทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอและหยุดเต้นได้ สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ไตยังทำงานปกติ สามารถกินอาหารที่รสไม่เค็มจัดเกินไปและผลไม้ได้พอสมควร เพียงแต่ต้องระวังเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการคั่งของเกลือ ส่วนผู้ป่วยโรคไต ที่การทำงานเสื่อมลงปานกลางหรือมากแล้ว หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ถั่ว และอาหารแปรรูป เช่น กุนเชียง ไส้กรอก หมูยอ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ร่างกายจึงสามารถต่อต้านโรคภัยได้
แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43690
ดูแลไตในหน้าร้อน, ดูแลไตในหน้าร้อน หมายถึง, ดูแลไตในหน้าร้อน คือ, ดูแลไตในหน้าร้อน ความหมาย, ดูแลไตในหน้าร้อน คืออะไร
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!