ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

"ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย หมายถึง, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย คือ, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย ความหมาย, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
"ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย

    หนุ่มสาวออฟฟิศที่นั่งโต๊ะทำงานวันละ 8 ชั่วโมง วุ่นวายอยู่กับเอกสารกองโตหรือคร่ำเคร่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ส่วนใหญ่ล้วนถูกความอ่อนเพลียและเมื่อยล้าคุกคาม และหากคุณถูกความปวดเล่นงานแล้ว เรามีวิธีรับมือง่ายแต่ได้ผลมหาศาลมาบอก

    ความอ่อนล้าและอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและร่างกาย เป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงานก็จริง แต่อาการปวดหลังปวดบ่าชนิดเรื้อรัง นั้นจำเป็นที่หนุ่มสาวออฟฟิศต้องหันมาเอาใจใส่กันอย่างจริงจังมากขึ้น

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ โรงพยาบาลเวชธานี เผยว่าคนทำงานที่มีช่วงอายุ 25-45 ปี มักประสบปัญหาอาหารปวดบ่าและปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนั่งที่ผิดวิธี เช่น นั่งหลังงอ หรือนั่งไขว้ห้าง ซึ่งน้ำหนักจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งจนทำให้กระดูกสันหลังคดการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์งานนานๆ กล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอจะเกร็ง จึงปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ หากสะสมนานๆ อาจกลายเป็นโรคหลังเรื้อรังได้ ในบางรายที่มีอาการศรีษะตามมา เนื่องจากกล้ามเนื้อที่หดตัวนั้นไปกดทับเส้นเลือด ทำให้เลือดมาเลี้ยงสมองไม่เพียงพอเพิ่มมากขึ้น

    โดยผู้หญิงที่ยืนหรือเดินบนรองเท้าส้นสูงนานๆ เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อตั้งแต่บริเวณน่อง ไล่มาทั้งขา สะโพก เอว จนทำให้กระดูกสันหลังช่วงเอวแอ่นตัวไปข้างหน้า กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนกำลัง ไขมันจึงสะสมได้ง่าย หากกล้ามเนื้อไม่ได้ออกกำลัง อาจทำให้หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนไปตามการแอ่นของกระดูกสันหลัง มากดทับเส้นประสาทขา จนกลายเป็นอัมพาตช่วงขาในที่สุด

    เพราะฉะนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดบ่าและหลังผู้เชี่ยวชาญแนะว่า เราสามารถเริ่มฝึกด้วยตัวเองง่ายๆ ให้รู้จักใช้ร่างกายอย่างถูกวิธีนั่นคือ นั่งตัวตรงถ่ายเทน้ำหนักไปที่ก้นทั้งสองข้างเท่าๆ กัน แนวขาทำมุม 90 องศากับแนวสะโพไก เพื่อกระจายแรงที่จะไปกดทับกระดูกสันหลัง ควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถ จากนั่งเป็นยืนหรือเดินเสียบ้าง เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว เปิดการไหลเวียนของเลือดได้ จากนั้นจึงหมุนคอและบิดลำตัวอย่างช้าๆ เพื่อให้มัดกล้ามเนื้อทุกเส้นใยได้ออกแรงซึ่งการทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกระเทือนต่อข้อกระดูกที่อาจเคลื่อนตัว และส่งผลถึงเส้นประสาทและการทำงานงของร่างกาย

    พร้อมกับการฝึกการหายใจเข้า-ออกในลักษณะแขม่วท้อง เพื่อให้แรงดันจากกล้ามเนื้อช่วยปรับกระดูกสันหลังช่วงเอวให้เข้าที่ ช่วยให้ช่วงช่วงอกยืดตัว หลังจะได้ไม่ค่อมส่วนปัญญาการปวดบ่าและหลังที่เกิดขึ้นกับร่างกายเป็นประจำทุกวัน อาจทำให้บางคนเกิดความเคยชินและมองว่าอาการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงมากมาย แต่ในความจริงแล้วอาการปวดเรื้อรัง ก่อทั้งความรำคาญและทำลายความสุขในการใช้ชีวิต หรืออาจถึงขั้นทำให้โครงสร้างร่างกายเสียสมดุล ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆ กล้ามเนื้ออ่อนล้าและร่างกายอ่อนแรงในที่สุด

    สำหรับหนุ่มสาวทำงานที่ยังมีอาการปวดไม่รุนแรง หากใส่ใจดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มต้นด้วยตัวเอง จะสามารถป้องกันการการปวดเรื้อรังได้ แต่บางรายที่มีอาการปวดเข้าชั้นเรื้อรังจนไม่สามารถออกกำลังหรือดูแลรักษาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด และแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อจะดีที่สุด

แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43719


"ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย หมายถึง, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย คือ, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย ความหมาย, "ไม่ปวด" ถ้ารู้จักใช้ร่างกาย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu