ความรู้ เกร็ดความรู้ สารานุกรม สารานุกรมออนไลน์ ความรู้รอบตัว ความรู้ทั่วไป พจนานุกรม เกมส์ เพลงใหม่ เพลง

ที่มาของการผายลม, ที่มาของการผายลม หมายถึง, ที่มาของการผายลม คือ, ที่มาของการผายลม ความหมาย, ที่มาของการผายลม คืออะไร
| เปิดอ่าน 0 | ความคิดเห็น 2
ที่มาของการผายลม

ที่มาของการผายลม(ตด)
 
ผายลม หรือ ตด ในภาษาพูด โดยทั่วไปเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์ ในวันหนึ่งๆ คนเราอาจผายลมได้ 10-20 ครั้ง ซึ่งคิดเป็นปริมาณแก๊สที่ปล่อยออกมา คือ 0.5-1 ลิตรต่อวัน

สาเหตุของการผายลม
ผายลมเกิดจากการรวมตัวของแก๊สหลายชนิด มีส่วนประกอบหลักๆ ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน ออกซิเจน และมีเทน โดยก๊าซเหล่านั้นจะเกิดขึ้นมากหากเกิดความรู้สึกเครียด การสูบบุหรี่ มีน้ำมูก การสวมฟันปลอมที่ไม่กระชับพอดี เคี้ยวหมากฝรั่งหรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดแล้วรีบกลืน รวมทั้งการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Carbonated นอกจากนี้ ยังเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ไม่สามารถย่อยอาหารบางประเภทได้หมด จึงทำให้เกิดก๊าซ โดยอาหารย่อยยากนั้นคือ กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ถั่ว บร็อคโคลี หอมหัวใหญ่ หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต มันฝรั่ง พร้อมด้วยอาหารที่มีกากใยสูงและนม

ผายลมบอกโรค
ปกติคนเราขับแก๊สส่วนเกินออกจากร่างกายได้ 2 ทาง คือ การขับออกทางปาก (เรอ) และการขับออกทางทวารหนัก (ผายลม หรือตด) หากแก๊สนั้นไม่ขับออกมาจะทำให้มีการสะสมไว้ในทางเดินอาหาร จะทำให้รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ปวดมวนในท้อง และเกิดอาการท้องอืดตามมา การผายลมกับอุจจาระเป็นเรื่องเดียวกัน เพียงแต่ว่าผายลมนั้นสิ่งที่ออกมาคือแก๊ส เป็นการระบายสิ่งที่ไม่ดีออกมาจากร่างกายโดยการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ หากวันทั้งวันไม่ผายลมเลยนั้นแสดงว่ากำลังผิดปกติ เช่น ผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อุดตัน หรือมะเร็ง หากเกิดกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรงอาจบอกได้ว่าในลำไส้มีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วกระเพาะอาหารไม่ทำงาน อาหารก็ไม่ถูกย่อย เมื่อไปถึงลำไส้ใหญ่แบคทีเรียจะมาทำหน้าที่ช่วยย่อยเมื่อย่อยมากก็เกิดแก๊สมากขึ้นตามมา

ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เมื่อถุงน้ำดีไม่ทำงานทำให้ย่อยสลายไขมันได้ไม่ดี จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดและผายลมหลังอาหารอยู่บ่อยๆ ตลอดจนผู้ที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคตับอ่อนอักเสบ และผู้ที่มีอาการท้องผูกล้วนเป็นสาเหตุของผายลมได้

เทคนิคป้องกันผายลม
1.อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างกินเราจะกลืนอากาศเข้าไปด้วย การกินเร็วจึงทำให้เรากลืนลมมากตามไปด้วย ถ้ากินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียดจะช่วยให้อากาศเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง

2.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเติมแก๊ส เช่น เบียร์ โซดา น้ำอัดลม เพราะทำให้เรอและผายลมมากขึ้น

3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มปรุงสำเร็จที่มีส่วนประกอบของน้ำเชื่อมฟรัคโทส (fructose syrup) เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง บางคนอาจดูดซึมน้ำตาลชนิดนี้ได้น้อย ทำให้ท้องอืดหรือผายลมมากขึ้น

4.หยุดสูบบุหรี่ การสูบยาคือการสูบอากาศเข้าไปด้วย

5.ลดอาหารที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ กะหล่ำปลี ซึ่งทำให้เกิดแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น

6.ลดการรับประทานถั่วสดและผักสด การกินถั่วสด ถั่วอบแห้ง และผักบางชนิดอาจมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทนทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะ จึงควรกินถั่วและผักที่ปรุงสุกแล้ว



อ้างอิง : https://campus.sanook.com/teen_zone/senior_04845.php
           https://women.sanook.com/889267/เรอ-ตด-ปัญหาก๊าซโลกแตก-ยิ้งอั้น-สุขภาพยิ่งแย่/
           https://th.wikipedia.org/wiki/ผายลม

ผายลม,ตด


ที่มาของการผายลม, ที่มาของการผายลม หมายถึง, ที่มาของการผายลม คือ, ที่มาของการผายลม ความหมาย, ที่มาของการผายลม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

คำยอดฮิต

Sanook.commenu