ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

วันธาลัสซีเมียโลก, วันธาลัสซีเมียโลก หมายถึง, วันธาลัสซีเมียโลก คือ, วันธาลัสซีเมียโลก ความหมาย, วันธาลัสซีเมียโลก คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 0
วันธาลัสซีเมียโลก


"โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย" เป็นโรคเลือดจางเรื้อรังทางกรรมพันธุ์ ที่พบได้บ่อยในประเทศไทย
    ศ.เกียรติคุณ พญ.คุณหญิงสุดสาคร ตู้จินดา ประธานมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ กล่าวว่า "คนไทยประมาณร้อยละ 30 มีพันธุกรรมของโรคนี้แฝงอยู่ในตัวโดยไม่มีอาการ หรือที่เรียกกันว่าเป็นพาหะ เมื่อบุคคลเหล่านี้มาแต่งงานกันจะทำให้มีลูกหลานเป็นโรคนี้ ปัจจุบันมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียประมาณ 600,000 คน และในประเทศไทยจะมีทารกเกิดใหม่ที่เป็นโรคนี้มากปีละประมาณ 12,000 คน และถ้าไม่มีการควบคุมป้องกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น"
    โรคธาลัสซีเมีย มีความรุนแรงหลายระดับ บางชนิดรุนแรงมากทารกจะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์ บางชนิดอาการน้อยจะซีดลงเมื่อมีไข้ไม่สบาย
    อาการของผู้ป่วยชนิดที่ค่อนข้างรุนแรงคือ ซีดเรื้อรัง ตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้ามและตับโต ต้องรับการให้เลือดเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้มีธาตุเหล็กเกินสะสมในร่างกาย มีผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย
     การรักษาส่วนใหญ่เป็นแบบประคับประคอง คือให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดลงมาก ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีการให้เลือดอย่างสม่ำเสมอจนหายซีด ร่วมกับการให้ยาขับเหล็ก
     ปัจจุบันในประเทศไทยสามารถรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียให้หายขาดได้แล้ว โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ได้จากไขกระดูก หรือเลือดสายสะดือของพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน หรือจากผู้บริจาคที่มีเอชแอลเอ (HLA) ตรงกัน
     การรักษาโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ทำได้ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยหลายแห่ง แต่ยังคงมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอยู่
     การป้องกันโรคสามารถทำได้โดยการตรวจเลือดก่อนแต่งงานหรือก่อนตั้งครรภ์เพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมียทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งปัจจุบันหญิงมีครรภ์ได้รับสิทธิที่จะได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544
     หากตรวจพบว่าเป็นพาหะ ต้องพาคู่สมรสมาตรวจดูด้วยว่าเป็นพาหะด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเป็นพาหะทั้งคู่ก็มีโอกาสเสี่ยงในการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งจะต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ็โเพื่อหาทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคธาลัสซีเมีย
     รศ.ดร.นพ.วิปร วิประกษิต แพทย์ประจำสาขาวิชาโลหิตวิทยาและอองโคโลยี ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "หลายคนคิดว่าธาลัสซีเมียเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ค่อยให้ความสำคัญ แต่จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเป็นอย่างมาก ผลการวิจัยของโรงพยาบาลศิริราช พบคนไทยเป็นพาหะโรคธาลัสซีเมีย 30-50 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละปี มีคนที่เป็นพาหะแต่งงานกันมากถึง 1-1.5 หมื่นราย ผู้ป่วยธาลัสซีเมียถ้าไม่ได้รับการรักษา มีโอกาสเสียชีวิตภายใน 10 ปี"
     เนื่องในวันธาลัสซีเมียโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 8 พ.ค.ของทุกปี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เตรียมจัดงาน ชมรมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทยครั้งที่ 23 และวันธาลัสซีเมียโลก ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด เดอะพาวเวอร์ออฟธาลัสซีเมีย เดอะพาวเวอร์ออฟยู (The Power of Thalassemai, The Power of you) ซึ่งหมายถึง การรวมพลังกัน จับมือกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นระหว่างหมู่สมาชิก
     ภายในงานมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรค และแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ เพื่อกระจายความรู้สู่ประชาชนและวงการแพทย์มากขึ้น
แหล่งที่มา : https://www.vcharkarn.com/varticle/43771

วันธาลัสซีเมียโลก, วันธาลัสซีเมียโลก หมายถึง, วันธาลัสซีเมียโลก คือ, วันธาลัสซีเมียโลก ความหมาย, วันธาลัสซีเมียโลก คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu