ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

"คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว หมายถึง, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว คือ, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว ความหมาย, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
"คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว

  
    ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อ 26 ธ.ค. 2547 ยังคงเป็นภาพทรงจำชัดเจนในใจของคนไทยทั้งประเทศ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 5 ปีแล้ว หลายคนยังฝันร้ายและสวดภาวนาขออย่าให้มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยอีกเลย..แต่ในโลกของความเป็นจริงแผ่นดินสยามตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแผ่นดินไหวไม่ต่ำกว่า 120 แห่ง แต่เป็นรอยเลื่อนมีพลังพร้อมจะสั่นสะเทือนประมาณ 13 รอยเลื่อน..โดยเฉพาะรอยเลื่อนใหญ่ที่สุดแถบภาคเหนือและกาญจนบุรี รอยเลื่อนเหล่านี้เคยแสดงฤทธิ์เดชทำให้แผ่นดินไหวขนาด 5 - 6 ริกเตอร์มาแล้ว


       ปัจจุบันรอยเลื่อนเหล่านี้กำลังสะสมพลังหรือสะสมแรงเครียด หมายความว่า ในอนาคตไม่รู้วันไหนที่รอยเลื่อนเหล่านี้จะขยับตัวกลายเป็นแผ่นดินไหวร้ายแรงอีกครั้ง... รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย นักวิจัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) กล่าวในฐานะหัวหน้าโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย อธิบายว่า ขนาดหรือความแรงของแผ่นดินไหวไม่สำคัญเท่าสถานที่เกิด         เพราะ ถ้าขนาด 7 ริกเตอร์เกิดในภูเขาหรือที่ราบสูงริมชายแดนภาคเหนือ อาจไม่สร้างความเสียหายเท่าขนาด 5 ริกเตอร์ที่เกิดใจกลางเมืองกรุงเทพฯ สิ่งที่นักวิชาการกังวลที่สุดคือ แผ่นดินไหวที่เกิดในบริเวณพื้นที่ชุมชนมีอาคารเรียงตัวกันอยู่หนาแน่น รวมถึงแหล่งที่พักอาศัย เขตชุมชนที่อาศัยอยู่กันมานาน จะมีอาคารเก่าแก่จำนวนมาก บ้านเรือนหรือห้องแถวเหล่านี้มักก่อสร้างด้วยความประหยัดโครงสร้างไม่แข็งแรง ถ้าเกิดแผ่นดินไหวเพียงเล็กน้อย จะถล่มลงมาอย่างง่ายดาย จากสถิติในประเทศไทยชี้ว่า ความถี่การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ เกิดขึ้นประมาณ 200-300 ปีต่อครั้ง และโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ประมาณ 50-60 ปีต่อครั้ง แต่ที่เกิดบ่อยประมาณ 5 -10 ปีต่อครั้งก็คือแผ่นดินไหวขนาด 5 - 5.9 ริกเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายรุนแรง ต้องช่วยกันเสริมโครงสร้างบ้านเรือนให้แข็งแรงในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหวทั่วประเทศ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ลำพูน แม่ฮ่องสอน ตาก พะเยา กาญจนบุรี โดยเฉพาะ พื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นดินโคลนอ่อนหนาถึง 26 เมตร ชั้นดินโคลนอ่อนจะยิ่งขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้สูงขึ้นได้ 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับหินแข็งทั่วไป
  "คำถามสำคัญคือ ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในไทย ทำอย่างไรจึงป้องกันไม่ให้อาคารเก่า หรือบ้านเรือนในเขตชุมชนพังทลายลงมา ? "
     รศ.ดร.อมร พิมานมาศ นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ แสดงความเห็นว่า ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน ทำให้สามารถป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหวได้หลายวิธี แต่ก่อนอื่นต้องศึกษาโครงสร้างตึกก่อนว่า ควรจะใช้วิธีใดป้องกัน ซึ่งโครงการที่ทำการศึกษาวิจัยจนประสบความสำเร็จแล้ว คือ "โครงการเสริมกำลังเสาต้านทานแผ่นดินไหวด้วยแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์" ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในต่างประเทศใช้วิธีนี้กันแล้วอย่างกว้างขวาง แต่สำหรับประเทศไทยนับเป็นครั้งแรกที่เริ่มทดลอง 



















     ผลออกมาสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้เสาของตึกสามารถต้านแผ่นดินไหวและมีความเหนียวเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 3 เท่าขึ้นไป ที่สำคัญคือควักกระเป๋าจ่ายเงินเพียงไม่กี่หมื่นบาทเท่านั้น
    "ส่วนใหญ่อาคารบ้านเรือนหรือตึกที่ถล่มจากแผ่นดินไหวนั้นเกิดจากเสาแตกร้าว หมายความว่าแผ่นดินไหวจะทำให้ตึกเกิดการสั่นสะเทือนจนทำให้คอนกรีตที่หล่อเป็นเสาแตกร้าวและหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ เหลือแต่โครงเหล็กเส้นที่เสริมอยู่ด้านใน ตำแหน่งเสาที่อันตรายที่สุดซึ่งมีโอกาสแตกร้าวและเสียหายได้ง่ายมากคือบริเวณโคนเสาชั้นล่างของตึก เพราะเป็นจุดที่รองรับน้ำหนักของตึกทั้งหลัง ในต่างประเทศได้มีการทดลองนำวัสดุเส้นใยหลายชนิดมาพันรอบเสาเพื่อกันเสาแตกร้าว เช่น เส้นใยคาร์บอน เส้นใยอะรามิด (Aramid Fiber) และ เส้นใยแก้ว ซึ่งให้ผลเป็นอย่างดี แต่สำหรับประเทศไทยนั้นวิธีที่ได้ผลดี มีต้นทุนไม่สูง การก่อสร้างทำได้สะดวกรวดเร็ว คือ การใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มาพันโอบรอบโคนเสาของอาคารทั้งหมด ถ้าอาคารพาณิชย์มีเสา 8 ต้น ก็จะพันเฉพาะช่วงโคนเสาชั้นล่างทั้งหมด เสียค่าใช้จ่ายหลักหมื่นเท่านั้น"

















     นักวิชาการหนุ่มไฟแรงอธิบายต่อว่า โครงการนี้ทดลองสุ่มเลือกบ้านเรือนและอาคารตัวอย่าง 20 กว่าแห่งของเมืองไทยที่มีความสูงตั้งแต่ 3 - 10 ชั้น เพื่อสำรวจดูโครงสร้างของเสา ทำให้รู้ว่าเสาของอาคารจะมีหลายๆขนาด ตั้งแต่ 20 ซม. จนถึง 60 ซม.หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความสูงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารพาณิชย์ โรงเรียน หรือ แฟลต หอพัก ฯลฯ ซึ่งหลายๆอาคาร ด้านล่างจะเป็นเสาล้วน ๆ ไม่มีกำแพง เพื่อเปิดให้เป็นที่โล่งสำหรับการใช้สอยอาคาร หากเสาของตึกเหล่านี้มีขนาดเล็กและไม่มีการเสริมเหล็กรองรับแผ่นดินไหวอย่างถูกต้องแล้ว เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา ตึกก็อาจจะพังถล่มลงมาได้ จึงควรต้องหาวิธีป้องกันไว้ก่อน วิธีการป้องกันคือ ใช้แผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มาพันรอบเสา โดยมีความสูงของการพันประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของความสูงของเสา
     "วิธีการง่ายมากครับ เริ่มจากพันแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์รอบแรก จากนั้นก็ใช้กาวอีพอกซี่ทารอบ ๆ คล้ายกับการฉาบให้กาวซึมเข้าไปในเนื้อของแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์จากนั้นก็ใช้แผ่นที่สองมาพันล้อมรอบอีกครั้งแล้วก็ค่อย ๆ ฉาบกาวอีพอกซี่ซ้ำอีกครั้ง แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยใช้เวลารออีก 1 วัน เพื่อให้กาวเซ็ตตัวจนแห้งสนิท วิธีการนี้สะดวกรวดเร็วต้นทุนประมาณเสาละ 3000-5000 บาทเท่านั้น ถ้าตึกแถวมีเสา 10 ต้น ก็แค่หลักหมื่นบาทเท่านั้น ตอนนี้การทดลองสำเร็จเรียบร้อยดี และยินดีจะเปิดข้อมูลให้ผู้ที่สนใจเข้ามาปรึกษา โดยเฉพาะกลุ่มที่อาศัยในเขตเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว แม้จะเป็นบ้านเรือนหรืออาคารเก่า ก็จะช่วยรองรับแรงแผ่นดินไหวได้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า ไม่จำเป็นต้องทุบหรือรื้อโครงสร้างตึกทั้งหมด" ดร.อมรกล่าว
     เมื่อนักวิจัยของไทยระดมสมองเพื่อหาวิธีป้องกันไม่ให้ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวไว้หลายวิธี สุดท้ายอยู่ที่เจ้าของบ้านเรือนหรืออาคารพาณิชย์ในพื้นที่เสี่ยงภัยว่า จะตระหนักและยอมควักกระเป๋าลงทุนไม่กี่หมื่นบาท เพื่อป้องกันปัญหานี้หรือไม่ หรือออกกฎหมายระบุชัดเจนไปเลยว่า เจ้าของอาคารในเขตแผ่นดินไหวที่ประมาทมักง่ายไม่ยอมเสริมโครงสร้างตึกให้แข็งแรง เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริง ๆ จะไม่ได้รับสิทธิในเงินค่าช่วยเหลือต่าง ๆ อย่าลืมว่าเงินช่วยเหลือทุกบาททุกสตางค์ล้วนแล้วแต่เป็นภาษีของคนไทยทั้งประเทศ ควรเก็บไว้ช่วยเหลือเฉพาะคนที่สมควรได้รับอย่างแท้จริง...
แหล่งที่มา : https://www.oknation.net/blog/bypunnee/2010/09/02/entry-1


"คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว หมายถึง, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว คือ, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว ความหมาย, "คาร์บอนไฟเบอร์" ป้องกันตึกถล่มจากแผ่นดินไหว คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu